ไม่วิเคราะห์การสื่อสาร การพัฒนางานจึงสะดุด


สนทนาให้สุนทรีย์แบบ TA (Transactional analysis)

     บันทึกนี้ได้มาจากการสังเกตุการสนทนาจริงจากการทำงานในวงการศึกษา    นำมาเทียบเคียงกับทฤษฎี

 

    การวิเคราะห์การติดต่อสื่อสาร TA (Transactional analysis)  

 

    เพื่อจะหาคำตอบและแนวทางแก้ปัญหา ที่ว่า

 

    *  ทำไมเด็กในห้องเรียนไม่ค่อยพูด

   *   ในการประชุม  ไม่ค่อยมีใครพูด

   *   เด็กไทย คนไทย  ไม่ค่อยแสดงความคิดเห็น

 

        ก่อนอื่นขอพูดถึงวัตถุประสงค์ของ TA  ก่อนครับ

 

        TA Transactional analysis เป็นการสื่อสารที่ต้องการสร้างการสื่อความหมายที่เปิดเผยและจริงใจให้มากที่สุด  โดยใช้องค์ประกอบทางอารมณ์และสติปัญญาควบคู่กันไปจนเป็นผลให้การสื่อสารหรือการสื่อความหมายนั้นบรรลุวัตถุประสงค์

 

         องค์ประกอบของ TA    ประกอบด้วย 3 สภาวะ  คือ 

 

         1. สภาวะความเป็นพ่อแม่(Parent  Ego  State)

         2. สภาวะความเป็นผู้ใหญ่  (Adult  Ego  State)

         3. สภาวะความเป็นเด็ก  (Child  Ego  State)

 

       การวิเคราะห์การสื่อสารแบบต่างๆ

 

      ต้องนำสภาวะทั้ง 3 ดังกล่าวข้างต้นมาพิจารณาด้วย  เพราะขณะสื่อสารกันบุคคลต่างก็จะแสดงสภาวะใดสภาวะหนึ่งออกมา  และสามารถรับรู้ได้ว่าบุคคลกำลังใช้สภาวะใดสื่อสารต่อกัน  การติดต่อสื่อสารมี 3 แบบ คือ

     

      1.   เป็นการสื่อสารที่แสดงให้เห็นถึงการคล้อยตามกัน  การโต้ตอบเป็นไปตามความต้องการของทั้งสองฝ่าย 

 

                          

 

    2. การสื่อสารแบบขัดแย้ง  เป็นการติดต่อสื่อสารที่คู่สนทนากล่าวกิริยาท่าทางที่ไม่เป็นไปตามความคาดหมายของอีกฝ่ายหนึ่ง  เมื่อการสนทนามีลักษณะขัดแย้ง  ก็จะทำให้การสนทนาสะดุดในระยะเวลาหนึ่งหรืออาจตลอดไป

                                

 

   3. การสื่อสารแบบซ่อนเร้น   เป็นการสื่อสารที่ผู้สื่อสารแอบแฝงความต้องการที่แท้จริงไว้    โดยคำพูดกับการแสดงออกที่ไม่ตรงกับความคิด  เป็นการพูดระดับสังคม (Social  Level)  คำพูดที่ต้องการจะสื่อออกมาจริงๆ นั้นถูกซ่อนไว้ภายใน

 

                                                     

 

      บันทึกนี้  จะขอยกมากล่าวกรณีเดียวครับ คือ  กรณีที่ 2  เพื่อจะเป็นคำตอบแลแนวทางในการแก้ปัญหา ที่ว่า

 

   *  ทำไมเด็กในห้องเรียนไม่ค่อยพูด

   *   ในการประชุม  ไม่ค่อยมีใครพูด

   *   เด็กไทย คนไทย  ไม่ค่อยแสดงความคิดเห็น

 

                              ที่เด็กในห้องเรียน ไม่ค่อยพูด

 

    

       เพราะ  เด็กเขาต้องการสื่อสารกับครูแบบ "ผู้ใหญ่"    คือ ต้องการใช้เหตุผล  แต่ครูสนองตอบกลับมาแบบ "พ่อแม่"  นั่นคือ ตอบสนองด้วยการสอน การสั่ง การตำหนิ  ด้วยท่าทีที่เหนือกว่า  ก็จะมีผลทำให้การสนทนาของเด็กสะดุดในระยะเวลาหนึ่งหรืออาจตลอดไป   หลายๆครั้งเข้า  เด็กก็จะไม่พูด ไม่แสดงออก

 

 

                  ในการประชุม ไม่มีใครพูด  ก็คล้ายๆกันครับ

 

   

        เพราะ  ผู้เข้าประชุมเขาต้องการสื่อสารกับประธานการประชุมแบบ "ผู้ใหญ่"    คือ ต้องการใช้เหตุผล  แต่ประธานการประชุมสนองตอบกลับมาแบบ "พ่อแม่"  นั่นคือ ตอบสนองด้วยการสอน การสั่ง การตำหนิ  ด้วยท่าทีที่เหนือกว่า  ก็จะมีผลทำให้การสนทนาของผู้เข้าประชุมสะดุดในระยะเวลาหนึ่งหรืออาจตลอดไป   หลายๆครั้งเข้า  ผู้เข้าประชุมก็จะไม่พูด ไม่แสดงออก

 

 

        เด็กไทย คนไทย ไม่ค่อยแสดงความคิดเห็น  ก็คล้ายกัน

 

    

          เพราะ  เด็กไทยคนไทยเขาต้องการสื่อสารกับผู้ที่เหนือกว่าแบบ "ผู้ใหญ่"    คือ ต้องการใช้เหตุผล  แต่ผู้ที่เหนือกว่า มักสนองตอบกลับมาแบบ "พ่อแม่"  นั่นคือ ตอบสนองด้วยการสอน การสั่ง การตำหนิ  ด้วยท่าทีที่เหนือกว่า  ก็จะมีผลทำให้การสนทนาของเด็กไทย คนไทย สะดุดในระยะเวลาหนึ่งหรืออาจตลอดไป   หลายๆครั้งเข้า  เด็กไทย คนไทย ก็จะไม่พูด ไม่แสดงออก

 

      ลองสังเกตดูจากตัวเองดูก็ได้ครับ   ว่าไม่ค่อยพูดกับคนบางคน เพราะอะไร

 

      ครับ  เพราะไม่วิเคราะห์การสื่อสาร  การพัฒนางานจึงสะดุด

 

      ผมว่าการแก้ปัญหาการไม่พูด นำไปสู่การพัฒนางาน   คงจะเริ่มแก้ที่ตัวเราก่อนนะครับ   สนทนากับผู้อื่นแบบผู้ใหญ่  เพื่อให้คนอื่นมีวุฒิภาวะ กล้าพูด กล้าแสดงออก

 

    

 

       เป็นอีกแบบหนึ่ง ของ "สุนทรียสนทนา" ครับ

  

  

หมายเลขบันทึก: 386783เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2010 05:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

ตามมาเรียนรู้ ได้ความรุ้ดีๆ บางที่ที่ไม่กล้าพูดเพราะรู้สึกไม่ปลอดภัยนะครับ

Pอ.ขจิตครับ

   เด็กไม่พูด เพราะไม่ปลอดภัย  เป็นเรื่องใหญ่เลยนะครับ

   ผมว่าการปฏิรูปการศึกษา  ถ้าเริ่มที่จุดนี้ได้  จะดีมากเลยครับ

                                 ขอบคุณครับ

แวะมาเสริฟกาแฟร้อนๆ
จริงๆคะท่าน เด็กๆสมัยนี้ไม่ค่อยพูด และแสดงความคิดเห็น ไม่เหมือนเมื่อก่อน บางครั้งเราก็ขัดใจที่ถาม และให้พูดแล้วก็ไม่พูด สุดท้ายก็ทำงานไม่ได้ ไม่ถูก และไม่ส่งน่ะเอง  เอ่อ! ก็ต้องแก้ปัญหากันต่อไปคะ  ขอบคุณคะท่าน..

Pครูบันเทิงครับ

    ขอบคุณกาแฟหอมกรุ่นยามเช้าครับ

สวัสดีค่ะ

มาขอเรียนรู้ด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะสำหรับความรู้

เห็นด้วยกับอาจารย์ขจิตจังค่ะ

สวัสดีค่ะ

ผ่านมาหมาด ๆ เมื่อวานนี้เองค่ะ ทำไมเด็กในห้องเรียนไม่ค่อยพูด

เด็กไม่พูดกับ ผอ.โรงเรียน  แต่กับครูพูดกันเก่งมาก ๆ ในที่ประชุมครูทั้งโรงเรียนก็ "ไม่มีคำตอบให้ ผอ.เหมือนกัน"

ขอขอบพระคุณค่ะ  ทำให้ทราบความสำคัญของสุนทรียสนทนาค่ะ

การสื่อสารสองทางที่มีปฏิกิริยาโต้ตอบ(feedback)กลับมาทำให้การสื่อสารสำเร็จค่ัะ...

เพราะทั้งฝ่ายผู้พูดและผู้ฟังสื่อสารกันรู้เรื่องทุกอย่างสำเร็จ...ถ้าผู้ฟัง...ฟังแล้วเฉยเมย...แสดงว่าการสื่อสารยังไม่สำเร็จ

ดังนั้นจึงอธิบายให้ผู้ฟังเข้าใจโดยกระจ่างชัด..ขอบคุณค่ะ

เด็กไม่พูดเนี่ย เป็นปัญหาสำคัญเลยนะครับ ถามว่าเข้าใจมั้ย ก็เงียบ อิอิ บันทึกนี้คงตอบปัญหาปรากฏการณ์นี้ได้

Pคุณณัฐรดาครับ

   อ.ขจิต นี่  ของแท้เลยครับ  ไปที่ไหน พูดกันสนุกสนาน  ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่

                          ขอบคุณครับ

Pพี่คิมครับ

    ดีมากเลยครับ  ที่นำประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนกัน

    เด็กไม่พูดกับ ผอ.โรงเรียน  แต่กับครูพูดกันเก่งมาก

         ผมว่าเรื่องนี้ เป็นเรื่องใหญ่และเป็นเรื่องสำคัญระดับประเทศเลยนะครับ

                       ขอบคุณมากครับ

Pคุณภัทรานิษฐ์ครับ

     การสื่อสารจะให้สื่อออกมาตรงกัน  ก็ต้องวืเคราะห์การฟังแบบ I in you ครับ เสริมด้วยการวิเคราะห์แบบ TA

                                   ขอบคุณครับ

Pคุณบีเวอร์ครับ

     เด็กไม่พูด  มักจะโทษเด็ก   ต้นเหตุมาจากครู ครับ

                  ขอบคุณครับ

  เรียนท่านอาจารย์ small man ที่นับถือ

     ขอบคุณอาจารย์มากนะคะที่นำความรู้มาแบ่งปัน ตอนนี้ดิฉันรวบรวมบทความของอาจารย์ไว้ ขออนุญาตรวบรวมเป็นเล่มเลยนะคะ จะได้ให้คนอื่นอ่านด้วยค่ะ

สวัสดีค่ะท่านรองฯ อ่านแล้วก็เป็นแบบนี้มานาน จะปรับเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น เร็วๆนี้มั่ง อิอิ

Pคุณคุณยายครับ

    ถ้าบันทึกผมเป็นประโยชน์อยู่บ้าง ก็ยินดีมากเลยครับ

      ขอบคุณมากเครับ

สวัสดีค่ะท่านรอง

มาเรียนรู้ด้วยคนค่ะ ถ้ามีการสื่อสารแบบผู้ใหญ่บ่อยๆท่าจะดีนะค่ะ แต่ในชีวิตประจำวันเราจะเจอได้ทั้ง3แบบของTA ซึ่งคงต้องเรียนรู้และปรับใช้เพื่อการสื่อสารที่ดี

ขอบคุณมากค่ะ

PคุณRindaครับ

     ขอเชียร์เต็มที่ครับ กับการเปลี่ยนแปลงที่ตัวเอง

                    ขอบคุณครับ

Pคุณถาวรครับ

  ในชีวิตจริง ก็มีการสื่อสารทั้ง 3 แบบแหละครับ   เพียงแต่ว่าก่อนที่เราจะพูดอะไร  คงจะต้องวิเคราะห์ "น้ำเสียง" ของเขา ว่าต้องการให้เราสื่อสารแบบใหน

              ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท