นักจิตวิทยาอีกกลุ่มหนึ่งมีความคิดแตกต่างออกไปจาก Structuralism คือ คิดว่า เนื้อหาของจิตวิทยาไม่ใช่การค้นหาโครงสร้างของจิต หรือตัวจิต แต่ควรศึกษา หน้าที่ของจิต เพราะว่า คนหรือสัตว์ จะต้องแสดงกิจกรรมตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมที่เผชิญอยู่ตลอดเวลา เพื่อการเอาตัวรอด และจิตจะต้องมีบทบาทในเรื่องนี้ ดังนั้น เราจึงควรศึกษากิจกรรมของจิต หรือ หน้าที่ของจิต จึงได้ประกาศตั้งชื่อกลุ่มว่า หน้าที่นิยม หรือลัทธิหน้าที่ (Functionalism) บุคคลสำคัญของกลุ่มนี้คือ William James (1842 - 1910) และ John Dewey (1859 - 1952) ทั้งสองเป็นชาวอเมริกัน
เพื่อให้เป็นไปตามชื่อของกลุม กลุ่มนี้จึงเน้นศึกษาเรื่อง Learning, Perception, Thinking, Emotion เป็นต้น
Functionalism มีอิทธิพลอย่ในอเมริกาประมาณช่วง 1920 - 1930
ขอให้สังเกตว่า อเมริกาเขา Export ความรู้ ดังนั้น อิทธิพลเหล่านี้จึงมิใช่มีแต่ในอเมริกาเท่านั้น แต่ยังแผ่ขยายออกไปยังประเทศอื่นๆ ที่ส่งคนไปศึกษาในอเมริกาด้วย ดังเช่นประเทศไทยเป็นต้น ในช่วงราว ๕๐ ปีมาแล้ว ชื่อของ John Dewey อยู่ที่ริมฝีปากของนักการศึกษาไทยหลายคน
ผมนำเรื่องนี้มาบันทึกไว้ ก็เพื่อกันลืมว่า การศึกษาเรื่องจิตโดยใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์นั้น มีมานานแล้ว
เอมิล เดอไคม์ เป็นนักคิดทฤษฎีทางด้านมานุษยวิทยาได้อย่างไร
รู้สึกดีใจครับที่ คุณพัชรี อภิวงศ์ และคุณคนชายขอบที่ แวะมาทักทาย และขออภัยครับที่ผมเข้ามาดูช้าไปหลายวัน
คุณพัชรี กรุณาเขียนชื่อ เอมิล เดอ ไคม์ กำกับเป็นภาษาอังกฤษด้วยครับ และคำถามก็ไม่ทราบว่าพิมพ์คำอะไรตกไปบ้างหรือเปล่าครับ จึงทำให้ผมเข้าใจได้ยากจริงๆ กรุณาแก้ไขให้ชัดขึ้นได้ไหมครับ
ไม่ได้เจอคุณชายขอบเสียหลายวัน คงจะงานยุ่ง ผมเองก็ว่างเว้นไปบ่อยๆ ก็เหตุผลเช่นเดียวกันครับ ดูคุณชายขอบสนใจหลากหลาย คนที่อัจฉริยะหลายด้านก็เป็นเช่นนี้แหละ
อยากทราบหน้าที่ของจิตน่ะค่ะ
ว่ามันมีต่อป่าวคะ
มันสั้นเกินไปอ่ะค่ะ
ช่วยเอามาแบบยาวๆๆได้ไหมคะ
ถ้าได้จะขอบคุณมากเลยค่ะ