เทคโนโลยี กับคุณภาพการศึกษา


ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทและเกี่ยวข้องกับการศึกษามากขึ้น การประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการบริหารการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เป็นกฎหมายว่าด้วยการศึกษาของชาติฉบับแรกของประเทศ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2542 เป็นต้นมา มีสาระสำคัญที่ใช้เป็นหลักในการปฏิรูปการศึกษาของชาติทั้งในส่วนที่เป็นความมุ่งหมาย หลักการของการจัดการศึกษา สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา ระบบการศึกษา แนวทางจัดการศึกษาการบริหารและจัดการศึกษา มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาทรัพยากร และการลงทุนเพื่อการศึกษา และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (กระทรวงศึกษาธิการ.2542)

การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้สอดคล้องกับยุคปฏิรูปการศึกษาตามระบบการศึกษา ทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย จะส่งผลดีอย่างไรนั้น สามารถประมวลเป็นภาพรวม ดังนี้

1.การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดกิจกรรมและพัฒนาการเรียนการสอนโดยยึด    ผู้เรียนเป็นสำคัญนั้นจะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยฝึกการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล เพื่อนำความรู้และองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นไปใช้ในการพัฒนาตนเองและสังคมได้
2.การจัดระบบเครือข่ายการเรียนรู้ที่ให้มีแหล่งความรู้ที่หลากหลาย สำหรับการค้นคว้าหา  ความรู้ทุก ๆ ด้านที่ผู้เรียนต้องการและเหมาะสมกับผู้เรียน เช่น สื่อมวลชนทุกแขนงเครือข่ายสารสนเทศ ทรัพยากรท้องถิ่น ชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้านและหน่วยงานต่าง ๆ จะทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้พัฒนาตนเอง และพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างกว้างขวาง
3.การปรับกระบวนการเรียนการสอน โดยเน้นให้ครูเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวกและชี้แนะให้ผู้เรียนทำการศึกษาค้นคว้าคิดและตัดสินใจด้วยตนเอง โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและระบบเครือข่ายการเรียนรู้เป็นเครื่องมือ ขณะเดียวกันครูต้องเป็นต้นแบบด้านคุณธรรม และจริยธรรมด้วย ซึ่งต้องปลูกฝังทั้งในชั่วโมงเรียนและกิจกรรมการฝึกปฏิบัติ
4. ส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยโดยการประสานกับชุมชนและท้องถิ่นในการพัฒนาการเรียนการสอนตามอัธยาศัยเน้นการค้นคว้าและทักษะการสืบค้นสารสนเทศ ให้ผู้เรียนใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการสื่อสารข้อมูลทางไกลผ่านระบบเครือข่ายได้ รวมทั้งประเมินผลจากการนำมาใช้มากกว่าการจดจำเนื้อหา
หมายเลขบันทึก: 389268เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2010 21:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)
  • อาจารย์หายไปนานมากๆ
  • สบายดีไหมครับ

สบายดีครับ อาจารย์ขจิต คงสบายดีเช่นกัน นะครับ

เอกพรต

อ่านแล้วค่ะ ขอบคุณมากค่ะอาจารย์

อ่านแล้วได้รับความรู้เพิ่มเติมมากคะ

อาจารย์ค่ะ

หนูส่งงานในนี้ไม่ได้ค่ะ

ยังมีงงๆอยู่

อาจารย์กรุณาให้เวลากับพวกหนูทำความเข้าใจสักเล็กน้อยนะค่ะ

อย่าพึ่งรีบสอบ

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

อ่านแล้วได้รับความรู้เพิ่มเติมมากเลยคะ  ขอขอบคุณ ดร.เอกพรต  มากนะคะ

อ่านแล้วสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในโรงเรียนได้ มีประโยชน์มากเลยคะ

อยากให้ทุกคนเข้ามาอ่าน นะครับ

เป็นแนวคิดที่ได้จากการสัมนา ที่ศูนย์สระบุรี ครับ

เอกพรต

อาจารย์ครับเรื่องการค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้จากท้องถิ่น และภูมิปัญญาชาวบ้าน (ข้อที่2) เกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้มากน้อยแค่ไหนครับ ขอบคุณครับ

ได้อ่านแล้วค่ะ ทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้นและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในโรงเรียนได้ค่ะ

อ่านแล้วค่ะอาจารย์ ดีมาก ๆ....ถ้าหน่วยงานระดับสูง ๆ เห็นความสำคัญแล้วนำเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ ๆ ที่อาจารย์กล่าวมาใช้กับโรงเรียนที่มีขนาดเล็กที่อยู่ในชนบท ห่างไกลความเจริญ ครูขาดแคลน ไม่ครบชั้น บ้าง..คงจะดีมาก ๆ เด็กๆคงตื้นเต้น +ดีใจเป็นที่สุดเลยค่ะ

ตอบ คุณ ประวิทย์ คำพุ่ม

เรื่องการค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้จากท้องถิ่น และภูมิปัญญาชาวบ้าน (ข้อที่2)

ในประเด็น นี้ ถ้า โรงเรียน ได้รวมบรวม และจัดทำเป็นฐานข้อมูลเกี่ยวกับ แหล่งเรียนรู้จากท้องถิ่น และภูมิปัญญาชาวบ้าน

เช่น ถ้าคุณประวิทย์ รวบรวม ภูมิปัญญาชาวบ้าน ใกล้ ๆ บริเวณ ที่คุณ อยู่ ไว้ใน web-blog ของคุณ ผมก็คงสามารถเรียนรู้ ภูมิปัญญา เหล่านั้น ได้ด้วยใช่ไหมครับ

เอกพรต

อ่านแล้วค่ะ ซึ่งทำให้ได้รับความรู้มากในการนำไปใช้ในการเรียนการสอน

ขอบคุณสำหรับคำตอบครับอาจารย์

ได้อ่านแล้วค่ะ ทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้นและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในโรงเรียนได้ค่ะ

สุธาสินิ ธรรมวิจารณ์

ส่งใบงานที่ 2 ของนางสาวสุธาสินิ ธรรมวิจารณ์

ใบงานที่ 2

ความหมายคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์"

คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีกมาก อาทิเช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้

ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)

ระบบ (System) คือกลุ่มขององค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันและทำงานร่วมกัน ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์จะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ

1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

2. ซอฟต์แวร์ (Software)

3. บุคลากร (Peopleware)

รูปแบบของระบบสารสนเทศ

Data Processing Systems (DP)

ระบบ DP คือ การประมวลผลข้อมูลที่รวบรวมขึ้นในแต่ละงานขององค์กร ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในลักษณะของแฟ้มข้อมูล (file) ประมวลผลและปรับปรุงแก้ไขข้อมูลในช่วงเวลาของการทำงานนั้นๆ เป็นลักษณะงานประจำ ผลลัพธ์ที่ออกมาอยู่ในรูปของรายงานหรือเอกสารของการปฏิบัติงาน เช่น รายงานสินค้าที่ขายในแต่ละวัน แยกตามประเภทสินค้าเป็นต้น เหมาะสำหรับผู้บริหารระดับปฏิบัติการใช้ในการตรวจสอบรายละเอียดของการปฏิบัติงานประจำต่างๆ แต่ละงานในแต่ละวัน

Management Information Systems (MIS)

ระบบ MIS หรือระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นระบบสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูล / สารสนเทศทั้งหมดภายในองค์กร อันเป็นผลมาจากการประมวลผลในระบบ DP เพื่อให้สามารถเรียกใช้ในลักษณะแบ่งปันและแลกเปลี่ยนสารสนเทศที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กันระหว่างหน่วยงานต่างๆ แสดงการไหลของข้อมูล / สารสนเทศระหว่างหน่วยงานภายในองค์กร เพื่อให้ผู้บริหารเกิดภาพรวมในการ ตัดสินใจ มิใช่ตัดสินใจภายใต้เงื่อนไขของงานใดงานหนึ่งเท่านั้น

ระบบ MIS มีข้อแตกต่างจากระบบ DP ดังนี้คือ : ระบบ MIS ประกอบด้วยฐานข้อมูลที่เป็น Integrated Database กล่าวคือ มีการใช้ฐานข้อมูลต่าง ๆ (ข้อมูลต่าง ๆ ภายในองค์กร มาจากระบบ DP ต่าง ๆ ภายใต้งานหลักเฉพาะหน่วยงานขององค์กร) ภายในองค์กรร่วมกัน ดังนั้นผู้บริหารทุกระดับสามารถใช้ Integrated Database เพื่อเรียกใช้สารสนเทศประกอบการตัดสินใจได้สะดวกกว่าระบบ DP ซึ่งจะรายงานเฉพาะหน่วยงาน ไม่สามารถเปรียบเทียบหรือโยงไปยังข้อมูล / สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกันได้

ระบบประมวลผลข้อมูล (Data Processing Systems หรือ DP)

ระบบประมวลผลข้อมูล (Data Processing Systems หรือ DP) หรือบางครั้งเรียกว่า ระบบประมวลผลรายการประจำ (Transaction Processing System หรือ TPS) หรือ ระบบประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Processing หรือ EDP) เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูลขั้นพื้นฐาน โดยเน้นที่การประมวลผลรายการประจำวัน (transaction) และการเก็บรักษาข้อมูล

MIS คืออะไร

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง

DSS คืออะไร

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System :DSS) เป็นซอฟแวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน นอกจากนั้น DSS ยังเป็นการประสานการทำงานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ โดยเป็นการกระทำโต้ตอบกัน เพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดขั้นตอนหรืออาจกล่าวได้ว่า DSS เป็นระบบที่โต้ตอบกันโดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อหาคำตอบที่ง่าย สะดวก รวดเร็วจากปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน

ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System: EIS)

ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง คือ MIS ประเภทพิเศษที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถ ใช้ระบบสารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบสัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกันทำให้ผู้บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง

คุณสมบัติของระบบ EIS

- มีการใช้งานบ่อย

- ไม่ต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง

- ความยืดหยุ่นสูงสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร

- การใช้งานใช้ในการตรวจสอบ ควบคุม

- การสนับสนุนการตัดสินใจไม่มีโครงสร้างแน่นอน

- ผลลัพธ์ที่แสดงจะเป็นตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย

- การใช้งานภาพกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่างๆ

- ความเร็วในการตอบสนองรวดเร็วทันทีทันใด

ข้อดีของระบบ EIS

1. ง่ายต่อผู้บริหารระดับสูงในการใช้งาน

2. การใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์

3. ให้สารสนเทศสรุปของบริษัทในเวลาที่ต้องการ

4. ทำให้สามารถเข้าในสารสนเทศได้ดีขึ้น

5. มีการกรองข้อมูลให้ประหยัดเวลา

6. ทำให้ระบบสามารติดตามสารสนเทศได้ดีขึ้น

ข้อด้อยของระบบ EIS

1. มีข้อจำกัดในการใช้งาน

2. อาจทำให้ผู้บริหารจำนวนมากรู้สึกว่าได้รับข้อมูลมากเกินไป

3. ยากต่อการประเมินผลประโยชน์ที่ได้จากระบบ

4. ไม่สามารถทำการคำนวณที่ซับซ้อนได้

5. ระบบอาจนะใหญ่เกินกว่าที่จะจัดการได้

6. ยากต่อการรักษาข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

7. ก่อให้เกิดปัญหาการรักษาความลับของข้อมูล

expert system หรือ ES

expert system หรือ ES หรือภาษาไทยว่า ระบบผู้เชี่ยวชาญ คือระบบคอมพิวเตอร์ ที่จำลองการตัดสินใจของมนุษย์ ผู้เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่ง โดยใช้ความรู้และการสรุปเหตุผลเชิงอนุมาน (inference) ในการแก้ปัญหายากๆ ที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ ระบบผู้เชี่ยวชาญได้ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อใช้งานในแวดวงธุรกิจ การแพทย์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม อุตสาหกรรม

อ่านแล้วค่ะ ซึ่งทำให้ได้รับความรู้มากในการนำไปใช้ในการเรียนการสอน

อ่านแล้วค่ะ ช่วยตระหนักถึงการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้อินเทอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูล ใช้ระบบอินทราเน็ตภายในสถานศึกษา และได้ผลค่ะ นักเรียนสนุกกับการเรียน ได้พัฒนาตนเองอย่างเห็นได้ชัด

คุณ สุธาสินิ ธรรมวิจารณ์

ส่งงานผิดที่หรือเปล่าครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท