ครบเครื่องเรื่องวิทยากร....นักบรรยายไม่ควรมองผ่าน


ครบเครื่องเรื่องวิทยากร....นักบรรยายไม่ควรมองผ่าน ต้องสะสมศึกษานำพาใช้

         ครบเครื่องเรื่องวิทยากร....นักบรรยายไม่ควรมองผ่าน

          สวัสดีครับ  วันนี้ได้อ่านบทความบันทึกของสมาชิกท่านหนึ่ง  ท่านมีอาชีพค่อนข้างจะหนักไปทางเป็นวิทยากรบรรยาย  ท่านเล่าว่าผู้ใหญ่กับเด็กในการฟังใครแย่กว่ากัน  ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านการบรรยายครับ  แต่อ่านแล้วก็อยากจะแสดงความคิดเห็น  เป็นความคิดเห็นที่เป็นส่วนตัวไม่ได้อ้างอิงวิชาการให้อ่านกันเล่น ๆ  ครับ

           รายละอียดผมจะเน้นที่บอกว่าเวลาบรรยายแล้วคนฟังไม่ฟัง คุยบ้าง รับโทรศัพท์บ้าง เล่นเกมที่โทรศัพท์บ้าง  นอนหลับบ้าง เด็กฟังตั้งใจกว่าผู้ใหญ่ ทำไมปัญหาจึงเป็นอย่างนี้ อย่างนั้น  ก็เลยถือโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันนะครับ

           การรับฟังการบรรยายครับ   ถ้าผมบรรยาย  ผมสมมุติเอานะครับ  มีคนฟังสร้างปัญหา ผมจะบรรยายไปพลางคิดวิธีแก้ไปพลาง ผมยกตัวอย่างขณะบรรยายมีคนรับโทรศัพท์ถึงแม้เราไม่ได้ยินเสียงพูดของเขาก็ตาม เราก็บอกว่า  ผมขออนุญาตครับเนื่องจากมีท่านหนึ่งกำลังรับสายโทรศัพท์  เดี๋ยวท่านจะมีเสียงจากผมไปรบกวนท่าน   ให้ท่านรับโทรศัพท์ให้จบก่อนแล้วจะบรรยายต่อเดี๋ยวท่าท่านจะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ในการพูดคุย จึงขอหยุดบรรยายนิดหนึ่งครับ หรือขณะบรรยายฟังกันเงียบ ๆ มีเสียงสัญญานโทรศัพท์ดังขึ้น  ก็พูดให้เจ้าของโทรศัพท์สายและบอกว่าขอหยุดชั่วครู่  เจ้าของโทรศัพท์จะกดทิ้งทันทีไม่รับสาย

        แต่ถ้าเขาเขารับสาย  ผมหยุดบรรยาย  สายตาทุกคู่ก็จะมุ่งไปที่คนพูดโทรศัพท์  คนที่โทรศัพท์ก็จะตกใจและวางสายในทันที    หลังจากนั้นบรรยายไปอีกกี่ชั่วโมงก็ตามจะไม่มีใครผู้ใดหาญกล้ารับโทรศัพท์อีกเลย  คนที่คุยก็ทำในลักษณะเดียวกัน  แต่อย่าลืมเราไม่แสดงอาการความไม่พอใจให้ปรากฏ เราจะทำเสมือนเราให้เกียรติเขาเต็มที่  ทำนองว่าไม่ล่วงละเมิดสิทธิมนุษย์ชนกันเลยครับ  เรายิ้มตลอดเวลา  แต่การพูดเราต้องประเมินตนเองด้วย เราพูดเราบรรยายไม่ได้เรื่อง ผู้ฟังก็เริ่มคุย  ผลการประเมินจะออกมาทันทีว่า ว่าตัวเราเองผิด ความผิดอยู่ที่ตัวเราเองผู้บรรยาย  เราต้องแก้ไขวิธีการบรรยายในทันที  ถ้าปล่อยไว้คนฟังเราพูดไม่ได้อะไรกลับไปเลยทั้ง ๆที่มีพวกอยากได้  แต่เราคนบรรยายเสียหมด  เสียคน เสียชื่อ บรรรยายไม่ได้เรื่องเปลืองเวลาเปล่า ซ้ำร้ายไม่มีใครเชิญให้ไปบรรยายอีกต่างหาก

         เสียดายวิทยากรความรู้ดีต้องมาตายเพราะรอให้ผู้อื่นประเมินซึ่งผลจะออกมาตอนบรรยายจบ  แต่ถ้าพูดไปประเมินไป  แก้สถานการณ์ไปอย่าให้เขารู้ว่าเรากำลังทำหน้าที่หลายอย่างขณะบรรยาย   เหมือนเราเป็นนักบินกำลังพาผู้โดยสารไปสู่จุดหมาย  แต่ผู้โดยสารพอเครื่องบินเหินฟ้าก็สร้างความวุ่นวาย  เครื่องยนต์ก็มีปัญหา  เราก็จะไม่บอกให้รู้   เราก็แก้ปัญหาขณะแก้ปัญหาเครื่องก็ย่อมลดสมรรถภาพในการบินคือดิ่งลงอย่างเดียว   ผู้โดยสารจะรู้โดยสันชาติญานขึ้นมา  ก็จะตกใจ     เราก็แก้ปัญหาอยู่ตลอดอย่าตกใจ   ถ้าเราแก้ปัญหาสำเร็จ  เราก็จะนำเครื่องเชิดขึ้นได้อีกครั้ง  เราก็จะได้รับความชื่นชมจากผู้โดยสารและได้รับการยกย่องจากคนทั่วไปด้วย

         ผมว่าการเป็นวิทยากรนั้นตีได้หลายแง่มุม   แต่การเป็นวิทยากรที่ไม่ครบเครื่องเรื่องวิทยากร  สร้างปัญหาให้กับวิทยากรเสมอ    คนไม่ฟังก็ทำให้เขาฟังไม่ได้  เราวิทยากรต้องเป็นผู้แก้  เราแก้ได้โดยไม่มีความผิดอะไรเลยเพราะเราถูกมอบหมายให้พูด   แล้วทำไมเราไม่พูดในลักษณะแก้ไขให้เขาฟังเราให้ได้

         โดยสรุปที่ยากก็คือเรื่องที่บรรยายนั้นเรารู้ลึกนาดไหนเราเข้าใจบทบาทของวิทยากรได้ขนาดไหน เราวิเคราะห์ผู้ฟังได้ทะลุที่จะแก้ปัญหาในการพูดในการฟังของเขาได้ผลเพียงใดถูกต้องหรือไม่ต่างหาก

         ที่ว่ามาทั้งหมดนี้ผมไม่ได้เป็นวิทยากรอาชีพนะครับแค่ร่วมเสวนากับชาวบ้านบ่อย ๆ และชาวบ้าน ๆนี่นะครับเรื่องไม่ฟังไม่ร่วมมือทำกิจกรรมที่กำหนดเป็นเรื่องปกติ  แต่ในวงเสวนาถ้ามีใครแก้สถานการณ์ได้สักคน  วงเสวนานั้นก็จะเป็นไปตามปกติได้ เพราะแก้ครั้งแรกแล้วจะไม่ต้องแก้ครั้งต่อไป  และผมมักจะเป็นผู้แก้สถานการณ์เสมอในตอนเริ่มแรก  ต่อมาเขาเกิดการเรียนรู้ซึมวับการให้เกียรติซึ่งกันเพิ่มขึ้น  วงเสวนาก็มีคุณค่าไม่เสียเวลาเปล่า แถมได้พัฒนาทุนมนุษย์เติมเต็มได้มากว่าอีกด้วย

หมายเลขบันทึก: 381863เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2010 07:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 18:34 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะ

  • หลานอ่านแล้ว ได้รับประสบการณ์มากเลยค่ะ ในคราวที่จะเป็นวิทยากร  จะนำไปใช้ให้เกิดผล  หากเป็นอย่างไร จะนำมาเล่าให้อ่านนะคะ
  • ขอบคุณ ลุงมากเลยค่ะ  หลานไปสอนก่อนนะคะ

สวัสดีครับหลาน   ขอบใจที่จะนำไปใช้ แต่จะใช้ให้ได้ผลต้องยิ้มไว้ทุกครั้ง  จะไม่เกิดผลกระทบทางลบ  มันยังมีอีกหลายวิธี แต่ก่อนใช้ทุกครั้งต้องวิเคราะห์ให้ดีก่อนว่าเกิดผลทางบวกหรือทางลบ  ถ้าได้ผลก็เป็นความสามารถสุดยอดของหลานละครับ

สวัสดีครับท่าน ธนา ดึกๆลุกขึ้มาสนทนา เพราะว่าเราหม้ายมียางให้ตัด ฮา

เข้ามาอ่านบันทึกนี้แล้วได้ปัญญา ได้วิชา ที่กินได้ วิชาว่าด้วยการแก้ปัญหา การจัดการเวทีผู้ฟังทำให้สะดุด

ชอบมาก กับวิธีการที่ท่านหยุดพูดให้เขาคุยโทรศัพท์ให้เสร็จ ผมนึกถึงบรรยากาศในเวที คนที่ทำแบบนี้ได้ สีหน้าท่าทางต้อง

บ่งบอกว่าเต็มใจฟังคนโทรศัพท์ ผมนึกถึงหน้าอาจารย์ นิรัตน์ จรจิตรในการ จัดการครับ ผมเป็นคนงานทำความสะอาด ที่รพ

.

เขียนป้ายบอกแล้ว ว่าอย่าทิ้งขยะ บอกทุกคนที่มานั่งให้ช่วยกันรักษาความสะอาด แต่ขยะยังมีให้เห็นทั้งวัน

มีอยู่วันหนึ่งผมหวิบมากที่แหลงไม่รู้ฟัง ผมหยิบไม้กวาด แล้วไปยกมือ ไหว้ หยะ แล้วยกมือไหว้คนที่นั่งบริเวณนั้น

แล้วบอกว่า" ขอบคุณที่เติ้นช่วยให้ผมมีงานทำ ขอบคุณหยะที่ทำให้ผมมีกิน นี้ถ้าไม่มีหยะ ผมเขายิกออกแล้ว" เพราะไม่ที่ให้อะไหร

เหลือเชื่อ หลังจากนั้นบริเวณนี้ญาติคนไข้เอาไม้กวาดไปกวาดเองครับ

สวัสดีครับ  ผมเพิ่งเป็นครั้งแรกที่ตื่น ตี 2 กว่า ๆ คืนนี้ ก็เลยได้มีโอกาสมาเยี่ยมในชุมชน   การทำอะไรก็ตามอยู่ที่การคิดครับ  ดูอย่างได้ข้อสรุปการยกมือไหว้มีค่าเสมอ  ถ้าเราไม่ทำอะไรเลยนิสัยเดิม ๆ ของคนก็ไม่เปลี่ยน  ขอบคุณที่เข้ามาอ่านแล้วแหลงใต้ไว้ครับหลายคำ  ขอบคุณ

  • สวัสดีค่ะ ดิฉันทำอย่างนี้ค่ะ
  • ไม่บรรยายยาว แต่จัดกิจกรรมให้ผู้ฟังได้มีส่วนร่วม
  • ไม่นั่งกับที่  แต่เดินไปคุยกับผู้ฟัง สังเกตผู้ฟัง  ใครวอกแวก ไม่จี้ตอนนั้นค่ะ  เพราะเป็นการฉีกหน้าให้เขาอาย (ดิฉันขี้เกรงใจคนค่ะ) แต่จะเดินไปขอความเห็นในภายหลัง ใช้ยุทธวิธีดึงมาเป็นแนวร่วม ซึ่งได้ผลค่ะ
  • วิทยากรที่ดีต้องเตรียมพร้อมมากกว่าที่พูดค่ะ ดิฉันถือหลักว่า  "สอน ๑ ต้องรู้ ๑๐๐" ค่ะ
  • ที่สำคัญมากคือ  วิทยากรต้องรู้จริงในสิ่งที่พูด  ไม่ใช่อ่านมาพูด  เวลาฟังบรรยายเราจะประเมินได้ว่าเขารู้จริงหรือไม่ ตอนที่ตอบคำถามค่ะ  แต่ต้องเป็นคำถามในระดับ "ประยุกต์ใช้" ค่ะ  ไม่ใช่ถาม "องค์ความรู้"
  • ดิฉันเป็นนัก "ตามฟัง" มาตั้งแต่สาวจนแก่ก็ยังสนุกที่จะเป็นผู้ฟัง (เรื่องดีๆ วิทยากรดีๆ) แต่หมดสนุกที่จะเป็นวิทยากรแล้วค่ะ
  • ฝากความไปถึง ลุงวอญ่า ตรงนี้นะคะ  ผมหวิบมากที่แหลงไม่รู้ฟัง ลุงเขียนแบบ "ได้ยินเสียง" จริงๆ ค่ะ ฮ่า...ฮ่า...ฮ่า...ชอบ ชอบ

ขอขอบคุณท่านธนา ที่แวะไปเยี่ยมและชม งานที่ได้ถ่ายทอดไว้ ได้กลับมาชื่นชมงานที่ท่านธนา ถ่ายทอดไว้เช่นกัน ผมขอนำเอาเรื่องราวที่เป็นมุมมองจากท่านธนา ไปใช้ประโยชน์ เวลาให้ความรู้ในห้องเรียนรู้ จะได้นำเอาเรื่องเล็กๆ น้อยๆ นี้ไปปฏิบัตินะครับ

สวัสดีครับ

มาเยี่ยม มาเรียนรู้ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท