แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาชุมชน ,,,“ย้อ”เมืองแซงบาดาล


“จากบ้านบึงกระดาน เป็น เมืองแซงบาดาล” พื้นถิ่น พื้นฐาน“ย้อ”เมืองแซงบาดาล...แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาชุมชน ของโรงเรียนสมเด็จพิทยาคม อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์

l,gfhfrbfmtpk7,’

      พื้นถิ่น พื้นฐาน“ย้อ”เมืองแซงบาดาล...แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาชุมชน ของโรงเรียนสมเด็จพิทยาคม อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์

                   

       คุณตาม่าน(ขวา)ทายาท.กำนันคนแรกหลังจากเป็นเมืองมาเป็นตำบล.....

รู้จักสมเด็จพิทยาคมก่อน...จิ๊ดนึ่ง

    

      โรงเรียนสมเด็จพิทยาคมเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษที่ให้บริการด้านการศึกษาในชุมชนอำเภอสมเด็จ และอำเภอใกล้เคียง เพราะมีความพร้อมทั้งด้านบุคลากร สื่อการเรียนการสอนโดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ภาษาต่างประเทศโดยเปิดสอน ๒ ภาษา

 (โรงผลิตน้ำดื่มของโรงเรียนเอง.บริโภคและจำหน่ายเป็นการหารายได้พึ่งพาตนเองผลงานของท่าน ผอ.พิริยะ  อุทโท)

               

       โรงเรียนสมเด็จพิทยาคมยังเป็นโรงเรียนมัธยมประจำอำเภอที่ได้รับความนิยม ๑ ใน ๕ โรงเรียนยอดนิยมของจังหวัดกาฬสินธุ์

           

           (ท่านผอ.ฟังการนำเสนอด้วยภาษาย้อของ นส.ปิยวรรณ จันทร์เสนา ๔/๓...นักเรียนย้อบ้านคำบก ต.แซงบาดาล อ.สมเด็จ จ.กาฬสินธุ์)

        ในด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของชาติและของชุมชนท้องถิ่น เนื่องจากชุมชนแวดล้อมโรงเรียนมีความหลากหลายของชนเผ่าและที่มีอยู่จำนวนมากคือ “ชาวย้อ”ตำบลแซงบาดาล...จึงเป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาในชุมชน ทั้งด้านภาษา การดำรงชีวิตชาติพันธุ์ต่างๆเพื่อให้นักเรียนเรียนรู้สืบสานภูมิปัญญาความรู้ของชุมชนท้องถิ่นตนเองให้ดำรงอยู่ เปรียบสะท้อนสังคมที่เปลี่ยนแปลงในยุคเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต

              คุณป้าตุ๋มกับน้องชาย

ประวัติเมืองแซงบาดาล :  คุณครูประภาวดี มองเพชร(ประมวลปรีชา) คุณครูมยุราชินี ประมวลปรีชา(ในภาพผู้โกนจุก...ยังไม่ขึ้นค่ะ)

...จากหนังสืออนุสรณ์เนื่องในพิธีเปิดห้องแสดงประวัติเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๔ สำนักงานศึกษาธิการอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์)

            

                   (ทายาทเมืองแซงบาดาล คุณป้าเตี้ย.คุณป้าตุ๋ม)        

“จากบ้านบึงกระดาน เป็น เมืองแซงบาดาล

          ในปีพ.ศ.๒๓๗๙ พระยามหาอำมาตย์(ป้อม)และพระมหาสงคราม ไปตั้งอยู่เมืองนครพนม ได้เกณฑ์ผู้คนข้ามไปเกลี้ยกล่อมญาติพี่น้องแถบเมืองมหาไชย เมืองคำเกิด เมืองคำม่วน ได้ผู้คนมาตั้งถิ่นฐานในเมืองสกลนครและเมืองกาฬสินธุ์จำนวนมาก จึงมีการขอตั้งเมืองบริวารขึ้น คือ เมืองท่าขอนยาง เมืองแซงบาดาล เมืองกุดสิมนารายณ์ เมืองภูแล่นช้าง เมืองกมลาไสย เมืองสหัสขันธ์ และเมืองกันทรวิไชย

             ในปีพ.ศ.๒๓๓๖ รัชกาลที่ ๑ (พ.ศ.๒๓๒๕-๒๓๕๒) ได้สถาปนาเมืองกาฬสินธุ์ขึ้น และในรัชกาลที่ ๓ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกบ้านบึงกระดานเป็นเมืองแซงบาดาล(พ.ศ.๒๓๗๙ ครัวพระคำแดงจำนวน ๙๓๓คน )

              ในปีพ.ศ.๒๓๘๘ ให้อุปฮาด(คำแดง)เมืองคำม่วนเป็นพระศรีสุวรรณเจ้าเมือง ราชวงศ์(จารย์จำปา)เป็นอุปฮาด ท้าวขุติยะ(พก)เป็นราชวงศ์ ท้าวสุริยะ(จารย์โท)เป็นราชบุตร

                ในปีพ.ศ.๒๓๙๑ พระศรีสุวรรณ(พระคำแดง) เจ้าเมืองแซงบาดาลถึงแก่กรรม จึงโปรดให้ตั้งอุปฮาด(จำปา) เป็นพระสุวรรณ ว่าราชการเมืองแซงบาดาลต่อไป

               ในปีพ.ศ.๒๔๐๔ พระศรีสุวรรณ(จำปา)ถึงแก่กรรม ราชวงศ์(พก)ได้รับราชการเป็นพระศรีสุวรรณเจ้าเมือง ท้าวบุญบุตรพระศรีสุวรรณ(จำปา)เป็นอุปฮาด ท้าวขีบุตรพระศรีสุวรรณ(พระคำแดง)เป็นราชวงศ์ ท้าวพรหมบุตรพระศรี ราชบุตร รักษาบัญชาราชการเมืองแซงบาดาล

                 ในปีพ.ศ.๒๔๑๕ ท้าวโพธิสารว่าที่ผู้ช่วยเมืองกาฬสินธุ์ มีบอกขอตั้งท้าวโคตร เป็นพระศรีสุวรรณเจ้าเมืองแซงบาดาล(วันอังคารขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะแม โปรดเกล้าฯตั้งท้าวโคตร เป็นพระศรีสุวรรณเจ้าเมืองแซงบาดาล พระราชทานถาดหมาก คนโทเงิน ๑ สำรับ สัปทนแพรคัน ๑ เสื้อเข้มขาบริ้วขอ แพรสีติดขลิบ ๑ ผ้าส่านวิลาส ๑ แพรขาวห่ม ๑ ผ้าม่วงจีน ๑ เป็นเครื่องยศ

                ในปีพ.ศ.๒๔๒๕ นี้พระศรีสุวรรณ(พก)เจ้าเมืองแซงบาดาล ถึงแก่กรรม ราชวงศ์(ขี) ได้ดูแลรักษาราชการเมืองต่อมาเพียง ๒ ปี ก็ถึงแก่กรรมลงอีก ท้าวจารโคตรบุตรอุปฮาด(พรหม)เป็นพระศรีสุวรรณเจ้าเมือง ให้ท้าวทุมเป็นอุปฮาด(ทุม) ถึงแก่กรรม ท้าวหงส์ได้รับตำแหน่งเป็นอุปฮาดรักษาราชการเมืองต่อไป

                 ในปีพ.ศ.๒๔๔๐ รัชกาลที่ ๕ ได้ยกเลิกตำแหน่งระบบการปกครองเดิม โดยพระศรสุวรรณ(โคตร)ได้เป็นผู้ว่าราชการเมือง(๒๔๔๒)

                ในปี ๒๔๔๙จึงเริ่มมีอำเภอเกิดขึ้นอำเภอแซงบาดาล มีขุนบาดาล นิคมเขต(ฮวด)เป็นนายอำเภอ

                 ปีพ.ศ.๒๔๕๑ นายขำ เป็นนายอำเภอ

                 ปีพ.ศ.๒๔๕๔ การจัดการปกครองแบบหัวเมืองได้ถูกยกเลิกในระหว่างที่จัดตั้งเป็นจังหวัดตำแหน่งข้าราชการเมืองกาฬสินธุ์ก็เปลี่ยนไปด้วย

               ในปีพ.ศ.๒๔๕๕ รัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าให้ตั้งมณฑลร้อยเอ็ด แยกออกจากมณฑลอีสาน อำเภออุทัยร้อยเอ็ด ที่ตั้งอยู่ในเมืองร้อยเอ็ดให้ออกมาตั้งใหม่ย่านศูนย์การปกครองที่อำเภอดินแดง

              ในปีพ.ศ.๒๔๕๖ อำเภออุทัยร้อยเอ็ดจึงเปลี่ยน เรียกเป็นอำเภอแซงบาดาลเพื่อเป็นอนุสรณ์ที่เมืองแซงบาดาลถูกยุบเป็นตำบล

              เมืองแซงบาดาลปัจจุบันคือ บ้านแซงบาดาล ตำบลแซงบาดาล อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์

                       "- สมเด็จนามมงคล    งามเลิศล้น"แก่งพฤาชัย"

                   น้ำตกใส"แก้งกะอาม"      ธรรมชาติงาม"ถ้ำผาลี่"

                   ฝีมือดีคือ"เนื้อทุบ"          งามเหวหุบ"ผาเสวย"

                   น่าชมเชย"หมอลำซิ่ง"      อัศจรรย์ยิ่ง"ห้วยสังเคียบ" -"

              ซึ่งทายาทของเจ้าเมืองแซงบาดาลในปัจจุบันจากภาพพิธีโกนจุกคือ คุณป้าตุ๋ม (น้องสาวคุณป้าเตี้ย...คุณครูประภาวดี  มองเพชรที่ข้าพเจ้าเคารพรักยิ่ง)...แล้วค่อยชมภาพตอนต่อไป(เน็ตข้าพเจ้าช้ามากๆ...ภาพโกนจุกและอื่นๆเดี๋ยวตามมา).

          

                                 (ใครเป็นใคร???...ทายาทย้อ)

 

หมายเลขบันทึก: 389276เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2010 21:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:27 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

เรียนอาจารย์จอมใจที่นับถือ

  ขอบคุณบันทึกดีๆที่นำมาแบ่งปันนะคะ ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะเลยค่ะ เพราะไม่เคยทราบมาก่อน ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ P คุณยาย คนสวย
บันทึกไว้เพื่อเด็กน้อยและผู้สนใจค่ะ

           ยินดีที่ได้รู้จัก /ขอบคุณมากค่ะ.

ภาษาย้อ เป็นอย่างไรครับ ผมคุ้นแต่ส่วย เขมร ย่านอีสานใต้

เรียนคุณครูหยุยที่แสนดีของเด็กน้อย

                   เป็นเกียรติยิ่งที่ท่านมาเยี่ยมชมเฮือนซานซุมเฮา

ภาษาย้อและภาษาภูไทจะคล้ายๆกัน แต่ภาษาย้อจะอ่อนหวานกว่า

(คนอื่นๆเขาว่าค่ะแต่ดิฉันชอบภาษาภูไทยน่าฟังและไพเราะ.....)

เช่น ภูไท ถามว่า "ไปไหน"..."ไปสิเล๊อ"

               ย้อ .................."ไปเต๊อ"

 เป็นต้นซึ่งจะได้นำรายละเอียดภาษาย้อมาบันทึกลงในวันหยุดนะคะวันนี้ว่างแค่ ๒ ชม.

                        ขอบคุณมากๆค่ะคุณครูหยุยPวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ...คนดี

แวะมาอ่านแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาชุมชน ,,,“ย้อ”เมืองแซงบาดาล

เอาของกินมาฝาก

โอ้โห!บักแตงๆอ้ายทหารบักนัด...ปลูกเองบ๊นี่

        ขอบคุณอ้ายหลายๆซำบายดีค่ะ

  • สวัสดีค่ะคุณครูจอมใจ
  • มาหาอ่านแหล่งเรียนรู้ของชุมชน "ย้อ"เมืองแซงบาดาล
  • ขอบคุณข้อมูลค่ะอาจารย์

พึ่งรู้นะเนี่ยว่าคุณพี่ แซงบาดาลเคยเป็นเมือง นึกว่ามีแต่เมืองษหัสขันธ์ซะอีก

ดีใจ จังที่คุณครูIco32 Kanchana สนใจค่ะ สมเด็จ(บ้านสี่แยก)เป็นชุมชนที่มี...ความหลากหลายของกลุ่มชนแต่...ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบไม่สนใจเท่าที่ควร(อาจเพราะเป็น...ภาคอื่น)

คุณครูเต้อยู่ใกล้แค่นี้ยังไม่รู้เลย...ช่วงนี้ไม่ค่อยได้เข้า G2K"""ค่ะต้องขอโทษมากกกกก

รู้สึกปี้มใจที่ยังมีประวัติอันทรงคุณค่าของชาวย้อเมืองแซงบาดดาลไว้ให้ศึกษา และยังเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับสืบค้นของผู้ที่ยังไม่รู้ และผู้ที่อยากรู้เช่นกระผม

ขอบคุณ คุณครูครับ

ขอบคุณมากครับ ที่ให้ความรู้ครับ

ขอบคุณมากที่ชอบนะคะ

ไม่ค่อยได้เข้ามาบ่อยนัก

ต้องขอโทษที่ตอบช้า...

ณัฐชิตา ทองประดับ

สุดยอด เลยค่ะ

เราภูมิใจที่ได้เกิดเป็นลูกหลานของท่าน

น้องต้าร์หลานเจ้าปู่เมืองแซง

ขอบคุณนะครับที่ทำให้ผมได้อ่านได้ยินแต่ยายทวดพูดให้ฟัง(ยายใหม่ คานทอง)แต่ยายเสียไปแล้วคุณยายแหวน ประมวลปรีชายายก็รู้จัก ขอบเจอหลายๆที่เฮ็ดให้ผมบ่ลืมภาษาบ้านเกิดเจ้าของเด้อครับคือสิบ่มีพิเดอแล้วเนอเอาไว้พอกันใหม่เด้อครับ

นาย ศราวุฒี กุลศรี

อนาคต อยากสร้างห้อง สมุด และสนามเด็กเล่น ให้แก้โรงเรียนครับ

นาย ศราวุฒี กุลศรี

คนบ้านเฮาฮักบ้านแซงบาดาลเฮา เฮาซิบ่ลืมซาติเกิดเฮา ผมกะญ้อผุหนึ่ง55555คือกันคับา

สงสัยครับ  ได้ยินมาว่าในภาษาย้อ  สะระ "ใ"  จะออกเสียง "เออ"  เช่น  "ใกล้"  ออกเสียงเป็น "เ้ก้อ"   "ใบไม้"  ออกเสียงเป็น "เบอไม้"   แล้วทำไมคำว่า "คนใบ้"  จึงไม่ออกเสียงว่า "คนเ้บ้อ" ครับ  และขอถามอีหน่อยครับทำไมคนแซงบาดาล  ที่ได้ดีมีตำแหน่งแล้วชอบย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่อื่น(ในเมือง)


เจ็บคนเดียวก็พอ คัฟ

เมืองแซงบาดาลน่าอยู่มากคุณแม่คุณพ่อชอบบ้านแซงบาดาลมากเพราะคนบ้านแซงบาดาลน่ารักน่าอยู่มากเลยค่ะ

 

สนใจประวัติเมืองแซงบาดาลมากค่ะ

เมืองแซงบาดาล เคยมาเยี่ยมญาติกับคุณพ่อ เม่ือปี พ.ศ. 2530 เป็นเมืองที่น่าอยู่มากค่ะ
เพราะเป็นบ้านเกิดของย่าช่ือ ย่าโกสุม ปาลบุตร (สุวรรณภักดี) ปู่ช่ือ ปู่ป่อง สุวรรณภักดีมาพักที่บ้านปู่ขันตี ปาลบุตร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท