เตรียมสไลด์สดพลาสติด(plastid)กันดีกว่า


พลาสติด(plastid)ศึกษาได้ไม่ยากเลยครับ

  วิธีกระตุ้นให้นักเรียนอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับออร์แกเนลล์(organelles)บางอย่างของเซลล์ เช่น คลอโรลาสต์(chloroplast) โครโมพลาสต์(chromoplast) และ ลิวโคพลาสต์ (leucoplast) หาได้ง่ายๆครับ คลอโรพลาสต์(chloroplast)นำมาจากในสระ    โครโมพลาสต์(chromoplast) และ ลิวโคพลาสต์ (leucoplast) หาได้จากในครัวครับ

              คลอโรพลาสต์(chloroplast)ศึกษาจากเซลล์สาหร่ายหางกระรอกโดยศึกษาได้ทั้งรูปร่าง ขนาด และจำนวนเม็ด คลอโรลาสต์เลยขอบอก อ้อ อย่าลืมสังเกตการเคลื่อนที่ของไซโตพลาสซึมหรือที่เรียกว่า cyclosis นั่นแหละ ควรเลือกใบอ่อนๆใกล้ยอดและสดนะครับ ส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์

             โครโมพลาสต์(chromoplast)   ศึกษาได้จากเซลล์พริกแดงโดยใช้ใบมีดเฉือนพริกแดงตามขวางบางๆนะครับ นำไปวางบนสไลด์ ปิดด้วยแผ่นแก้วปิด ส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์

               ลิวโคพลาสต์ (leucoplast)  ศึกษาได้จากเซลล์มันฝรั่ง เตรียมได้โดยใช้ใบมีดขูดมันฝรั่งลงบนสไลด์ที่มีหยดน้ำอยู่ปิดด้วยแผ่นแก้วปิด นำไปส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จะสังเกตเห็น ลิวโคพลาสต์เป็นเม็ดใสมีแป้งสะสมอยู่ ถ้าหยดสารละลายไอโอดีนลงไปที่ขอบแผ่นแก้วปิด ทั้งนักเรียนและครูจะตื่นเต้นเพราะพบข้อสรุปบางอย่างเพิ่มขึ้นครับ

                 อ้อ อย่าลืมนะ ทั้ง  คลอโรลาสต์(chloroplast)  โครโมพลาสต์(chromoplast) และ ลิวโคพลาสต์ (leucoplast)  จัดเป็นพลาสติด(plastid) ซึ่งเป็นออร์แกเนลล์อยู่ในไซโตพลาสซึมของเซลล์พืชนะครับ

หมายเลขบันทึก: 39120เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2006 22:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

แล้วบรรยากาศในการเรียนรู้เรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้างคะครูปะฐม

ก็ดีค่ะจะได้ศึกษาหาความรู้

ไม่เห็นมีรูปเลยวะ

เนื้อหาก็น้อย I IoVe YoU รักน่ะจุ๊บๆ

เนื้อหาก็น้อย กระจอกมากๆ ใครปัญญาอ่อนมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท