ออกแบบถอดบทเรียนที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง


ระมัดระวังความล้มเหลวเอาตอนท้าย หากบทเรียนที่ดีไม่มีการสื่อสารที่ดี วงจรการถอดบทเรียนจึงจำเป็นต้องออกแบบอย่างประณีตตั้งแต่ต้นจนจบ

เตรียมงานกันมาหลายครั้งผ่านการสื่อสารผ่านอีเมล  จึง ถือโอกาสนัดหมายทีมงานมานั่งพูดคุย เพื่อเตรียมงานถอดบทเรียนที่จะเกิดขึ้นเร็วๆนี้ที่ จ.กระบี่ ภายใต้โครงการ “ถอดบทเรียนการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในจังหวัดต้นแบบ  ของ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย  ซึ่งงานนี้มีจังหวัดต้นแบบ 9 จังหวัด (จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ชัยภูมิ อำนาจเจริญ ตราด ราชบุรี สตูล นครศรีธรรมราช และตรัง) มีการดำเนินกิจกรรมทั้ง 3 กิจกรรมไปพร้อมๆ กัน กิจกรรมดังกล่าวได้แก่ การใส่ฟันเทียมพระราชทาน,การส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ และการป้องกันโรคในช่องปาก ตามชุดสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรม

 

ส่วนหนึ่งทีมงาน Facilitators

คำถามหลักๆ ที่ทางสำนักทันตสาธารณสุข สนใจก็คือ กระบวนการที่นำมาซึ่งความสำเร็จในการดำเนินงานทั้ง 3 กิจกรรมของจังหวัดเหล่านี้ ว่ามีอย่างไร? สิ่งที่ต้องการคือบทเรียนเพื่อการเรียนรู้และต่อยอดในปีต่อไป

 

แนวคิดการส่งเสริมสุขภาพที่เน้น การเพิ่มพลังให้กับผู้คน ชุมชน ในการดูแลสุขภาพตนเอง รวมไปถึงการสร้างเครือข่ายทางสุขภาพที่เข้มแข็ง ทำให้งานสำเร็จมากกว่าการมุ่งแก้ไขปัญหาโดยภาครัฐแต่เพียงอย่างเดียว การลงทุนทางด้านสุขภาพในการส่งเสริมสุขภาพแนวใหม่ ถือว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องล้วนแต่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมกันมองผลลัพธ์สุดท้ายคือ “สุขภาวะ” แน่นอนว่า ทางเดินของการขับเคลื่อนพัฒนาของแต่ละที่แตกต่างกันตามบริบท ความพร้อมในด้านต่างๆ ความหลากหลายของความสำเร็จ ไม่ได้ประจักษ์เพียงแค่ผลงานเชิงปริมาณ แต่ “วิธีคิด” ของคนทำงานนั้น ผมคิดว่าสำคัญมากกว่าอื่นใด เราจะไม่มีทางทำงานได้สำเร็จ(Right Actions)ได้เลย หากไม่มีมุมมองที่ดี(Right Views)   และแนวคิดที่ถูกต้อง (Right Concepts) ดังนั้น การถอดบทเรียน จึงพยายามคลี่คลายที่มาของความสำเร็จที่มากกว่า “กระบวนการ” ที่เกิดขึ้น

 

ในการออกแบบการถอดบทเรียนสำหรับประเด็นนี้ เราใช้ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ที่เราเรียกว่า Facilitator ทั้งหมด 9 คน สำหรับ 9 จังหวัด ความคิดเบื้องต้นมองว่า ทั้ง 9 จังหวัดมีบริบท เรื่องราว และเส้นทางความสำเร็จที่แตกต่างกัน การถอดบทเรียนที่ละเอียด น่าจะแยกกันคุยก่อน เสร็จแล้วค่อยมารวมกันแลกเปลี่ยนแบบไขว้+ รวม ประสบการณ์หลังจากนั้น

 

การประชุมเตรียมงาน และออกแบบการถอดบทเรียน เราถกกันพอสมควรว่าจะออกแบบการเรียนรู้กันอย่างไร? ทั้งนี้เพราะ กระบวนการการถอดบทเรียนไม่ใช่แค่เพียงการรีดเค้น “บทเรียน” ที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นหัวใจในการพัฒนาคือ “กระบวนการเรียนรู้” ดังนั้น การสร้างความรู้ระหว่างกระบวนการจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่เราควรให้ความสำคัญ

 

“เมื่อจบสงครามมิใช่สิ้นสุดการรบแต่ละครั้ง” เราใช้การถอดบทเรียนแบบ "การเรียนรู้หลังการดำเนินงาน" (Retrospect)  โดยหลักการ retrospect มีรายละเอียดลึกซึ้งกว่า "การเรียนรู้หลังปฏิบัติการ" (AAR) เพราะใช้ในกรณีถอดบทเรียนทั้งโครงการไม่ใช่เฉพาะกิจกรรมหากเปรียบเทียบ AAR เป็นการถอดบทเรียนหลังการปฏิบัติการรบในแต่ละครั้ง แต่ Retrospect เป็นการถอดบทเรียนเมื่อสิ้นสุดสงคราม” นัยยะคือบทเรียนที่นำไปใช้ในโครงการต่อไป มิใช่ให้ทีมบรรลุเป้าหมายของงานเดิม  คล้ายๆกับ AAR แต่ลงลึก (In-dept) กว่า เป็นการทบทวนแผนและกระบวนการ ตั้งคำถามว่า เราได้ทำอะไร เราบรรลุผลที่ตั้งใจไว้หรือไม่ เราจะดำเนินการให้ดีขึ้นต่อไปได้อย่างไร ด้วยวิธีใด ทำให้เป็นที่พอใจได้อย่างไร สุดท้ายได้ "บันทึกข้อเสนอที่เจาะจงนำไปปฏิบัติได้" (SARs : Specific Actionable Recommendations)

 

เราพูดคุยกันในทีมงานว่า เราจะต้องไม่ยึดติดวิธีวิทยา(Methodology) และส่วนตัวผมเองก็ไม่ได้ยึดเอาวิธีวิทยาจนลืมไปว่า กลุ่มเป้าหมายเราจะรู้สึกอย่างไร ความสุขของผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นเรื่องละเอียดอ่อนยิ่งกว่า ผมมองว่าเราควรมีกรอบในการทำงาน แต่กระนั้นเอง กรอบที่เราคิดขึ้นไม่ควรมีอิทธิพลมาครอบความคิดผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการความรู้ (Facilitator) รวมไปถึงส่งผ่านความอึดอัดติดกรอบผ่านไปยังกลุ่มเป้าหมาย(Participants)ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเรา กรอบเป็นเพียงแสงไฟนำทาง แต่บรรยากาศที่อบอุ่น ปลอดภัยในการเรียนรู้ของกลุ่มนั้น เป็นความสามารถของเหล่า Facilitators ที่ต้องออกแบบใส่ใจอย่างประณีต

การถอดบทเรียนแต่ละครั้งของเราจึงมีบทเรียนที่ทีมงานได้เรียนรู้ใหม่ๆเสมอ เริ่มตั้งแต่การเตรียมความพร้อมของทีมงานที่มีรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย

 

  • “การออกแบบกระบวนการที่ดี”  ก็ถือว่าเราสำเร็จไปกว่าครึ่ง
  • “ทีมงานที่ดี” ก็ขึ้นอยู่กับเราได้ปลดปล่อยศักยภาพเราขนาดไหน? และสิ่งที่เราปลดปล่อยศักยภาพลงไปนั้นสอดคล้องกับความสุขที่สร้างสรรค์บรรยากาศกลุ่มได้แค่ไหน?
  • เราควรมุ่งเน้นเป้าหมายข้างหน้า “สิ่งควรทำอะไรในอนาคตหากมีเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกัน” มากกว่า “สิ่งที่เราทำผ่านมา”   จริงอยู่ว่าบทเรียนที่ผ่านมาสำคัญ แต่การช่วยกันคิดจากบทเรียนเดิมเพื่อไปสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่านั้นย่อมดีกว่า เป็นพลังอย่างมากสำหรับการขับเคลื่อนงานพัฒนาใดๆ
  • สุดท้ายการนำเสนอ “บทเรียนที่มีคุณภาพสูง” เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และเป็นทุนในการต่อยอด ขับเคลื่อนงานพัฒนา ต่อไปได้ เราควรสื่อสารสาธารณะบทเรียนเหล่านั้นอย่างไร?

 

ระมัดระวังความล้มเหลวเอาตอนท้าย หากบทเรียนที่ดีไม่มีการสื่อสารที่ดี วงจรการถอดบทเรียนจึงจำเป็นต้องออกแบบอย่างประณีตตั้งแต่ต้นจนจบด้วยเหตุผลข้างต้นครับ

 

::: คู่มือสำหรับทีมงาน :::

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

๑๒/๐๘/๕๓

ศาลายา,มหิดล

 เอกสารสำหรับเเลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

 

 


 

เตรียมความพร้อมของทีมงานเพื่อถอดบทเรียน "การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในจังหวัดต้นแบบ" ระหว่าง วันที่ ๑๗-๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณ ห้องประชุมโรงแรมอ่าวนางรีสอร์ท จ.กระบี่

หมายเลขบันทึก: 384218เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2010 17:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (35)

สวัสดีค่ะ

คำเอ้ยมาตั้งใจเก็บความรู้ ทำความเข้าใจ  อ่านตรงนี้ไม่ซึมลึก ก้อปไปวางในเวิร์ดแล้วพิมพ์ออกมาอ่าน  เอาจริงย่อมได้ค่ะ

แต่ระยะนี้คำเอ้ยเบื่อที่นี่  ขอตัวไปสร้างบล็อกที่อื่นชั่วคราวก่อนดีกว่า "ที่นั่นได้ทำหน้าที่เป็นผู้ให้เต็มที่" แม้ว่ามีคนไม่มากและไม่พลุกพล่าน

วันนี้ไปร้านหนังสือ ไปกินก๋วยเตี๋ยว แบบฉายเดี่ยวดูมันสบายใจอย่างบอกไม่ถุก  มีความสุขที่ร้านหนังสือคนแน่นร้าน  ไม่เบาโหรงเหรงเหมือนที่ผ่านมา  ได้หนังสือของอาจารย์เสกสรรค์ ประเสริฐกุล มา ๒ เล่ม  อ่านจบไปแล้ว ๑ เล่ม

สักครู่จะออกไปทานข้าว...

fa จำเป็นมาเรียนรู้ด้วยคนค่ะ

สวัสดีวันแม่ค่ะ

มีการอธิบายในรายละเอียดอยู่ครับ ตรงนี้เป็นเพียงความคิดหลักๆ เพื่อการเเลกเปลี่ยนในช่วงบ่ายเมื่อวานครับ

ไม่รู้เหตุผลที่พี่คำเอ้ย เบื่อ - เอาไว้คุยกันครับผม

พักผ่อนให้สบายนะครับพี่คำเอ้ย ...ทานอาหารอร่อยๆเผื่อด้วยครับ :)

 

สวัสดีครับ พี่แก้วครับ :)

เข้าไปอ่านบันทึก "เเม่" ของพี่แก้ว สะดุดตากับบ้านเก่าหลังนั้น ดูมีมนต์ขลังมากครับ

พี่ชอบบ้านไม้เก่ามากๆ เป็นบ้านจากน้ำพักน้ำแรงของพ่อกับแม่ ตอนสร้างครอบครัวค่ะ

พี่แก้วครับ

บ้าน ใหญ่ ที่บ้านใผ่ ขก

เก็บรักษา อนุรักษ์ บ้านไม้หลังนั้นไว้นะครับ เพราะเวลาผ่านไปเรื่องราวจากบ้านไม้หลังนี้จะทรงคุณค่ามากขึ้น เท่ากับเวลาที่เพิ่มขึ้น

 

หาวันว่างให้หน่อยสิครับ...
อยากให้มาช่วยจัดกระบวนการ "ถอดบทเรียน" ให้กับนิสิตและบุคลากรด้านการพัฒนานิสิตของชาว มมส..

.........................

 

  • สวัสดีครับพี่เอก
  • คงมีสักวันที่จะได้เรียนรู้การถอดบทเรียนกับพี่บ้าง
  • ได้อ่านหนังสือเดินสู่อิสรภาพของอาจารย์ประมวลแล้วคล้ายเหมือนพี่เอก
  • พี่คิมกำลังส่งหนังสือมาให้ครับ
  • ขอบคุณมากนะครับสำหรับหนังสือพร้อมลายเซ็น

สวัสดีค่ะคุณจตุพร

เข้ามาเรียนรู้ค่ะ และทำความเข้าใจให้มากขึ้น

เพราะความรู้นี้ต้องใช้งานบ้างในบางครั้ง

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณเอก

หนูรีไม่มีความรู้เรื่องประมาณนี้หรอกน่ะค่ะ แต่มาเป็นกำลังใจให้ทีมงานทุกคนน่ะค่ะ ขอให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีค่ะ

ขอบคุณค่ะ

คุณพนัส...

มีเวลาผมอยากไปเยี่ยมหลานๆเหมือนกันครับ เอาไว้โอกาสเหมาะๆชวน นิสิตมานั่ง dialogue ถอดบทเรียนการทำงานกันดีกว่าครับ

สวัสดีครับแล้ว ครับ ตามมาทำความเข้าใจ BAR จากบันทึก ทำใจให้นึกเหมือนนั่งฟังในห้องพร้อมกัน

FA บ้านๆได้มาร่วมงาน ได้ร่วมเรียนรู้ ในงานนี้ คงมีปัญญษข้นมาครัน ครับ

ผมชอบตรงนี้ครับ

   เราได้ปลดปล่อยศักยภาพเราขนาดไหน? และสิ่งที่เราปลดปล่อยศักยภาพลงไปนั้นสอดคล้องกับความสุขที่สร้างสรรค์บรรยากาศกลุ่มได้แค่ไหน?

                   เป็น "เคล็ดวิชา" ของ Fa ที่สอน ที่บอกกันยากครับ

                          ขอบคุณบันทึกดีๆที่นำมาฝากครับ

สวัสดีครับน้อง...จักรกฤษณ์ 

หนังสือหากอ่านเเล้วมีอะไรเเลกเปลี่ยนก็สามารถเเลกเปลี่ยนได้เลยนะครับ

ผมเองก็ถอดประสบการณ์เขียน เป็นบันทึกง่ายๆตามประสาผม

ส่วนหนังสือ อ.ประมวล เล่มนี้ดีมากนะครับ ผมได้เเรงบันดาลหลายเรื่องเลยทีเดียว

มีโอกาส มีวาสนาต่อกัน เราคงได้เจอกันครับ 

ขอบคุณครับ คุณ คิดคม สเลลานนท์ 

ผมตามอ่านบันทึกคุณคิดคมน่าสนใจมากครับ เก็บไว้ใน planet เเล้วครับ

ขอบคุณครับสำหรับกำลังใจจากกัลยาณมิตร

ด้วยความยินดีครับ คุณ nana งาน พสว.ศอ.8 

หากมีอะไรเเลกเปลี่ยน เชิญได้เลยครับ

สวัสดีหลังวันแม่ค่ะ

มีภาพวาดแม่ ที่ถ่ายทอดโดยลูกสาว มาฝากค่ะ

ผมไม่มีความรู้ในเรื่องที่คุณเอกทำ แต่ติดตามงานเพราะต้องการเห็นผู้รู้คุยกัน สิ่งที่ได้คือแง่คิดที่สร้างสรร บรรยากาศของการแบ่งปัน ความรู้ที่นอกเหนือจากตำรา ซึ่งเป็นคุณค่าที่ไม่สามารถหาได้ง่ายๆ เป็นกำลังใจให้ครับ

ขอบคุณครับ คุณ หนูรี
บันทึกนี้ผมตั้งใจจะสื่อสารสาธารณะเพื่อเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันครับ ส่วนหนึ่งก็ให้ทีมงานผมได้อ่าน ได้ทำความเข้าใจ ถือว่าเป็นรายงานการประชุมด้วยครับ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เติมเต็มซึ่งกันเเละกันครับผม บังวอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--

ผมคิดว่าประสบการณ์ของ FA เเต่ละท่านก็เชี่ยวมาจากพื้นที่ทั้งนั้น เพียงเเต่ต้องหาพื้นที่ใหม่ๆได้ประลองฝีมือครับ

ด้วยความยินดีครับ ท่าน small man
เเลกเปลี่ยน เติมเต็มให้กับทีมงานด้วยครับ

ส่วนรายละเอียดการทำงาน กระบวนการต่างๆ จะเล่าผ่านบันทึกต่อไปครับ

คุณ ณัฐรดา
เป็นภาพที่น่ารักเอามากๆครับ

*** ผมรบกวนส่งที่อยู่มาให้ผมหน่อยครับ จะส่งหนังสือไปให้

ขอบคุณครับ คุณอา Tanawat Wongpromdej

บันทึกนี้เป็นการสรุปการประชุมหารือของทีมงานครับ อาจเป็นงานเฉพาะกลุ่ม บางทีศัพท์แสงอาจเข้าใจยากไปบ้าง

หากมีประเด็นไหนที่อาจะเติมเต็มได้ เรียนเชิญครับ

ต้องขอบคุณมากๆครับที่ให้กำลังใจผมมาโดยตลอด

สวัสดีค่ะ น้องเอก

พี่หายเงียบไปนาน มาดูเว็บน้องอีกทีตอนนี้เรียนปริญญาเอกที่ ม.มหิดล แล้ว ยินดีด้วยค่ะ ขอให้เรียนจบไวๆนะคะ

สวัสดีครับน้องเอก

  • แวะมาศึกษาเรียนรู้ด้วยคนครับ
  • ได้รับความรู้และเป็นประโยชน์กับการทำงานพัฒนาชุมชนมากๆเลย
  • ขออนุญาตนำไปใช้บ้างนะครับ

ประเด็นการสื่อสารสำคัญครับ สำคัญพอพอกับหลักการจัดการความรู้

ตามมาอ่าน และเรียนรู้กระบวนการดูแลช่องปากของสว. ค่ะ

ตามจากเมล์ที่ขอหนังสือถอดบทเรียน มาแวะเยี่ยมที่บล็อกครับ

ยังถือว่าใหม่ๆ สำหรับผมอยู่

อยากได้ตัวอย่างการถอดบทเรียนของการทำงานที่อยู่ในสถานีอนามัยจังเลยครับ

เผื่อได้แนวทางชีวิตการทำงานบาง

มาทบทวนตัวเอง ก่อนลงพื้นที่ ค่ะ

ขอบคุณครับ ทุกท่านที่มาเเลกเปลี่ยนเรียนรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท