ลักษณะมวยแต่ละภูมิภาค มวย ๔ ภาค


ลอดมาจาก กัลญานมิต ลุงวี ลูกราชบุรี เป็นสาระประโยชน์ที่เคยสัมผัสสมัยชกกับมวยท้องที่ ที่มีรูปแบบของภูมิภาค เป็นเอกลักษณ์

ในช่วงปี ๒๕๑๖-๒๕๒๔  เป็นช่วงที่ได้ชกมวยกับเวทีภูธร  สัญจรไปตามเวทีบ้านนอกทุกภูมิภาค โดยเฉพาะที่ จ.ลพบุรี  สระบุรี  นครสวรรค์  ชัยนาท  นครราชสีมา(เมืองย่าโม) และเขตปริมณฑล อีกทั้งได้เก็บตัวได้กินอยู่หลับนอนกับนักมวยใต้  จึงทำให้ได้เห็นข้อแตกต่าง  ที่ตรงกับท่าน ลุงวี ลูกราชบุรี  บันทึกไว้ดังนี้

 มวยไทย ในยุคที่เริ่มมีการแข่งขันชกมวยจะกล่าวถึง จุดเด่นของนักมวยที่มาจาก ๔ ภาค ได้แก่ มวยโคราช มวยท่าเสา มวยลพบุรี มวยไชยา และมวยพระนคร

     ..มวยพระนคร เป็นมวยที่มีสังกัดและมีประสบการณ์เรียนรู้จากชาวต่างชาติ มีน้ำเลี้ยง วิธีฝึกและวิธีชกดี (จากประสบการณ์ที่เคยชกด้วย  ชกสนุก เพราะเป็นมวยทางเดียวกัน สำคัญที่การฝึกซ้อม  และพี่เลี้ยงช่วยแก้ทางมวยยกต่อยก  ซ้อมมาดี พี่เลี้ยงสอนทางดี ชนะแน่)
     ..มวยไชยา มีการถ่ายทอดกลวิธีต่อสู้ในเชิงรับ รุก ที่มีรูปแบบซึ่งซับซ้อน ใช้ชั้นเชิงและสติปัญญา เป็นหลัก เชิงรับของมวยไชยามักใช้ความคล่องแคล่วในการเข้าประชิดแก้ไขสถานการณ์  (จากประสบการณ์ที่เคยชกด้วย  ชนะเขายาก เพราะความคมและทางมวยเขาฝึกมาดี  แม้แต่ลูกรับก็เป็นอาวุธตอบโต้เราได้ตลอดเวลา) 
     ..มวยลพบุรี มีการฝึกที่เน้นการประสมจิต และการฝึกที่เน้นการเคลื่อนที่อันองอาจ รัดกุม มีศอกและถีบเป็นไม้เด็ด  (จากประสบการณ์ที่เคยชกด้วย  มีศอกแก้ลูกเข้าและอันตรายมากเมื่อเข้าวงใน  และใช้ลูกถีบทำลายจังหวะเมื่ออยู่วงนอก)
    
..ส่วนมวยท่าเสา ใช้ท่าคุมที่มั่นคง มักใช้อาวุธเข่า และลูกแก้ที่หนักหน่วงตอบโต้
(จากประสบการณ์ที่เคยชกด้วย  เป็นคู่ปรับกับมวยลพบุรี มีจังหวะเข่าที่อันตราย  มีเหลี่ยมฟัดกระชากตี พวกนี้ชอบมวยตีน  (ลูกเตะ)  เดินหน้าเข้าดีตลอดห้ายก )  

      ..และมวยโคราช อาศัยท่าคุมที่ยืดตรง  สุขุม มีลูกอดทน ห้าวหาญ ชอบเดินก้าวสืบเท้านำเข้าแลก มีหมัดเหวี่ยงควายและการเตะที่หนักหน่วง เป็นอาวุธสำคัญ..(เคยชกกับมวยแบบนี้มันมาก ประเภทรถถังประจันบาน  ถ้าไม่แข็งจริงชนะเขายาก ) 

      ลุงวี  ลูกราชบุรี  ยังให้ทัศนะไว้อีกว่า   "

      แต่ในปัจจุบันนี้ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาวิธีการต่อสู้ของมวยไทยกว้างขวางมากขึ้น จากการเฝ้าติดตามดูการชกมวยไทยอาชีพ ผ่านเวทีถ่ายทอดทางทีวี..สังเกตุว่า มวยที่มีภูมิลำเนาเกิดในภาคกลาง ไม่ว่าจะไปอยู่ค่ายไหน..ใจไม่นิ่ง..ดีต้นยก..มวยภาคเหนือ เน้นลูกแข็งแรง เดินแลก ชอบทวนเชิงคู่ชก..มวยภาคใต้ ชอบใช้ชั้นเชิง มาดดี แต่ลูกแก้และใจยังขาดๆเกินๆ..ส่วนมวยภาคอีสานและภาคตะวันออกดีขึ้นมากทั้งรูปแบบ จิตใจ ความพร้อมของร่างกาย..
    และที่แปลกมากคือ ฝ่ายที่มีเทรนเนอร์ที่มาจากยอดมวยไทยในอดีต ส่วนใหญ่มักจะแพ้..ไม่ทราบเพราะอะไร?.."

       จุดสัมผัสที่ได้กับตัวเองเมื่อสมัยยังชกมวยอยู่  ยอมรับว่า  จริง...๑๐๐ %

        ลุงวีนี้  เก่งมาก  พบกันคราวหน้า ต้องมีของฝากไปให้

 

คำสำคัญ (Tags): #มวยไทย
หมายเลขบันทึก: 384092เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2010 01:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบคุณท่าน ศน.ทศพล มากครับ สำหรับการถ่ายทอดประสบการณ์จริงบนเวทีให้ผู้ที่มีจิตสำนึกภาคภูมิใจในความเป็นไทย..บุรพาจารย์มวยไทย ในอดีต ได้เหนื่อยากต่อการพร่ำฝึกสอนอบรมบ่มเพาะสิ่งที่มีคุณค่าสูงยิ่งนี้ไว้ให้ลูกหลานไทย..ด้วยท่านสำนึกดีว่า แผ่นดินขวานทองนี้ มีคุณค่าอย่างมหาศาล เป็นแดนทองที่ลูกหลานจะได้อยู่กันอย่างมีความสุข..จึงจำต้องเรียนรู้ศิลปศาสตร์ที่ดีที่สุดไว้ป้องกันรักษามาตุภูมินี้ไว้..มิให้ ไอ้ อี หน้าไหนมาเข้าครอบครองได้..แต่ น่าอนาถนักที่บัดเดี๋ยวนี้ จะเหลียวหน้าไปทางไหน ก็ มีแต่ความวังเวง วิเวก วิเหว๋โหว๋..เฮ้อออออ...ขอให้ท่านรักษาสุขภาพด้วยครับ..คิดถึงเช่นกัน..

ซวด ซวด..

สวัสดีค่ะ อาจารย์

ครูอ้อย ต่อยมวยไม่เป็น แต่ ชอบดูมวย

Mamm123

http://gotoknow.org/blog/pandin/322248

ฉันรักเธอ
เธอเลิศเลอกว่าใครอื่น
เธอเป็นโมงยามอันหวานชื่น
ปลุกให้ฉันระริกรื่นเสมอมา


เธอก็รักฉัน
แม้บางครั้งดูเหมือนว่า
ฉันละเลยและเฉยชา
แต่เธอกลับยิ้มร่าต่อความรัก


 

ขอให้วันนี้ เป็นวันแห่งชีวิต...นะครับ

 

ลุงวี ครูอ้อย และคนของแผ่นดิน

วันแม่  ปีนี้ ขอให้ท่านทั้งสามจงมีความสุข  กุศลใด ความกตัญญูกตเวทีใดที่ท่านสร้างสมต่อคุณแม่ โปรดเป็นพลานิสงฆ์ให้ทุกท่านพบกับความสุข ความเจริญเทอญ

 

ตามมาจากบันทึกลุงวี ราชบุรี กำลังศึกษาเชิงมวยไชยาและมวยท่าเสา ครับ เผื่อเอาไปประยุกต์สอนนักเรียนได้ เย้ๆๆ

ดีครับ ท่านร่างกายยังดี แต่อย่าโหม เดี๋ยวเป็นอย่างผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท