ปราชญ์นาเกลือ


คุณบุญรอด เจริญฤทธิ์ หรือพี่โตที่ท่านสรณพงษ์แนะนำให้เรารู้จักวันนี้ ท่านเป็นเจ้าของนาเกลือจำนวน 32 ไร่ที่ที่ดินของท่านอยู่บนถนนสายธนบุรี-ปากท่อ หรือพระราม 2 ในปัจจุบันนี้ ที่ดินนี้ถ้าจะขายก็ราคาก็ราคาไม่น้อยกว่า 7-8 ล้านบาทต่อไร่แต่ท่านกลับมาทำโรงเรียนการทำนาเกลือ เป็นอะไรที่น่าสนใจมากที่จะหาบุคคลที่คิดทำประโยชน์ส่วนรวมแทนที่จะคิดถึงตัวเองก่อน น่าสรรเสริญคะ
พี่โตเป็นผูที่มีส่วนรวมกับท่านสรณพงษ์อย่างในการที่จะเริ่มต้นนำสิ่งที่เป็นปัญหากับนาเกลือมาทำประโยชน์อย่างที่จะประมาณค่าไม่สิ่งนั้นคือ “ ขี้แดดนาเกลือ “ เคยได้ยินไหมคะ
ขี้แดดนาเกลือ คือ สาหร่ายและแพลงตอนที่จับตัวกันเป็นแผ่นในนาเกลือในฤดูฝนหลังจากที่เลิกทำนาเกลือแล้ว และตกตะกอนแห้งสนิทในนาเกลือ  ชาวนาเกลือเรียกว่า “ดินหนังหมา” เพราะเวลาถูกแดดจะเหม็นเหมือนหมาตายซาก ซึ่งต้องทิ้งไร่ละ 5 ตันและต้องจ้างเขาขนทิ้งประมาณ 500-600 บาทต่อไร่ rikก็ทำนาเกลือได้ก็ทำนาเกลือจืดได้บ้างก็จะเกาเพาะเาเรียนรู้ และเมื่อมาเรียนรู้ก็รู้ปัญหา ว่ามีปัญหา ขี้แดดนาเกลือและราคา อื่นม ชาวนาเกลือต้องเก็บขี้แดดทุปีก่อนที่จะทำนาก็ประมาณ ช่วงเดือนพฤศจิกายน โดยใช้คราด คราดออกมาก่อนทำนาเกลือ ซึ่งจะมีลักษณะเป็นบางๆ สีน้ำตาลอมดำขนาดแผ่นก็อยู่ประมาณ 2-5 นิ้ว ขึ้นอยู่กับความหนาของแผ่นจากการสังเกตดู เมื่อนำไปแช่น้ำจะอุ้มน้ำได้ดี จะมีรสชาติเค็มเล็กน้อยตอนใหม่ๆ ถ้าค้างปีความเค็มก็จะลดลง สามารถนำไปใช้กับพืชได้เกษตรกรได้นำไปเลี้ยงสัตว์ได้เช่น นก ไก่ชน หรือไก่พื้นบ้าน และเมื่อนำไปใช้ปลูกพืชตระกูลแตงก็ให้รสชาติดี รวมทั้งส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ที่เป็นพันธ์ที่ขึ้นชื่อของจังหวัด แต่ต้องใส่ในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละพืช     
ซึ่งเริ่มต้นนั้นขี้แดดนาเกลือเป็นปัญหากับเกษตรกรอย่างมากที่ต้องมีการเก็บทิ้งก่อนเพื่อที่จะทำนาเกลือแต่ปัจจุบันนี้ด้วยความเป็นปราชญ์ของพี่โตและพี่สรณพงษ์ทำให้ขี้แดดมีประโยชน์อย่างมหาศาลสำหรับชาวนาเกลือเองและเกษตรกรอื่นๆที่ทำการปลูกพืชในหลายๆชนิด ด้วยงานวิจัยที่ทำกันมาด้วยความยากลำบากจากจุดเริ่มต้นนับว่าเป็นสิ่งมีค่าอย่างมหาศาลต่อเพื่อนเกษตรกรด้วยกันในปัจจุบันนี้ ตันละ 2000 โดยกิโลละ 2 บาทซึ่งจะมีทั้งที่ใช่และไม่ใช่ด้วยเช่นกันต้องระวังใช้ในอันตากอันเดียวเท่านั้น ความเค็ม 15-16 degree 5 ถ้าไม่ใช่จะเค็มเกิน ถ้าไปใส่ต้นส้มโอต้องใช้ประมาณ 3-4 กิโลกรัมต่อต้นเท่านั้นและใส่ช่วง 3-4 เดือนก่อนเก็บ
เกลือที่เราจะกล่าวถึงคือเกลือสมุทรที่เกิดจากการใช้น้ำทะเล ส่วนอีกชนิดเป็นเกลือสินเธาว์ที่ผลิตจากดินจะพบตามเขตภาคอิสานมากกว่า ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะเกลือสมุทรก็มีด้วยกันหลากหลายชนิดที่เกิดจากการขังน้ำในนาเกลือจะมีขั้นตอนในการเตรียมพื้นอย่างดียิ่งเพื่อสามารถขังน้ำไว้ได้ตลอดฤดูการทำนาเกลือจะจำแนกได้เป็น  นาอันวัง นาอันตาก นาอันรอง นาอันเชื้อ นาอันปลง ลักษณะของนาต่างๆมีความแตกต่างกันดังนี้
นาอัน(หรือกระทงหรือไร่ )วัง คือการนำน้ำทะเลเข้ามาไว้นาที่เตรียมพื้นที่ไว้ นานี้จะมีความเค็มประมาณ 0-0.2 degree ซึ่งใช้เลี้ยงสัตว์น้ำทั่วไป เช่นกุ้ง ปลา
นาอันตาก เป็นการตากน้ำจากนาอันวังไว้จะมีความเค็มอยู่ที่ 3-4 degree ใช้เวลาประมาณ 7-8 วันขึ้นอยู่กับสภาพอากาศของแดด และลม ซึ่งนาอันตากจะมีหลายตากเป็นระดับต่างๆกันซึ่งจะมีอยู่ประมาณ 7-8 ด้วยกัน สุดท้ายก็ประมาณ 15-16 degree
นาอันเชื้อ จะมีความเค็มอยู่ที่  20-21 degree ขึ้น จะตากอยู่ที่ประมาณ 15-16 วัน
นา นาอันปลง ความเค็ม 24-25 degree ซึ่งการสังเกตของคนแต่ก่อนจะสังเกตจากสีของน้ำกับแดด หรือไม่ก็นำกิ่งไม้ไปลอย หรือไม่ก็ข้าวสุก แต่สมัยนี้จะใช้เครื่องมือวัดเลย นานี้จะแข็งแน่นที่สุดท้ายเป็นหัวใจของนาเกลือเลยซึ่งจะได้เกลือจากนานี้ ซึ่งก็จะได้เกลือหลากหลายชนิดด้วยกันจากการทำนาเกลือนี้ เช่น
เกสรเกลือ หรือดอกเกลือ จะมีรสชาติดีมาก  ปรุงอาหารได้อย่างดี ทำยาสีฟันดี และไปทำสปาได้ด้วย เกลือกลางเอาไปดองปลา ดองผักได้แต่ต้องเป็นเกลือที่ไว้ข้ามปีหรือเอาน้ำออกแล้วไม่งั้นจะทำให้เน่าได้ถ้าเป็นเกลือใหม่จะมีน้ำอยู่จะทำให้เน่าได้ก็ต้องทำยุ้งไว้ทำให้แห้งก็ใช้ดองได้และทำให้เก็บไว้ขายหน้าฝนได้ราคาดี 
เกลือขาวที่ขายทั่วไปที่นำไปใช้ประโยชน์ต่างๆซึ่งจะมีการคัดก็จะได้ราคาต่างๆไป
เกลือดำใช้ทำน้ำแข็งได้เช่นกันเอาไว้ปั่นได้ ใช้ไล่ความเย็นเข้าไปช่วยให้แข็งตัวได้นาน
หน้าฝนก็ทำนาเกลือได้ก็ทำนาเกลือจืดพอได้ขี้แดดในนาเชื้อเป็นใช้เกลือจืดมาใช้แป้งตัวเกลือจะไม่ละลายน้ำ ดังนั้นต้องเอาไปคั่วหรือทำสตุ ก็จะแห้ง ก็จะละลายน้ำได้เป็นแป้งได้เลยมีน้ำหนักเบา คนก็สวยและส้มโอก็หวานก็ใส่ขี้แดดก็ได้จากนาที่ได้เกลือจืดนี้
เกลือตัวผู้เอาไปกวาดคอเป็นรูปร่างแหลมๆ ผสมกับน้ำมะนาว และใช้กรีดปากมดลูก รวมทั้งคนตายที่เอาไปวางไว้ที่สะดือก็จะไม่เน่าไม่เปลือย จะอยู่ที่ๆบริเวณน้ำลึกต้องเลือกเอาจะปนๆกันอยู่จะมีความยาวอยู่จะปนกันที่นาอันปลงต้องเลือกเอาจะเป็นประมาณกึ่งกลางต้อง สังเกตเอาจะถอดรองเท้าลงแปลงก็จะเป็นการนวดเท้าในแปลงเลย เพื่อสุขภาพที่ด้วย
ฝุ่นเอาไปฟอกไข่เค็ม ถ้าเป็นน้ำเกลือก็ขายได้เอาไปเลี้ยงกุ้ง คันละ 1,000 บาทขึ้นไป เค็มประมาณ 20-21 degree
ดีเกลือ เค็มจนขมประมาณ 27-28 degree จะทำยาเป็นยาถ่ายจะอยู่ในนา จะเค็มจัดและร้อนจัดก็จะเอานาอันเชื้อเขาไปเติมทำให้ความเค็มลดลงได้ ถ้าตำเท้าจะเป็นแผลมากชาวนาไม่อยากให้เกิดเลย เป็นน้ำแดงๆ ดีเกลือ 1 ช้อนผสมน้ำ 10 ลิตรเอาไปฉีดต้นไม้จะทำให้ออกดอกดีใช้กับพืชอื่นๆได้
ปีหนึ่ง เก็บ 7-8 ครั้งๆละ 20 เกวียนต่อไร่ เริ่มพฤศจิการยน จนถึงกุมภาพันธุ์ ก็ได้ประมาณ 4 เดือน ถ้าเป็นนาของตัวเองอยู่ได้ ถ้าเช่าก็ต้องจ่ายเป็นเกลือประมาณ 80-90 เกวียนเวลาที่รื้อแล้ว โดยจะได้ราคาเกวียนละๆ 1500 ค่าจ้างต่างๆมากก็ได้ไม่เต็มที่เวลา 
กังหันลมหายไปเพราะตัดไม้ทำลายป่าไปก็ทำให้ลมเปลี่ยนทิศทางก็ต้องหมดไปก็มีการเปลี่ยนแปลงหันไปใช้เครื่องดูดน้ำก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกด้วย ซึ่งจริงๆควรจะอนุรักษ์สิ่งเหล่านี้ไว้ ที่นี้จะทำการอนุรักษ์ไว้แม้ไม่ได้ใช้ก็ตาม
หมายเลขบันทึก: 391740เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2010 05:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ชอบบันทึกนี้มากค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

เกลือเป็นสิ่งจำเป็นต่อสรรพชีวิตที่อยู่บนผืนโลกนี้
ผู้ประกอบอาชีพในการทำนาเกลือมีคุณค่าต่อสังคมเฉกเช่นเดียวกับการชาวนนาทำนาข้าวที่หล่อเลี้ยงพลโลก
มีความยากลำบากในวิธีการผลิตที่ต้องอาศัยแรงงานเวลาและความอดทน
ได้รับรู้วิถีชีวิตที่ต้องเผชิญกับอุปสรรคต่างๆอยู่ชั่วนาตาปีแล้วรู้สึกเห็นใจคะ

แต่การใช้คำว่า "ปราชญ์" ในคำที่พร่ำเพรื่อและผิดคำที่ควรจะใช้แล้วรู้สึกไม่สบายใจคะ

เช่นปราชญ์ชาวบ้าน ปราชญ์เดินดิน
คำว่าปราชญ์ หมายถึง ผู้มีปัญญารอบรู้

เรามักใช้คำนี้ยกย่องบุคคลผู้ทีความรู้ รอบรู้ นักคิด กับผู้ที่มีคุณวุฒิและวัยวุฒิเป็ที่รู้จักเคารพนับถือกันทั่วไป
และเราจะเรียกบุคคลเหล่านี้ว่านักปราชญ์

เช่น มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนักปราชญ์ นักเขียน นักการเมือง และศิลปินแห่งชาติ นับเป็นปูชนียบุคคลท่านหนึ่งของไทย

ในขณะเดียวกันคุณจะบอกว่า ท่าน อาจารย์ เนาวรัตน์ พงศ์พบูลย์ ศิลปินแห่งชาติผู้ทรงภูมิปัญญาทางวรรณกรรม เรายังเรียกท่านนักเป็นนักปราชญ์ยังไม่ได้เลยนะคะ

แค่ ลปรร. คะ

 

คุณค่าของปราชญ์ชาวบ้านอยู่ตรงนี้ล่ะครับ จิตเพื่อส่วนรวมและเพื่อลูกหลานในอนาคต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท