ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

“ปลูกเห็ดป่าที่อำเภอเขื่องในช่วยให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นได้อย่างไร”


เห็ดป่า

ปลูกเห็ดป่าที่อำเภอเขื่องในช่วยให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นได้อย่างไร

วันนี้ ซึ่งตรงกับวันที่ 18 กรกฎาคม 2549 เมื่อเวลา 10.00-15.00 น. ผมได้มีโอกาสได้ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้  (Knowledge sharing) เกี่ยวกับเรื่องการปลูกเห็ดป่ากับกลุ่มเกษตรกรตำบลแดงหม้อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี  ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 65 กม. เกษตรกรมีอาชีพทำนาเป็นหลัก รองลงมาได้แก่การปลูกพืชผักสวนครัว ไม้ผล และเริ่มปลูกยางพาราบ้างเล็กน้อย เกษตรกรมีความสนใจในการศึกษาหาความรู้ในการที่จะปลูกเห็ดป่าเพื่อการบริโภคในครัวเรือนและหากมีเหลือก็จะขายนำรายได้เข้าครัวเรือน  หลังจากแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสร็จก็ได้มีกิจกรรมการสาธิตการผลิตหัวเชื้อเห็ด การปลูกป่าและการปลูกเห็ด ณ องค์การบริหารส่วนตำบลแดงหม้อ ซึ่งมีเกษตรกรเข้าร่วมประมาณ 60 คน ในวันนี้เราได้ เพาะเห็ดเผาะ เห็ดผึ้ง เห็ดแดง เห็ดไค และเห็ดระโงก  ในต้นยางนา ต้นสะแบง ขนุน มะม่วง และต้นยูคาลิปตัส

  เห็ดป่าคืออะไร เห็ดป่าหรือทางวิชาการเรียกว่าเห็ดมัยคอร์ไรซา เป็นเห็ดที่เจริญแบบพึ่งพาอาศัยอยู่กับรากพืช (symbiosis)และยังไม่สามารถนำมาเพาะในถุงพลาสติกให้เกิดดอกได้ เช่น เห็ดระโงก เห็ดผึ้ง เห็ดไค เห็ดแดง เห็ดเผาะ เป็นต้น ด้วยเหตุที่ยังไม่สามารถเพาะเป็นการค้าได้ ส่งผลให้เห็ดที่ออกมามีราคาแพง หากินลำบาก จึงเป็นเรื่องที่เกษตรกรทั่วไปให้ความสนใจในการหาแนวทางการเพาะอย่างยิ่ง

เห็ดป่าช่วยให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นได้อย่างไร แน่นอนครับเห็ดป่าดังกล่าวจะเกิดได้จะต้องมีพืชอาศัย (host) ที่จะเจริญเติบโตร่วมกัน นั่นแสดงว่าเห็ดจะเกิดได้จะต้องมีต้นไม้ ซึ่งถ้าหากเรามองย้อนอดีตกลับไปเมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้วก็จะพบว่าพ่อแม่พี่น้องเราจะไม่อดอยากปากแห้งในเรื่องของเห็ดป่ารวมทั้งอาหารจากป่าเหมือนทุกวันนี้  แต่ในสภาพปัจจุบันคนตัดไม้ทำลายป่ามากขึ้นจึงส่งผลให้สภาพแวดล้อมถูกทำลายอีกทั้งมีการใช้สารเคมีกันมากขึ้นจึงส่งผลให้ระบบนิเวศน์เสียสมดุล ทำให้เห็ดไม่มีพืชอาศัยและค่อยๆ สูญพันธุ์ไปในที่สุด ดังนั้น ถ้าหากเราส่งเสริมและรณรงค์การปลูกต้นไม้ให้มากขึ้น แล้วเราก็จะได้ต้นไม้เพื่อประโยชน์ใช้สอย ได้สภาพป่ากลับคืนมาพร้อมกันนี้เราก็สามารถใส่เชื้อเห็ดลงไปควบคู่กับการปลูกต้นไม้ได้ ซึ่งเชื้อเห็ดนี้จะไปช่วยเสริมให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้นจากนั้นเห็ดป่าและของอยู่ของกินจากธรรมชาติก็จะเพิ่มมากยิ่งขึ้น ในที่สุดสภาพความอุดมสมบูรณ์ก็จะกลับคืนมาสู่พีน้องชาวเขื่องในและชาวอีสาน ที่จะมีคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามมา

ขอบคุณครับ

สวัสดี

อุทัย   อันพิมพ์ 

หมายเลขบันทึก: 39549เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2006 22:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีครับ

หลังจากที่ได้ติดตามอ่านบทความเรื่องเห็ดของพี่อุทัยมาเยอะ ขอถามสักสองสามคำถามครับ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

ในความคิดเห็นของพี่อุทัยหลังจากที่มีประสบการณ์เรื่องเห็ดมาเป็นเวลานาน

พี่อุทัยคิดว่า

1. "เห็ด" จะเป็นทางออกของปัญหาของสังคมทางใดได้บ้างครับ

2. "เห็ด" สามารถแก้ไขปัญหาความยากจของคนไทยได้หรือไม่

3. "เห็ด" สามารถเป็นวิถีชีวิตที่เหมาะสมกับบริบทสังคมไทยหรือไม่

ขอฝากไว้แค่นี้ก่อนนะครับ ขอบคุณครับ

  อยากรบกวนถามว่า ปัจจุบันมีหน่วยงานใดๆ ของรัฐหรือเอกชนที่ศึกษาเรื่องการเพาะเห็ดป่าอย่างจริงจังที่จะสามารถให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงเพื่อติดตามหรือไม่

  เนื่องจากผมเคยเพาะเห็ดโคนในโรงเรือนและเห็ดฟางในโรงเรือนแล้วไปไม่รอดหลังจากใช้ชีวิตในเมืองหลวงมา12 ปี แล้วกลับไปทำที่บ้าน 3 ปีในพื้นที่ ต.นาคำใหญ่ อ.เขื่องในผมเคยไปขอข้อมูลจากสำนักงานเกษตรอำเภอเขื่องในแล้ว แม้แต่ข้อมูลของเห็ดฟางโรงเรือนยังไม่มีให้เลย  ปัจจุบันต้องกลับมาทำมาหากินในเมืองหลวงอีกครั้ง เคยไปอบรมเพาะเห็ดโคนในโรงเรือนที่ จ.ลพบุรีมาแล้ว เสียค่าใช้จ่าย ไป 5,000 และค่าใช้จ่ายในการทำโรงเรือน อุปกรณ์ทำไอน้ำ ฯลฯ และอีกเยอะแล้ว

 

 

หากสนใจข้อมูลเห็ดเพิ่มเติมสามารถติดต่อผมได้โดยตรงเลยครับ หรือที่สาขาเศรษฐกิจพอเพียง คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีครับ

 อาจารย์ครับผมสนใจเกี่ยวกับการเพาะเห็ดป่า.อาจารย์พอมีเอกสาร โดยเฉพาะเห็ดปลวก(เห็ดโคน) หรือเปล่าครับ. หรือมีแหล่งที่สามารถค้นคว้าเพิ่มเติมที่ใหนบ้างครับ...

 

สวัสดีครับ อ. อุทัย

มารายงานว่า เห็ดป่าที่เราช่วยกันเพาะที่ดงหลวงเมื่อปีก่อน ดูเหมือนจะได้ผลครับ แปลงของผู้ช่วยผมที่นำเทคนิคมาประยุกต์ใช้มีเห็ดขึ้นแล้ว แต่ขอยืนยันอีกสองสามแปลงแล้วค่อยรายงานผลเพิ่มครับ

 

ขอบคุณมากครับทุกๆ ท่านที่เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็น

แต่ต้องขอโทษเป็นอย่างมากนะครับที่ยังไม่ได้ตอบคำถาม แต่ผมจะพยามตอบและกลับมาแลกเปลี่ยนครับ

ขอบคุณมากรับ

อุทัย

อยากได้วิธีเพาะเห็ดไคมากๆยังงัยก็ขอข้อมูลไห้ผมหน่อยนะครับขอบคุณครับ

ช่วยส่ง e-mail มานะครับจะส่งข้อมูลไปให้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท