ใน tacit มี explicit ใน explicit มี tacit


เวลาอ่านรายงานการวิจัยของระดับพื้นที่รู้สึกถึงอรรถรสที่ได้รับ มองเห็นภาพ(นี้คงเป็นคุณลักษณะของ tacit ที่อาจารย์ประพนธ์ เคยบอกไว้ว่า tacit = FACT + FEELING อ่านแล้วรู้ถึงความสดในตัวของความรู้ที่ยังไม่มีการปรุงแต่ง)

         วันที่  17-18 กค.49  ผม  พี่สุกัญญา จากกรมฯ และทีมของเขต พี่แอ๋ว  น้องติ๋ม  และคุณมิตร  ร่วมกับทีม  PAR ของนครศรีธรรมราช (พี่เกรียงไกร  พี่ตรีธร  พี่ประสาร  พี่ณัทธร  และพี่สนไชย)  ร่วมกันสรุปผลงานวิจัยและจัดทำรายงานการวิจัยในเบื้องต้น  ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช

          ก่อนมาเวทีนี้  ผมได้อ่าน blog ของ อ.ประพนธ์  ผาสุขยืด  เพื่อทำความเข้าใจ EK และ TK ให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น  อาจารย์ได้เขียนอธิบายว่า   ใน tacit มี explicit   ใน explicit มี tacit ซึ่งอาจารย์ได้อธิบายถึงคุณลักษณะ และบอกว่าความรู้ทั้ง 2 ประเภทนี้เกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออก  โดยความรู้ที่เป็น tacit เมื่อผ่านสายตา นักวิเคราะห์  นักวิจัย  ก็กลายมาเป็นบทวิเคราะห์ ข้อสรุป กลายเป็นความรู้ที่เป็น explicit ส่วนความรู้ที่เป็นหลักวิชาที่อยู่ในตำราพอผ่านตานักปฏิบัติ ถูก "ตีความ" ตามทุนเดิมก็จะหลุดออกมาเป็น "เทคนิคใหม่" เมื่อนำไปทดลองใช้ได้ผลดี  สิ่งนี้ก็กลับกลายเป็น tacit

           ผมกำลังมีความชัดถึงคุณลักษณะและความเกี่ยวพันของความรู้ทั้ง 2 ประเภท จึงลองเขียนบันทึกนี้เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของตัวเอง  จากงานวิจัยที่ดำเนินการอยู่ หัวข้อวิจัย(โจทย์) "กระบวนการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน" โดยกรมฯคัดเลือกพื้นที่ดำเนินการ 4 จังหวัด (อาสาสมัคร) และในแต่ละจังหวัด ไปหาอาสาดำเนินงานวิจัยอีกจังหวัดละ 3 ตำบล ตอนแรกเรามานั่งวางแผน/ออกแบบกระบวนงานวิจัยด้วยกัน เอา explicit มาใช้ในการออกแบบงานวิจัยว่าในแต่ละพื้นที่จะกำหนดแนวทางในการจัดกระบวนการเรียนรู้กับเกษตรกร(กระบวนการส่งเสริม) อย่างไร เพื่อทำให้เกษตรกรเปลี่ยนพฤติกรรมจากการผลิตที่ไม่ปลอดภัยหรือไม่ได้มาตรฐาน ไปสู่การผลิตที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน  ได้ key  word หลักๆออกมา เช่น   

  • เป็นกระบวนการเรียบนรู้ที่ยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง  และเป็นการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
  • เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง
  • เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
  • สุดท้าย ต้องการเห็นเกษตรกรเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต และมีขีดตวามสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มได้เองอย่างยั่งยืน

เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรแต่ละตำบล(นักปฏิบัติ) ที่ร่วมกระบวนการวิจัยก็ไปตีความตามทุนเดิมของตนเองว่าจะไปขับเคลื่อนงานในพื้นที่อย่างไร  ทุนเดิม เช่น การจัดกระบวนการเรียนรุตามแนวทางโรงเรียนเกษตรกร  AIC   PAP  ที่เจ้าหน้าที่แต่ละคนคุ้นเคยอยู่ มีการนำมาวิเคราะห์เองว่าจุดอ่อนในการดำเนินงานแบบเดิมมีอะไร  จะเติมเต็มอะไร  ก็ได้ "ชุดความรู้ใหม่" ไปดำเนินการในตำบล 

           เวทีนี้  หลังจากแต่ละตำบลไปดำเนินการมาแล้วก็มาถอด tacit ของตัวเองว่า ที่ไปทำงานมา ได้กำหนดความคาดหวังไว้อย่างไร(ให้เกิดอะไร)       ทำอะไรบ้าง  ทำอย่างไร(how  to)เพื่อนำไปสู่ความคาดหวัง  ผลที่ได้เป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับความคาดหวัง  อะไรเป็นปัจจัยหนุนหรืออุปสรรค มีปัญหาอะไรบ้างระหว่างดำเนินการและแก้ไขอย่างไร   ลักษณะการสรุปรายงานการวิจัยของแต่ละพื้นที่อธิบายภายใต้บริบทของพื้นที่ตัวเอง  เวลาอ่านรายงานการวิจัยของระดับพื้นที่รู้สึกถึงอรรถรสที่ได้รับ  มองเห็นภาพ(นี้คงเป็นคุณลักษณะของ tacit ที่อาจารย์ประพนธ์ เคยบอกไว้ว่า  tacit = FACT + FEELING  อ่านแล้วรู้ถึงความสดในตัวของความรู้ที่ยังไม่มีการปรุงแต่ง)  ส่วนในตัวผลงานวิจัยระดับจังหวัดและกรมฯ เราพยายามสรุปภาพรวม โดยใช้เทคนิคในการวิเคราะห์/สังเคราะห์ ข้อมูลเพื่อทำเป็นหลักวิชา explicit หาจุดร่วมของแต่ละพื้นที่  เพื่อสร้าง model ของกระบวนการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน

           นี้คือสิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากเวทีสรุปงานวิจัย PAR  ในส่วนที่เกี่ยวกับTKและ  EK

 

คำสำคัญ (Tags): #จัดการความรู้
หมายเลขบันทึก: 39484เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2006 15:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 20:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
มันเป็นห่วงโฃ่ที่จะมาถักร้อยให้ยาวต่อไปไม่รู้จบครับ ดีใจด้วย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท