ก้าวย่างทางการศึกษา
วันนี้ได้รับโทรศัพท์จากลูกศิษย์ที่โรงเรียนมาขอปรึกษาในเรื่องการเรียนต่อและการสอบ
ONET
และ
ANET
ที่จะมาถึงของปีการศึกษาหน้า ทั้งนี้นักเรียนมีความกังวลกับข่าวการประกาศผล 50 อันดับโรงเรียนที่ได้คะแนน
ONET
และ
ANET
สูงสุด และ 50 อันดับสูงสุด นักเรียนกลัวโรงเรียนติดอันดับท้ายและไม่เป็นที่ยอมรับ น่าสงสารนักเรียน เพราะกังวลใจมากว่าถ้าเขาสอบได้คะแนนน้อยปีหน้าจะไปเรียนที่ไหนต่อได้ ตอนนี้นักเรียนหลายคนดิ้นรนที่จะไปเรียนกวดวิชาเพื่อที่จะได้คะแนนสูง ๆ ก็พยายามทำความเข้าใจว่าคะแนน
ONET
และ
ANET
ไม่ใช่เป้าหมายสูงสุดของชีวิต เพราะยังสามารถไปสอบเรียนต่อในระบบโควตารับตรงของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้ ซึ่งจริงแล้วการจัดลำดับของโรงเรียนนั้นน่าจะส่งผลต่อคุณภาพของโรงเรียนมากกว่า ไม่ใช่ส่งผลต่อนักเรียน เป็นงงกับการศึกษาที่หลายฝ่ายพยายามปฏิรูป ว่าจริง ๆ แล้วเราปฏิรูปอะไร เพราะปัญหาก็ยังมีอยู่แบบเดิม คือติดอยู่กับกรอบของคะแนน และทำไมถึงพยายามนักหนาที่จะจัดอันดับโรงเรียน ในเมื่อรัฐเองก็มีนโยบายสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาให้กับผู้คนและความเท่าเทียมกันระหว่างโรงเรียนกับโรงเรียน ก่อนที่จะจัดอันดับของแสดงความคิดเห็นในแง่ของครูสายปฏิบัติการสอน (ไม่ใช่ผู้บริหาร) ดังนี้การจัดอันดับโรงเรียนไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของการพัฒนาหรือการปฏิรูป ทั้งนี้เพราะแต่ละโรงเรียนอยู่ภายใต้เงื่อนไขและบริบทที่แตกต่างกัน ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1. ด้านงบประมาณ ระหว่างโรงเรียนขนาดเล็ก กับขนาดใหญ่ได้รับงบประมาณที่จะมาพัฒนาองค์กร พัฒนาการเรียนการสอนก็แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง2. ด้านบุคลากร โรงเรียนขนาดใหญ่มีครูมากจนเกิน และครบทุกสาขาวิชา กับโรงเรียนขนาดกลาง ขนาดเล็ก ขาดแคลนครูอย่างมโหฬาร และมีครูไม่ตรงสาขา ทำให้ความเชี่ยวชาญที่จะส่งผลต่อเด็กมีน้อย3. ด้านนักเรียน โรงเรียนขนาดใหญ่ โรงเรียนมีชื่อ โรงเรียนพิเศษ คัดนักเรียนที่มีคุณภาพได้ เช่น สติปัญญา ฐานะ สภาพครอบครัว แต่โรงเรียนขนาดเล็กไม่มีสิทธิ์เลือก แค่มีคนมาเรียนก็บุญแล้ว4. ด้านการบริหาร ทุกโรงเรียนไม่ได้มีผู้บริหารที่มองภาพการปฏิรูปการศึกษาได้เท่าเทียมกัน ถ้าผู้บริหารที่มีใจเป็นธรรม มองการศึกษาคือการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่แท้จริง นักเรียนก็จะได้อานิสงส์ แต่ทุกวันนี้ผลประโยชน์ต่างตอบแทนมีมากขึ้นในวงการศึกษา บางเรื่องกลายเป็นธุรกิจ ครูบังคับนักเรียนเรียนพิเศษเรียนได้เกรดดีเพราะรู้ข้อสอบ ครูที่เป็นคนของนายได้ดีทั้งที่ไม่เคยสอน ครูที่ตั้งสอนตั้งใจพัฒนาแต่ไม่เข้าตากรรมการ(ผู้บริหาร ... ก็ไม่ได้เกิด) ไม่ได้พัฒนาการเรียนการสอนได้ตามที่ต้องการ
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาง พันดา เลิศปัญญา ใน จะเอาความรู้อะไรใส่ลงไปในโค