๔.UKM18 : โอกาสพัฒนาการเรียนรู้ของพลเมือง : Life-Long Learning Space ในที่พักผู้ร่วมเวที


ในการจัดที่พักอำนวยความสะดวกผู้เข้าร่วมประชุม เวทีเครือข่ายจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย UKM-18 ในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามผู้เป็นเจ้าภาพ ได้จัดให้ที่โรงแรมตักศิลา ซึ่งเป็นแห่งเดียวกันกับที่พักเมื่อครั้งมหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นเจ้าภาพ UKM-3 / 2549 เมื่อปี ๒๕๔๙

การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมของโรงแรมบางแง่มุมนั้นก็ให้ความคิดดีๆไปด้วย  เช่น การสะท้อนแนวคิดที่ให้ความสอดคล้องกลมกลืนกับกลุ่มผู้ใช้บริการซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการ ข้าราชการ ที่เป็นผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาของหน่วยงานและสถาบันการศึกษาต่างๆ ในจังหวัดมหาสารคาม รวมทั้งเป็นการให้ความหมายใหม่ๆของการตบแต่งภายในของพื้นที่ใช้สอยที่มีความเป็นวิชาการ และสร้างโอกาสพัฒนาการเรียนรู้ของพลเมือง

การจัดแสดง Specimen ปูเจ้าฟ้า และศิลปะการเป่าแก้วเรือสุพรรณหงษ์ มีแผ่นแสดง Label เพื่อเป็นข้อมูลให้การเรียนรู้แก่ผู้เข้าพักในบริเวณที่นั่งพักชั้นล่างของโรงแรม

มุมหนังสือและการอ่าน จัดหนังสือสารานุกรมฉบับภาษาอังกฤษ และหนังสืออื่นๆ เช่น สารคดี วรรณกรรม และวารสาร ผู้เข้าพักสามารถนำไปนั่งอ่านตามที่นั่งและมุมพักผ่อนซึ่งจัดไว้มากพอสมควร

รูปแบบดังกล่าว นอกจากเป็นองค์ประกอบศิลปะของการตบแต่งและจัดสภาพแวดล้อมให้กลมกลืนกับความเป็นแหล่งบริการกลุ่มผู้ใช้บริการซึ่งมีความเป็นคนทำงานวิชาการแล้ว ก็ให้แนวคิดที่น่าสนใจสำหรับการจัดพื้นที่สำหรับการอ่านและการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ซึ่งในองค์กรธุรกิจเอกชนนั้น ก็นับว่ามีความเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่แสดงถึงความเป็นองค์กรที่ใส่ใจและร่วมรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR : Corperate Social Responsiblity รูปแบบหนึ่ง.

............................................................................................................................................................................

บันทึก UKM-18 มีทั้งหมด ๑๐ ตอน ตอนที่ท่านอ่านและชมนี้ เป็นตอนที่
ตอนที่ ๑  คุณภาพการศึกษาสู่การเรียนรู้และการพัฒนาชุมชน
ตอนที่ ๒  มิติจัดการความรู้ที่ให้ประสบการณ์ชีวิตและประสบการณ์ทางสังคมแก่เด็กๆ
ตอนที่ ๓  จัดการความรู้สื่อและเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อเสริมพลังภูมิปัญญาปฏิบัติ
ตอนที่ ๔  โอกาสพัฒนาการเรียนรู้ของพลเมือง : Life-Long Learning Space ในที่พักผู้ร่วมเวที
ตอนที่ ๕  เพิ่มโอกาสเข้าถึงและบ่มสร้างการมองโลกด้วยศิลปะ
ตอนที่ ๖  จัดการความรู้สร้างแหล่งเรียนรู้ปูมเมืองและมุมสร้างประสบการณ์ภายใน
ตอนที่ ๗  ถ่ายรูป Documentation ยุค Digital/Computer-Based ต้องพัฒนาแนวคิด ปฏิรูปความรู้และวิถีปฏิบัติ
ตอนที่ ๘  เครือข่ายจัดการความรู้กับทางรอดและโอกาสพัฒนาของสถานศึกษาขนาดเล็กในชุมชน
ตอนที่ ๙  ทำหน่วยประสบการณ์ชุมชนให้เป็นฐานการเรียนรู้บูรณาการอย่างเบ็ดเสร็จ
ตอนที่ ๑๐ สรุปบทเรียนและการสะท้อนความคิด พลังเครือข่ายจัดการความรู้มหาวิทยาลัยไทย

หมายเลขบันทึก: 382438เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2010 01:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท