ศูนย์ข่าวพลเมือง ฅนคอน
ศูนย์ข่าวพลเมือง ฅนคอน เกาะติดชุมชน สิทธิชุมชน สิทธิพลเมือง

เครือข่ายปฏิรูปที่ดินสิชล เดินหน้าสอดรับนโยบายโฉนดชุมชน


นับว่าเป็นเรื่องที่ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินสิชล เดินหน้ามาถูกทางแล้ว เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2553 ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน บ้านต้นจันทน์ หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช มีการประชุมคณะกรรมการเครือข่าย ปฏิรูปที่ดินสิชล โดยมี นายวีระศักดิ์ สิงห์สามารถ ประธานเครือข่าย เปิดการประชุมได้กล่าวนำชี้แจงวัตถุประสงค์ของเครือข่ายว่าต้องการให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลทุ่งปรัง ตำบลสิชล ตำบลทุ่งไสย และตำบลต่างๆในพื้นที่ของอำเภอสิชลมีที่ดินที่ทำกินเป็นของตนเอง และจะส่งผลในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนต่อไป

เครือข่ายปฏิรูปที่ดินสิชล  เดินหน้าสอดรับนโยบายโฉนดชุมชน

พื้นที่สาธารณะ ต้องปฏิรูปเพื่อคนจน

เรื่อง/ภาพ : อ่าวไทยสวยงาม

ศูนย์ข่าวพลเมือง ฅนคอน ฉบับที่ ๕ พฤษภาคม ๕๓

 

        นับว่าเป็นเรื่องที่ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินสิชล เดินหน้ามาถูกทางแล้ว  เมื่อวันที่   27  มิถุนายน  2553 ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน บ้านต้นจันทน์ หมู่ที่  3   ตำบลทุ่งปรัง  อำเภอสิชล    จังหวัดนครศรีธรรมราช  มีการประชุมคณะกรรมการเครือข่าย ปฏิรูปที่ดินสิชล โดยมี นายวีระศักดิ์    สิงห์สามารถ  ประธานเครือข่าย  เปิดการประชุมได้กล่าวนำชี้แจงวัตถุประสงค์ของเครือข่ายว่าต้องการให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลทุ่งปรัง ตำบลสิชล  ตำบลทุ่งไสย  และตำบลต่างๆในพื้นที่ของอำเภอสิชลมีที่ดินที่ทำกินเป็นของตนเอง และจะส่งผลในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนต่อไป

          และ  นายวีระศักดิ์    สิงห์สามารถ  ประธานเครือข่าย  ได้แจ้งให้ที่ประชุมคณะกรรมการเครือข่ายปฏิรูปที่ดินสิชลรับทราบว่า  จากมติที่ประชุมเมื่อวันที่  26  พฤษภาคม  2553  เรื่องการยื่นหนังสือไปยังสำนักงานที่ดินจังหวัดนครศรีราช สาขา สิชล เรื่อง ขอสำเนาหนังสือสำคัญแสดงที่หลวง( นสล. ) ในพื้นที่ตำบลทุ่งปรัง นั้น  บัดนี้ได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว  ซึ่งได้รับความร่วมมือด้วยดีจาก สำนักงานที่ดินจังหวัดนครศรีธรรมราช สาขา สิชล  โดยปรากฏว่า หนังสือสำคัญแสดงที่หลวงในพื้นที่ตำบลทุ่งปรังนั้น  มีอยู่   3  แปลง  ( นสล. )  ซึ่งสามารถที่จะนำมาเข้าสู่กระบวนการออกโฉนดชุมชนตามนโยบายของรัฐบาลได้

        และหลังจากนั้น    นาย ประยุทธ    วรรณพรหม    ที่ปรึกษาเครือข่ายปฏิรูปที่ดินสิชล  และ ในฐานะคณะทำงานแก้ไขปัญหาที่ดิน คนไร้ที่ทำกินนครศรีธรรมราช  ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าตนเพิ่งกลับจากการร่วมประชุมกับนายกรัฐมนตรี  และได้อธิบายขั้นตอนในการจัดการที่ดินที่ทำกินให้คณะกรรมการเครือข่ายรับฟังเพื่อให้สอดรับกับหลักการ และ นโยบายของภาครัฐซึ่งตนเองเพิ่งกลับมาจากการเข้าร่วมประชุมพร้อมทั้ง ได้นำเอกสารต่างๆที่ได้มาจากเวที เสวนาประชาชน เรื่องการจัดการที่ดินเพื่อการทำกิน : ปัญหาและทางออก  จัดโดยศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ( สปน.)  แจกจ่ายให้กับคณะกรรมการเครือข่าย นับว่าเป็นเรื่องที่ดีมากๆซึ่งมีคนพื้นที่ที่เข้าใจปัญหาและมีจิตอาสาเข้าร่วมเวทีดังกล่าว และนำข่าวสารมาสื่อสาร กับประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช

           ซึ่งเมื่อติดตามข่าวตามหน้าสื่อต่างๆพอจะสรุปได้ว่า

       นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีเปิดการจัดงาน เวทีเสวนาประชาชน เรื่อง "การจัดการที่ดินเพื่อการทำกิน : ปัญหาและทางออก” จัดโดยศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เมื่อวันที 24 มิ.ย. 53 โดยระบุว่าปัญหาคนไม่มีที่ดินทำกินเป็นปัญหาพื้นฐานที่ทุกรัฐบาลให้ความสำคัญในการแก้ไขแต่ไม่สามารถทำได้สำเร็จ ขณะที่รูปธรรมของปัญหาที่ดินทำกินปัจจุบัน คือการถือครองที่ดินที่พบว่ามีความเหลื่อมล้ำกันมาก แต่คนส่วนน้อยถือครองที่ดินจำนวนมากหรือหลายแปลง คนส่วนใหญ่มีที่ดินไม่มาก คนจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีที่เป็นกรรมสิทธิ์ที่ดินเลย ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาลุกลามไปกว่านี้ รัฐบาลและทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและทำให้การใช้ประโยชน์ที่ดินเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

นายกรัฐมนตรี ระบุว่า ตลอดระยะ 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา รัฐบาลได้ร่วมมือกับทุกฝ่ายรอออกมาตรการเพื่อแก้ปัญหาที่ดินทำกิน ได้แก่

        1.การผลักดันกฎหมายโฉนดชุมชนที่ให้ชุมชนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ให้ชุมชนจัดสรรที่ดินให้คนในชุมชนเอง การให้ชุมชนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ช่วยแก้ปัญหาการเปลี่ยนมือที่ดินไปสู่นายทุน  นอกจากนี้ชุมชนที่จะได้รับการจัดสรรโฉนดชุมชนต้องเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง มีการจัดการเป็นระบบ ชุมชนที่เข้มแข็งนี้จะเป็นรากฐานสำคัญในการแก้ปัญหาอื่นๆ ที่มีอยู่ในชุมชน โดยขณะที่รัฐบาลได้เตรียมการที่จะจัดสรรโฉนดชุมชนให้ชุมชนนำร่องใน 30 พื้นที่ คาดว่าภายใน 2-3 เดือนนี้จะมีการส่งมอบโฉนดชุมชนให้แก่ชุมชนในพื้นที่นำร่อง ก่อนกระจายการจัดสรรโฉนดชุมชนไปทั่วประเทศ

        2.การผลักดันกฎหมายทรัพย์สิน ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นเครื่องมือสำคัญให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดิน ทำให้เกิดการใช้ประโยชน์จากที่ดินสูงสุดหากใครมีที่ดินจำนวนมาก ปล่อยให้รกร้างว่างเปล่าต้องถูกเรียกเก็บภาษีอัตราที่สูง ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ได้ผ่านครม.แล้ว อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยจะเสนอเข้าสภาฯต่อไป

        3.การจัดตั้งกองทุนธนาคารที่ดินโดยรัฐบาลจะออกเป็นพ.ร.ฎ.ว่าด้วยธนาคารที่ดินฯ รัฐบาลจะขอกันเงินบางส่วนที่ได้จากการเก็บภาษีที่ดินฯ มาซื้อที่ดินที่เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น เป็นที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกิน และพื้นที่ทำการเกษตร ก่อนนำจัดสรรให้ประชาชนตามแนวทางโฉนดชุมชน

        4.การจัดทำฐานข้อมูลที่ดินในปัจจุบันเทียบกับข้อมูลย้อนหลัง เพื่อแก้ปัญหาการทับซ้อนที่ดินของหน่วยงานภาครัฐและประชาชน โดยตนต้องการให้ ได้ข้อเท็จจริงตรงนี้ก่อนมีนโยบายหรือมาตรการจัดการปัญหาความขัดแย้งในแต่ละพื้นที่ต่อไป โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะใช้เวลาในการสำรวจประมาณ 2 ปี

           ซึ่งหลังจากนั้นในวงของการประชุมเครือข่ายปฏิรูปที่ดินสิชลได้ร่วมกันวิเคราะห์ นโยบายการแก้ไขปัญหาที่ดินเพื่อการทำกินของรัฐบาลอภิสิทธิ์   เวชชาชีวะทั้ง  4  ประเด็น

 ว่าจะเป็นเกมส์หาเสียงของรัฐบาลหรือไม่   หรือ  เป็นนโยบายแค่ไฟไหม้ฟาง   โดยทางเครือข่ายปฏิรูปที่ดินสิชลยืนยันจะร่วมกันผลักดัน  ติดตามและขับเคลื่อนให้ประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะในพื้นที่ในอำเภอสิชล มีที่ดินที่ทำกินเป็นของตนเองให้ได้

                                                                       ข้อมูล   http://www.suthichaiyoon.com/detail/3807

     

หมายเลขบันทึก: 392168เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2010 14:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 11:35 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท