ทลายกำแพง"รุมทึ้ง"ชุมชน


ชุมชนจะเหลืออะไร?

อ.วิจารณ์ พานิช สรุปข้อจำกัดของหน่วยงานราชการที่ทำงานสนับสนุนชุมชนซึ่งเป็นประเด็นควรรู้ใน http://gotoknow.org/archive/2005/09/13/05/16/06/e3807
การจะปรับเปลี่ยนให้หน่วยงานทำงานร่วมกันไม่ใช่เรื่องง่าย
เกษตรตำบลทำงานผ่านศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและหน่วยงานภายใต้การจัดตั้งคือ กลุ่มส่งเสริมการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร
พัฒนาชุมชนทำงานผ่านศอชต.และหน่วยงานภายใต้การจัดตั้งคือ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กขคจ.และกองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น
กศน.ทำงานผ่านกลุ่มอาชีพและกลุ่มนักเรียนนอกโรงเรียน เป็นต้น
สาธารณสุขทำงานผ่านเครือข่ายอสม.
พมจ.ทำงานผ่านอบต.และกรรมการครอบครัวเป็นสุข(อุดหนุนทุน20,000 บาท)
ธกส.ทำงานผ่านกลุ่มลูกค้า
ต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างนัดผู้นำชุมชนมารับฟังคำชี้แจงเพื่อนำข้อมูลความรู้ไปขยายผล
องค์กรพัฒนาเอกชนและโครงการวิจัยของสถาบันการศึกษาก็ทำเช่นเดียวกัน
แล้วชุมชนจะเหลืออะไร?

ยุทธศาสตร์จัดการความรู้ผ่าน

ระบบมาตรฐานชุมชน(มชช.)ของพช.
การรับรองสถานะภาพองค์กรชุมชนของพอช.
การจัดการความรู้โรงเรียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร
การพัฒนาเครือข่ายอสม.เข้าถึงครัวเรือนของสาธารณสุข
และการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของกศน.
รวมทั้งภารกิจของหน่วยงานอื่น ๆโดยเฉพาะอปท.

ใช้หลักสูตรนักจัดการความรู้
1)
คุณเอื้อ สำหรับผู้บริหารของแต่ละหน่วยงาน
2)คุณอำนวย สำหรับผู้ปฏิบัติงานสนับสนุนชุมชน
3)คุณกิจ สำหรับผู้นำชุมชน
เป็นเครื่องมือบูรณาการการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อนำไปสู่เป้าหมายความเข้มแข็งของชุมชนโดยใช้การจัดการความรู้เชิงพื้นที่ระดับตำบลเป็นฐานดำเนินการหลัก

สถาบันอุดมศึกษาน่าจะทำภารกิจนี้ได้ดีที่สุด

หมายเลขบันทึก: 3829เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2005 13:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท