เมื อปี 2545 ข้าพเจ้า นายสุวิชัย จงหวัง ขณะนั้นได้ดำรงตำแหน่งวิศวกรโยธา 6 สังกัดสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับการแต่งตั้งให้ควบคุมงานโครงการปรับปรุงบริเวณทางเข้าสถาบันราชำฎสุราษฎร์ธานี ซึ่งเมื่อเข้าสำรวจพื้นที่ทางเข้าถนนเดิมเป็นถนนลาดยางกว้างประมาณ 10.00 เมตร โดยจะเปลี่ยนเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กกว้าง 20.00 เมตร หนา 0.20 เมตร มีท่อระบายใต้ทางเท้าทั้งสองข้าง ปัญหาที่เกิดนั้นก็คือ ผู้รับจ้างได้แจ้งว่าไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน เพราะด้านข้างถนนเดิมทั้งสองฝั่งเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ ประกอบกับทางมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี ได้กำหนดวันแล้วเสร็จของสัญญาไว้ในเดือน เมษายน พ.ศ.2546 เพื่อให้ทันวันเปิดเรียน ข้าพเจ้าได้ประชุมผู้รับจ้างว่าจะแก้ปัญหาดังกล่าวนั้นอย่างไร ผลลัพธ์คือให้ผู้รับจ้างใช้ทรายถมมาแทนดินลูกรังเนื่องจากทรายไม่บวมตัว น้ำซึมผ่านได้ดีแต่ราคาจะสูงกว่าดินถม และได้รับความร่วมมือจากผู้รับจ้างได้เป็นอย่างดี ดำเนินการก่อสร้างถนนทางเท้า ป้ายมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งข้าพเจ้าได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยือนมหาวิทยาลัยฯ และเข้าประตูด้านหน้าพบว่า ยังใช้การได้ดีเยี่ยมมีปรับปรุงภูมิทัศน์ให้เกิดความสวยงาม นี่แหละคือปัญหาที่เกิดขึ้นแต่การแก้ไขปัญหาทางด้านวิศวกรรมที่ถูกวิธี สามารถเป็นองค์ความรู้ให้บุคคลอื่นนำไปแก้ปัญหาที่เหมือนกันได้ต่อไป
ขอปรบมือให้นะครับ น่าจะต้องแนะนำให้เป็นเรื่องเล่าที่สกัดมาจากประสบการณ์การทำงานจริง ที่ควรเป็นแบบอย่างและเผยแพร่ให้ส่วนราชการอื่นๆที่มีภารกิจใกล้เคียง ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันนะครับ แต่มีข้อแนะนำเล็กน้อย น่าจะเปลี่ยนคำหลักของบันทึกนี้ (เข้าไปแก้ไขในบันทึก) เป็นขุมความรู้จากประสบการณ์นะครับ จะทำให้สอดคล้องกับเนื้อหาของบันทึก และช่วยแจ้งผู้เขียนบันทึกอื่นๆให้ใส่คำหลักด้วยครับ
พรสกล ณ ศรีโต
13/9/2548