มาฝึกสมองด้วยการเล่นรูบิคกันเถอะ


ฝึกพลังสมองด้วยการเล่นรูบิคกันเถอะ

สิ่งที่เรียน : ฝึกเล่นรูบิค ( Rubik ) 

วิธีเรียน : รูบิคเป็นกีฬาชนิดหนึ่ง  ซึ่งนักคณิตศาสตร์เชื่อ   ว่าเป็นตรรกะ  รูบิคได้เข้ามาเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้  เมื่อก่อนข้าพเจ้าไม่เคยนึกสนใจในกีฬาชนิดนี้  แต่พอมาช่วงปลาย  พ.ศ. 2551    ซึ่งตอนนั้นข้าพเจ้ากำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5   มีรายการโทรทัศน์รายการหนึ่งได้จัดการแข่งขันรูบิคขึ้น  ซึ่งแต่ละคนสามารถทำเวลาในการเล่นได้ยอดเยี่ยมกันทั้งนั้น  ประกอบกับเพื่อนที่โรงเรียนบางคนก็เริ่มฝึกเล่นรูบิคกันแล้ว  ทำให้ข้าพเจ้าเกิดแรงบันดาลใจที่จะฝึกเล่นรูบิคบ้าง  หลังจากนั้นข้าพเจ้าก็เริ่มศึกษาวิธีการเล่นโดยขอให้เพื่อนที่เล่นเป็นสอนให้ แต่ผลออกมาไม่เป็นที่หน้าพอใจซะเท่าไหร่ เพราะ ข้าพเจ้าเป็นคนที่มีสมาธิค่อนข้างสั้นทำให้จดจำอะราได้ยาก  จึงขอให้เพื่อนสอนเพียงพื้นฐานให้เท่านั้น  เมื่อข้าพเจ้าพอมีพื้นฐานบ้างแล้วจึงไปศึกษาด้วยตนเองจากเว็บไซต์ต่างๆ  ที่มีวิธีการเล่นทั้งเป็นบทความและเป็นคลิปวีดีโอ ควบคู่ไปกับสิ่งที่เพื่อนสอน  ซึ่งสามารถสรุปเป็นวิธีการเล่นได้ง่ายๆดังนี้

1. ทำฐานให้เป็นรูปเครื่องหมายบวก ดังรูป

 

2. ทำฐานให้เต็ม  จะได้ด้านข้างที่เป็นรูปตัวที( หางแหว่งนิดหน่อย )  ดังรูป

 

3. ทำสองแถวด้านข้างให้เต็ม  ดังรูป

หมายเหตุ : ขั้นที่ 1-3 ต้องฝึกด้วยตนเอง  เพราะไม่มีสูตรที่ตายตัวแน่นอน  อีกทั้งยังเป็นการฝึกทักษะให้ตนเองด้วย

4. ขั้นนี้มีอยู่หลายวิธี เช่น

       ถ้าผ่านขั้นตอนที่  3  แล้วด้านบนมีลักษณะ  ดังรูป ให้ใช้สูตร ขวาลง บนขวา  หน้าซ้าย บนซ้าย หน้าขวา ขวาขึ้น

       ถ้าผ่านขั้นตอนที่  3  แล้วด้านบนมีลักษณะเป็นรูปปลา เครื่องหมายบวก รถถัง ดังรูป ให้ใช้สูตร ขวาลง บนซ้าย ขวาขึ้น บนซ้าย 2 ครั้ง ขวาลง

           

หมายเหตุ : ทำซ้ำจนกว่าด้านบนจะเต็ม  ดังรูป

 

 

 5. หมุนมุมไปอยู่ให้ถูกสี  จะได้เป็นรูปเสื้อกล้าม  และมีด้านข้างที่มีหนึ่งด้านเต็ม  ดังรูป

         

6. จากนั้นหันด้านที่เต็มเข้าหาตนเองแล้วใช้สูตร  หลัง 2 ครั้ง บนขวา ขวาขึ้น ซ้ายขึ้นหลัง 2 ครั้ง ขวาลง ซ้ายลง บนขวา หลัง 2 ครั้ง ทำซ้ำจนกว่าจะเต็มทุกด้าน

ผลการเรียน :  หลังจากที่ข้าพเจ้าได้ลองฝึกเล่นรูบิคจากคำแนะนำของเพื่อนและจากทางเว็บไซต์ต่างๆ ทำให้ข้าพเจ้าสามารถเล่นรูบิคได้  อีกทั้งยังสามารถลองเล่นในรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น

        

                  รูปตัว H                                                                   รูปกระดานหมากฮอร์ส

       

          รูปสี่เหลี่ยมสองชั้น                                                                รูปปลาตะเพียน

          ถึงแม้ว่าตอนนี้ข้าพเจ้ายังไม่สามารถทำเวลาในการเล่นได้ดีเทียบเท่ากับคนอื่นๆ แต่ข้าพเจ้าก็จะพยายามฝึกฝนจนกว่าจะทำเวลาได้ดีขึ้น และจะศึกษาวิธีการเล่นในรูปแบบต่างๆให้หลากหลายขึ้นอีกด้วย

ข้อคิดที่ได้จากประสบการณ์ : จากการเรียนรู้ในครั้งนี้  ทำให้ข้าพเจ้าได้ทราบว่าทักษะต่างๆสามารถเกิดขึ้นได้จากการฝึกฝน แม้ว่า ในตอนแรกเราอาจจะพบกับอุปสรรคหรือปัญหาที่อาจเกิดจากตนเองหรือสิ่งต่างๆรอบตัวเราก็ตาม แต่หากเรามีความพยายามและหมั่นฝึกฝนทักษะต่างๆอยู่เสมอ  ทักษะเหล่านั้นก็จะเกิดขึ้นกับตัวเราและจะติดตัวเราไปจนวันตาย

อ้างอิง

http://k.1asphost.com/vkvs09/rubik/index.html

http://www.rubiks-diy.com/webboard/index.php?topic=1111.0

http://www.kroobannok.com/16071

 

 วันที่บันทึก  :  22 / 8 / 53

 วันที่ปรับปรุง  :  22 / 8 / 53

โดย นางสาวธิดารัตน์  ทิพย์โพธิ์

533070243-1  ( 214 )

คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ (Tags): #การเล่น#รูบิด
หมายเลขบันทึก: 387046เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2010 00:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ดีมากครับ จะลองเล่นบ้าง

จะได้ฝึกตรรกะ

อยากลองเล่นบ้างจัง พยายามต่อไปนะคะ

เล่นด้วยๆ อยากฝึกพลังสมอง

wow! น่าสนุกจัง สอนบ้างดิ

สุดยอดมากเลยครับ ทำได้ไงเนี่ย

อยากเล่นเป็นบ้างจังเลยค่ะ

สุดยอดจริงๆๆๆๆ

เก่งจัง จะฝึกเล่นบ้าง

ช่วยสอนเราบ้างนะ

พึ่งจะหัดเล่นเหมือนกัน

วิธีเล่นช่วยได้เยอะเลยค่ะ

ขอบคุณนะ

โห เก่งจัง

สู้ๆนะ ฝึกฝนเยอะๆจะได้เก่งยิ่งขึ้นครับ

ยัง...งงๆ...อยุ่...เลย...อ่ะ...???

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท