วิเคราะห์ชาวนาไทย


KAIZEN, Continues Improvement ในเรื่องการทำนา ได้ไหม ใครจะเป็นผู้เข้าไปดำเนินการ ต้องเข้าไปช่วยนะครับ ไม่ใช้เข้าไปแสวงหาผลประโยชน์จากผู้เดือดร้อน แต่ที่สำคัญ ต้องมีศิลปในการโน้มน้าวให้ชาวนาเต็มใจและพร้อมที่จะพัฒนา (Motivation) และรวมตัวกันให้ได้ เพื่อเมล็ดข้าว ที่มีคุณภาพ และปริมาณที่เพียงพอ กับคนไทยทั้งประเทศและเหลือไปให้คนชาติอื่นในโลกด้วย ตามหลักการเศษรฐกิจพอเพียง ครับ กระผม

ชาวนา

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม มีการทำการเกษตรเป็นหลัก เช่นปลูกข้าว ยางพารา และผลไม้อื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก

                อาชีพหลักของคนไทยคือการทำนา จนมีคำหนึ่งที่คุณยายเคยพูดให้ฟังว่า “ผลหมากรากไม้ สุกใต้ไปหาเหนือ ข้าวปลานาเกลือสุกเหนือไปหาใต้”

                เมื่อก่อนนี้เท่าที่จำได้ฟ้ายังไม่ทันสาง ชาวนาก็ออกไปนากันแล้ว รีบทำมันจะได้ไม่ร้อน ไม่ว่าจะไปปักดำข้าว หรือเก็บเกี่ยว ก็ตาม ในฤดูการทำนาตามบ้านเรือนไม่มีคนกันหรอก ไปอยู่ที่กลางทุ่งนากันหมด พอเลยจากวัฒนธรรมลงแขก ดำนา เกี่ยวข้าว ก็เป็นการจ้างกันแต่ก็ยังมีคนเป็นจำนวนมากที่เหมือนไปช่วยกันอยู่ดี แต่แทนที่จะดาหน้า (เรียงหน้ากระดาน) กันไป ก็กลายเป็น วัดพื้นที่ เป็นงาน(100 ตารางวา) ในการปักดำ หรือการเก็บเกี่ยว แต่ทุกวันนี้กลายเป็นการจ้างเหมาแบบเป็นวัน แปดโมงเช้า ห้าโมงเย็น วันละ 300 บาท แล้วก็หาคนยากมากในบางพื้นที่

ถ้าเป็นอย่างนี้ ต่อไป เครื่องจักรทางการเกษตรก็คงจะมีบทบาทมากขึ้น

ชาวนา ผู้ผลิตข้าว มีข้าวเป็นผลผลิต (Product) เพื่อขายให้กับผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศเพราะเขาว่าข้าไทยดี มีคุณภาพ (Quality) การทำนาดูและต้นข้าวให้ดีเพื่อให้ข้าวรวงดี มีน้ำหนักไม่ลีบ และแกร่งน้ำ เพราะ เพื่อหวังผล กำไร (Profit) จากการขาย แต่ราคาขายของชาวนาที่ต้องการคือส่วนต่างจากต้นทุน 30 % ก็ดีใจมากแล้ว แต่ ผลิตแล้วขามราคาต่ำกว่าทุนประจำ ยิ่งทำยิ่งแย่ แล้วก็ปิดกิจการได้ลำบาก

ในอุตสาหกรรมแต่ละประเภทมีการพัฒนาทั้งกระบวนการ ( JOB METHODS) และการพัฒนาผู้ปฏิบัติ ( H R D ) แต่ในด้านการเกษตรได้มีการพัฒนาบ้างหรือไม่เพื่อให้ได้ผลผลิตต่อหน่วยที่สูงขึ้น และมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยที่ต่ำลง เพื่อให้ได้ผลกำไรที่ดี เพียงพอที่ชาวนาจะอยู่ได้

กระบวนการทำนามีอะไรบ้าง ( Rice Grower List)

1. ไถกลบตอข้าว                                                                 หลังการเก็บเกี่ยว, จ้างรถไถ

2. ไถดะ                                                                                 จ้างรถไถ

3. ไถแปร                                                                              จ้างรถไถ

4. หว่านข้าว                                                                         ซื้อเมล็ดพันธุ์, จ้างคนหว่าน

5. สูบน้ำเข้านา                                                                    ฝนไม่ตก, ค่าน้ำมันเครื่องสูบ, เฝ้า

6. ใส่ปุ๋ยเร่งต้น                                                                     ซื้อปุ๋ยวิทยาศาสตร์, จ้างคนหว่านปุ๋ย

7. กำจัดวัชพืช(โสนหางไก่ สะเอ้ง หญ้าอื่นๆ)            ซื้อยาฆ่าหญ้า, จ้างคนกำจัด

8. สูบน้ำเข้านา                                                                    ฝนไม่ตก, ค่าน้ำมันเครื่องสูบ, เฝ้า

9. ใส่ปุ๋ยเร่งรวง                                                                    ซื้อปุ๋ยวิทยาศาสตร์, จ้างคนหว่านปุ๋ย

10. สูบน้ำออกจากนา                                                         ไม่มีทางระบายน้ำ, ค่าน้ำมันเครื่องสูบ, เฝ้า

11. เก็บเกี่ยว                                                                         จ้างรถเกี่ยว, จ้างรถขนข้าว

12. ตากข้าว                                                                          ลดความชื้น, ซื้อผ้ารี่รองพื้น

13. ขาย                                                                                  จ้างรถขนข้าว

14. ค่าเลี้ยงคนงานในทุกกระบวนการ

ผลที่ได้ ยิ้มแห้งๆ เพราะขาดทุน

ไม่มีใครไปสอน ฝึกอบรม หรือทำตัวอย่าง (Model Line) เพื่อพัฒนาเขาเหล่านั้นที่เรียกว่าชาวนา หรือกระดูกสันหลังของชาติ แล้วในข้อ 5 กับข้อ 8 ถ้าฝนตกลงมามากเกินความจำเป็น (อย่างวันนี้ 20 สิงหาคม 2553) น้ำท่าวนาเหมือนทะเล หาแนวเขตแดนของแต่ละเจ้าของไม่เห็น ต้องรอเวลาเพื่อเริ่มกระบวนการในข้อ 3 ใหม่ และการสูบน้ำเข้านากลายเป็นสูบน้ำออกจากนา ต้นทุนแปรผัน เกิดขึ้นอีกแล้ว หรือในกรณี ปีเดียวกันนี้ แต่ต้นปี เมื่อเข้าสู่ฤดูการทำนา แต่แล้งมาก ไม่มีฝน ไม่มีน้ำ ดำเนินการมาถึงกระบวนการที่ 5 แล้วต้องนั่งดูข้าวตายไปต่อหน้าต่อตา กลับไปเริ่มกระบวนการที่ 3 ใหม่ แล้วน้ำมาท่วม

จะแก้ไขอย่างไรดี

ทำเป็น F M E A (กระบวนการวิเคราะห์ความล้มเหลว) ไว้ก่อนได้หรือไม่จะได้แก้ไขได้ก่อนเหตุการณ์จะเกิด

พัฒนากระบวนการ ตามหลักการของ TWI JM (Job Methods) ใครจะไปเป็นผู้สอน

KAIZEN, Continues Improvement ในเรื่องการทำนา ได้ไหม ใครจะเป็นผู้เข้าไปดำเนินการ ต้องเข้าไปช่วยนะครับ ไม่ใช้เข้าไปแสวงหาผลประโยชน์จากผู้เดือดร้อน แต่ที่สำคัญ ต้องมีศิลปในการโน้มน้าวให้ชาวนาเต็มใจและพร้อมที่จะพัฒนา (Motivation) และรวมตัวกันให้ได้ เพื่อเมล็ดข้าว ที่มีคุณภาพ และปริมาณที่เพียงพอ กับคนไทยทั้งประเทศและเหลือไปให้คนชาติอื่นในโลกด้วย ตามหลักการเศษรฐกิจพอเพียง ครับ กระผม

 

Sekpornsawan Boonpetch

๒๒ สิงหาคม  ๒๕๕๓

 

หมายเลขบันทึก: 387079เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2010 08:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 11:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท