อ.ผัก
อาจารย์ พท. ศุภฤกษ์ ภมรรัตนปัญญา

อารยธรรมพุทธศาสนา : ตอน ภูมิศาสตร์โดยทั่วไปของทิเบต


อารยธรรมพุทธศาสนา : ตอน ภูมิศาสตร์โดยทั่วไปของทิเบต

อารยธรรมพุทธศาสนา :  ตอน ภูมิศาสตร์โดยทั่วไปของทิเบต

                                                                  โดย  ศุภฤกษ์ ภมรรัตนปัญญา

                

        ทิเบตเหมือนดินเเดนในฝัน มีความมหัศจรรย์หลายอย่าง เป็นอู่อารยธรรมเเละดินเเดนเเห่งพระพุทธศาสนา ชาวทิเบตซึมซับเอาศาสนาเข้าวิถีชีวิต  เเม้จะมีอุปสรรคด้านสภาพภูมิอากาศ เเละสภาพเเวดล้อมอื่นๆ  เเต่ดูเหมือนชาวชาวทิเบตจะไม่ใส่ใจมากนัก นี้คือความเป็นทิเบต มีคำกล่าวขานว่า " นี้แหละคือสะดือโลก " นี้เเหละคือศูนย์กลางของจักรวาล "
       ตำนานโบราณบอกว่า ดินเเดนทิเบต  อยู่ใต้ทะเลมาก่อน ต่อมาผุดขึ้นมาเหนือน้ำทะเล ปกคลุมด้วยป่าไม้เเละสัตว์ป่า กลายสภาพเป็นทิเบตในปัจจุบัน มีการสำรวจทางธรณีวิทยา บนเทือกเขาชิสสาปังเเละตูลัง บริเวณเทือกเขาหิมาลัย พบซากสัตว์จำพวกปลาทะเล หรือ สัตว์น้ำลึก บางตำนานบอกว่า " เทือกเขาหิมาลัยเเละที่ลาบสูงทิเบตเกิดขึ้นประมาณ ๔ ล้านปีมาเเล้ว " ความจริงน่าจะเป็นเช่นนั้นเพราะ " ที่สูงที่สุดเหนือระดับน้ำทะเลใบปัจจุบัน ครั้งอดีต คือ ทีที่ต่ำที่สุดจากระดับน้ำทะเล " เเต่ทางหลักธรณีวิทยานั้นเป็นเพียงการพลิกกลับตัวของเปลือกโลกเท่านั้นเอง 

       ทิเบตเป็นต้นกำเนิดเเม่น้ำสายสำคัญ เช่น เเม่น้ำพรหมบุตร เเม้น้ำเเยงซี เเม่น้ำโขง เเม่น้ำสาละวิน เเละมีทะเลสาบอีก ๔ เเห่งด้วยกัน มันวิเศษมากครับถ้าใครได้ไปพบเจอมันด้วยตาของเราเอง อาณาเขตของทิเบตติดกับประเทศต่างๆดังนี้ 
        ทิศตะวันออก ทิศเหนือ เเละทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศจีน
        ทิศตะวันตก ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ติดประเทศอินเดียเเละเนปาล โดยมีเทือกเขาหิมาลัยกั้น ส่วนทิศใต้ ติดประเทศสิกขิม ภูฎาน อินเดีย เเละพม่า 
        ด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ดังกล่าว เป็นผลทำให้ทิเบตเป็นเเหล่งนำเข้าวัฒนธรรมจากหลายประเทศ เเต่วัฒนธรรมที่เด่นมี ๒ สาย คือ จีนกับอินเดีย 
       ทิเบตเป็นจุดรวมของวัฒนธรรมที่น่าสนใจเลยทีเดียวครับ สำหรับตอนต่อไป จะนำเอาเรื่องการเมืองที่น่าสนใจของทิเบตมาฝากกันครับ                          
หมายเลขบันทึก: 384083เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2010 00:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2014 07:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีครับคุณ หลวง

ขอบคุณที่นำเรื่องราวของทิเบต รากประวัติศาสตร์ มาให้เรียนรู้

ติดตามลำดับญาติของตำแหน่งองค์ละไดลามะ แล้วยังสับสนครับ ต้องทบทวนอ่านอย่างตั้งใจ จึงได้คิดตามเห็นทาง

ใน ทิเบต มีอะไรแปลกๆน่าสนใจ มากมายครับ เช่นกินวัวดีกว่ากินปลา เป็นต้น

สวัสดีครับคุณตาวอญ่า

    ทิเบตเป็นดินเเดนที่น่าสนใจมากครับ  น่าไปเป็นอยา่งยิ่ง

สวัสดีครับคุณศุภรักษ์

        ใช้เเล้วครับ เป็นเมืองที่วิเศษ น่าหลงไหลมาก

สวัสดีค่ะท่านหลวงเวชการ

ภาพสวยงามมากๆ แค่เกริ่นนำก็ชวนติดตามแล้วนะคะ ภาพแรกคืออะไรเอ่ย ขอบคุณค่ะ

เรียน คุณหลวงเวชการ

ไม่ทราบว่าภาพกงล้อทิเบต ได้มาจาก www.samplepete.com หรือเปล่าคะ...พอดีดิฉันเป็นเจ้าของภาพ ขอความกรุณาลงเครดิตอ้างอิงเวปใต้ภาพได้หรือไม่คะ...พอดีภาพนี้เราอนุญาตให้ใช้เพื่อการศึกษาแต่ขอความกรุณาอ้างอิงให้ซักนิดนะคะ...ขอบคุณมากค่ะ

ฮั่นแน่คุณหลวงแอบไปเที่ยวธิเบตมาเมื่อไรนี่

ไม่ชวนกันเลย

คุณ poo ภาพแรกมีชื่อเรียกว่า กงล้อสวดมนทิเบต หรือ prayer wheel ตยทิเบตนิยมใช้สำหรับสวดมนต์หรือทำสมาธิ เมื่อนั่งปฏิบัติจะบริกรรมคาถาว่า โอม มณี ปัด เม ฮุม แล้วหมุนทวนเข็มนาฬิกา ด้านในกงล้อกลมด้านบนจะมีบทสวดคาถาดังกล่าว 108 จบ เป็นกระดาษอยู่ด้านในค่ะ

เรียนคุณ  samplepete

        เป็นภาพที่นำมาประกอบการเขียนบทความครับ เเต่ถ้าไปตรงกับทางเวปของคุณเดียวผมทำการเเก้ไขให้ครับ เพราะ ทางเจ้าหน้าที่เป็นคนเอามาให้ ผมเลยไม่ทราบว่าเอามาจากเวปไหน ขอประทานโทษด้วยครับ

สวัสดีครับอาจารย์ โสภณ

     พอดีไปเก็บข้อมูลเพือนำมาประกอบการเขียนหนังสือครับ เลยไปเเบบเร่งรีบไว้โอกาสหน้าไปอีกครั้ง จะเรียนเชิญนะครับ อาจารย์

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท