วิจัยเชิงคุณภาพ กระแสใหม่ของการทำวิจัยในชั้นเรียน


วิจัยเชิงคุณภาพ กระแสใหม่ของการทำวิจัยในชั้นเรียน

     วันที่ 31 สิงหาคม และวันที่ 1 กันยายน ครูน้ำได้เข้าร่วมการอบรมครูวิชาการโรงเรียน ซึ่งจัดโดยกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการศึกษา สพป.กำแพงเพชร เขต 2 ซึ่งเนื้อหาการอบรมก็ประกอบไปด้วย 2 หัวข้อหลักๆ ก็คือ

      1. การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ซึ่งจะต้องเหนื่อยกันอีกรอบ (อีกแล้ว) กับการปรับรูปแบบของหน่วยการเรียนรู้ฉบับล่าสุด (จะเปลี่ยนอีกไหมนี่) ซึ่งหัวข้อที่เพิ่มมาก็คือ ความเข้าใจที่คงทน ที่ครูต้องระบุความรู้ความเข้าใจที่ฝังแน่น ติดอยู่กับตัวผู้เรียนอันเกิดจากการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมตามหน่วยการเรียนรู้นั้น ๆ ติดตัวผู้เรียนไปใช้ในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ยังได้รับความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาจาก ศน.ของสพป.กพ.2 มาพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น

      2. การทำวิจัยในชั้นเรียน  ครูน้ำได้รับความรู้การวิจัยในชั้นเรียนเพิ่มเติมมากขึ้น เกี่ยวกับการวิเคราะห์ที่มาของปัญหาเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติการวิจัยเพื่อพัฒนาวิชาชีพ และผู้เรียน ความรู้ใหม่ในวันนี้ก็คือมีการนำการวิจัยเชิงคุณภาพมาใช้ในการทำวิจัยชั้นเรียนแล้ว (อึ้ง) นอกจากการวิจัยเชิงปริมาณที่คุณครูส่วนมากนิยมใช้ในการแก้ปัญหาในชั้นเรียนแล้วนั้น การวิจัยเชิงคุณภาพในชั้นเรียนก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยที่แสวงหาความจริงในสภาพที่เป็นอยู่โดยธรรมชาติ ซึ่งเป็นการสอบสวน มองภาพรวมทุกมิติ ด้วยตัวผู้วิจัยเอง  เพื่อหาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ที่สนใจกับสภาพแวดล้อมนั้น  โดยให้ความสำคัญกับข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิด คุณค่าของมนุษย์  และความหมายที่มนุษย์ให้ต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัว ซึ่งในที่นี้ก็คือตัวของผู้เรียน หรือกลุ่มบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้เรียน โดยเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา ด้วยการตีความเพื่อสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ให้ได้ความรู้ความเข้าใจในปรากฎการณ์ที่ต้องการศึกษาอย่างลึกซึ้ง ซึ่งเป็นวิธีการที่ท้าทายความสามารถของครูผู้สอนที่ต้องการความท้าทายในชีวิตการเป็นครูเป็นอย่างมาก เพราะครูจะต้องใช้ตัวเองในการเข้าไปอยู่ในกระบวนการวิจัยทุกขั้นตอนเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบของการวิจัยนั่นเอง

     รายละเอียดเกี่ยวกับนำวิจัยเชิงคุณภาพมาใช้ในการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ การวิจัยเชิงคุณภาพในชั้นเรียน : กระบวนทัศน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียน ได้เลยค่ะ

หมายเลขบันทึก: 390105เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2010 21:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นสิ่งที่ดีเพราะลึกซึ้ง เกาะติดคลุกคลีและต้องใช้เวลาพอสมควร จึงค้นพบ ดีใจด้วยที่ได้เรียนรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท