ข้าราชการในดวงใจ


วันนี้เราได้มาที่สมุทรสงครามเพื่อเรียนรู้หลายวิถีชีวิตที่นี้ที่มีคุณสรณพงษ์ เป็นผู้ชี้แนะนำพาให้ชีวิตการเป็นอยู่ที่นี่แตกต่างไปจากที่เป็นอยู่ในทางที่ดีขึ้นอย่างมาก เพื่อความเป็นอยู่ของชาวบ้านเอง
คุณสรณพงษ์ บัวโรย เป็นข้าราชการตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรประจำสำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม อยู่มา 32 ปีและมีผลงานออกมาทุกปี
ท่านเป็นข้าราชประจำที่นี่มาตั้งแต่ที่ท่านบรรจุที่และไม่คิดที่จะย้ายเพื่อวัตถุประสงค์ใดๆทั้งสิ้นเพราะท่านมี  ความคิดว่าถ้าท่านต้องย้ายไปผู้ที่เสียผลประโยชน์คือเกษตรกรที่ท่านดูแลอยู่เพราะกิจกรรมต่างๆที่ท่านร่วมกับเกษตรกรไว้นั้นจะมีผู้สานต่อหรือไม่ก็ไม่เป็นที่แน่นอน ดังนั้นถ้าท่านไม่ย้ายไปกิจกรรมที่ท่านนำพาให้เกษตรก็สามารถดำเนินต่อไปอย่างมาก จะเห็นว่าท่านเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับเกษตรมากกว่าเห็นประโยชน์ที่จะเกิดกับตนเอง ท่านเป็นบุคคลที่น่าที่จะเป็นตัวอย่างอย่างมากที่สุด ถ้าเรามีบุคคลแบบนี้มากๆโลกนี้คงน่าอยู่อย่างมากทีเดียว
ท่านพยายามที่ดูวิถีชีวิต ของชาวบ้านและทำการแก้ปัญหาที่เขามีอยู่และทำให้เกิดประโยชน์กับเขาจริง ถ้าแนะนำสิ่งที่ไม่คุ้นเคยกับเขาเช่นนำโก้โกมาปลูกแต่ไม่รู้ว่าจะนำไปใช้ประโยชน์อย่างทำให้ชาวบ้านเสียเวลา เช่นการทำสวนมะพร้าวแบบที่ไม่ต้องใช้พะองเพราะมีแต่คนแก่ เพราะคนหนุ่มสาวไปทำโรงงานหมด ที่ทำตาลมะพร้าวเป็นปัญหาท้องถิ่นเลยมีระบบคิด ก็คือมะพร้าวอ่อน 2.5 ปีออกดอกก็ทำตาลไปเรื่อยๆ ได้ทุกวันก็มีรายได้เป็นรายวันได้ทุกวัน จนได้ 10 ปี ก็ปล่อยเก็บลูกขายออกผลได้เดือนละ 2 ทลาย โดยเกษตรกรเป็นรายเดือนๆละ 2 ครั้ง พอเริ่มได้ 7.5 ปี ก็แบ่งก็เริ่มปลูกชุดใหม่อีก โดยแบ่งสวน ทีละ 200 ต้นในที่ 5 ไร่ เพื่อให้เขาคิดเป็น เพราะคนหนุ่มสาวไปทำงานโรงงานหมดก็มีแต่คนแก่ดังนั้นก็ต้องมาคิดแก้ปัญหาของเขาเพื่อมาหาแนวทางที่จะช่วยเขา
ท่านได้นำเราไปพบกับเกษตรกรในหลากหลายอาชีพในจังหวัดนี้ ท่านรู้หรือไม่ว่าเกษตรกรที่นี้มีอาชีพอะไรบ้าง เท่าที่เราได้ไปพบนั้นก็มีหลากหลายด้วยกันสำหรับการศึกษาของเราครั้งนี้ ท่านได้แจ้งกับเราว่าท่านได้จัดทำมหาลัยขึ้นที่นี้เรียกว่า “ มหาวิทยาลัยภูมิปัญญาท้องถิ่น” ชื่อเพราะมากเลยนะคะ และมหาลัยนี้มีหลากหลายวิชาการมากกล่าวคือ
1.ภาควิชาการเกษตรธรรมชาติและพลังงานยั่งยืน ที่ว่าด้วยเรื่องของการปลูกพืชโดยปลอดสารพิษ เพื่อความยั่งยืนของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมทั้งสุขภาพของผู้เกษตรกรรวมถึงผู้บริโภค
2.ภาควิชการสมุนไพร และแพทยแผนไทยที่ได้รวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรและจัดการสอนวิธีการรักษาโรคแบบพื้นฐานบนความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ปรับใช้สมุนไพรในการรักษา เช่นกวาดยาได้ แก้ปัญหาที่มีอยู่อย่าทิ้งของที่มีอยู่ทำให้เป็นสากลทำให้เป็นมาตรฐานก็นำมาใช้ได้
3.ภาควิชาศิลปวัฒนธรรมไทยพื้นบ้าน อย่างเช่นมะพร้าวซอเป็นก้น 3 จีบ มะพร้าวเปลือกนิ่มที่ทานได้ทั้งเปลือก มะพร้าวพวงร้อยขนาดเล็กเอาไปนิ่งขนม และทำอาหารได้ ทำพิงพาดไม้ไผ่ประที่มีเส้นดำใช้ทำเครื่องดนตรีพื้นบ้าน ทำอังกะลุงจะแข็งและเสียงเพราะ เชิดหุ่นกระบอก การล่มน้ำเพื่อนำน้ำจืดไปใช้โดยเจาะรูไว้ที่ก้นที่แม่น้ำที่เพชรบุรีขนมาใช้ที่บ้าน การมัดย้อมเพราะเขาอยู่ริมทะเลทำให้ด้ายทนขึ้นใช้นานขึ้น  การมัดย้อมโดยใช้เปลือกไม้ธรรมชาติที่มีอยู่ โดยจะใช้เปลือกไม้ตระบูนมาต้มได้น้ำและนำผ้าที่ทำการมัดมาย้อมซึ่งแต่ละชิ้นก็ขึ้นกับผู้มัดย้อมเอง ดังนั้นผ้าทุกๆผืนก็จะมีความแตกต่างกันอย่างมาก ถ้าท่านได้มีโอกาสเป็นเจ้าของผ้าชิ้นใดแล้วจงภูมิใจเถอะว่าท่านเป็นเจ้าของรูปแบบนั้นคนเดียวในโลกทีเดียวคะ ก้านมะพร้าวต่างๆ
4. ภาควิชาการอนุรักษ์ทรัพยากรริมฝั่ง เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ติดริมทะเลและมีการกัดเซาะของคลื่นอย่างมากซึ่งทำให้สูญเสียพื้นดินไปกับน้ำปีๆหนึ่งเป็นระยะมาก ได้แนวความคิดในการปลักกล่ำ แต่ว่าจะนำอะไรมาใช้ทำกล่ำ ก็ได้แนวคิด ก็มีการนำเสาปูนไปปักไว้และนำยางรถยนต์ไปคล้องไว้ทำเป็นห่วงต่อๆกันไว้เมื่อคลื่นมาปะทะกับความกลมของยางก็จะทำให้หมดแรงปะทะทำให้มีดินมาถมที่บริเวณดังกล่าวมากขึ้นก็เป็นการเพิ่มพื้นดินชายฝั่งด้วยตลอดทั้งเป็นที่อยู่ของสัตว์น้ำมากขึ้นเป็นประโยชน์กับการประมงชายฝั่งอย่างมาก จะเห็นว่าเป็นวิธีการง่ายๆและไม่ต้องลงทุนมากแต่เกิดประโยชน์อย่างยิ่ง เป็นภูมิปัญญาที่ชาญฉลาดมากที่คิดได้อย่างลึกซึ้งมาก และลดปริมาณความเป็นพิษจากยางรถยนต์อย่างมากถ้านำไปเผาหรือทำลายโดยวิธีการอย่างอื่น แต่ด้วยความฉลาดนี้ทำให้ของเสียเป็นประโยชน์อย่างไม่รู้ว่าจะกล่าวเช่นไรถึงจะเหมาะสมได้ ในระยะเวลา 9 ปีที่ทำมาทำให้เกิดทะเลงอกได้ 1.5 กิโลเมตรทีเดียว
5.ภาควิชาขนมไทย เป็นขนมพื้นของไทยที่ทำได้ดีอย่างมากเป็นการอนุรักษ์ความรู้และภูมิปัญญาของไทยได้เป็นอย่างดีกับสิ่งเหล่านี้ ซึ่งเป็นขนม ฝอยทอง ทองหยอด เม็ดขนุน ขนมหม้อแกง และขนมไทยอื่น ซึ่งรสชาติดีมากไม่หวานมากไป และก็รูปแบบเห็นแล้วน่ารับประทานอย่างมาก และวิชาอาหารไทยพื้นบ้านที่ใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในบ้านตนเอง ได้รสชาติจริงของอาหารทะเลที่มีหลากหลาย และความเหมาะสมกับสัตว์น้ำชนิดต่างที่จะเหมาะกับการทำอาหารชนิดใดบ้าง เช่นต้มส้มปลากระบอก ปูผัดผงกระหรี่ ผักสาครามลวกจิ้มน้ำพริก ส้มตำผักสาคราม ไข่เค็มที่ใช้ฝุ่นพื้นที่ในการหมัก และอื่นๆอีกมากมาย
6. แปรรูปผลผลิตการเกษตรเช่นน้ำตาลมะพร้าวใช้มาตรฐาน กรอ ขึ้นโดยรับรองเองชาวบ้านเขามีอยู่แล้วเราแค่นำมาใช้
7.วิถีชีวิตการทำนาเกลือไม่มีหน่วยงานไหนมารับผิดชอบก็เลยมาเรียนรู้ และเมื่อมาเรียนรู้ก็รู้ปัญหา ว่ามีปัญหา ขี้แดดนาเกลือและราคาต่ำ และ อื่นๆมากมายก็มาทำวิจัยก็เลยทราบถึงปัญหาอีกมากมาย ก็มีตำนานเหตุที่ต้องทำนาเกลือก็มีเหตุมาและพัฒนามาเรื่อยๆ
มีการใช้ชานอ้อยที่ทิ้งไม่เป็นประโยชน์เพราะไปทิ้งก็เกิดปัญหาก็นำมาเพาะเห็ดซึ่งอร่อยมากเพราะทั้งหวานกรอบ และหลังจากนั้นก็ไปเป็นปุ๋ยได้ อีกอย่างก็หางน้ำมะพร้าวที่น่าจะนำมาใช้ประโยชน์ได้ถ้าเราจะเรียนรู้จริงๆ ท่านแนะนำว่ากลับไปดูที่บ้านว่ามีอะไรก็นำมาคิดว่าจะทำอะไรได้บ้างก็จะเกิดประโยชน์กับท้องถิ่น
หมายเลขบันทึก: 391737เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2010 05:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท