การดูแลด้านร่างกายและจิตใจในผู้ป่วยโรคเอดส์


โรคเอดส์, การดูแลด้านร่างกายและจิตใจ

 

   ผู้ติดเชื้อเอชไอวี  และผู้ป่วยเอดส์จะมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้านทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม โดยเฉพาะในระยะแรกที่ทราบว่าตนเองติดเชื้อเอชไอวี  มีผลให้เกิดความรู้สึกเปลี่ยนไปในทางลบที่จะส่งผลกระทบต่อตนเองและบุคคลใกล้ชิด  เช่น  สมาชิกในครอบครัว เพื่อน ซึ่งอารมณ์ความรู้สึกเหล่านี้ ได้แก่

              

  • ภาวะช็อคและปฏิเสธ  รู้สึกสับสน ตกใจ ไม่เชื่อว่าตนเองติดเชื้อเอชไอวีหรือป่วยเป็นโรคเอดส์

  • กังวลและกลัวว่าจะต้องเป็นภาระของผู้อื่น กลัวถูกรังเกียจ และถูกทอดทิ้ง กลัวตาย

  • ละอายใจ  เนื่องจากคิดว่าเป็นคนไม่ดี ทำให้ครอบครัวเดือนร้อน

  • โกรธและก้าวร้าว  เนื่องจากถูกรังเกียจ ถูกตำหนิ นินทา  ไม่ได้รับการช่วยเหลือ

  • ซึมเศร้า  เนื่องจากรู้สึกว่าตนเองไร้ค่าหมดหวังในชีวิต

          ดังนั้น  การเข้าใจอารมณ์และความรู้สึกเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยเรียนรู้ที่จะเผชิญหน้ากับความจริง  พยายามเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดี  เช่น  คิดว่าแม้เราจะติดเชื้อแต่เราก็ยังสามารถทำงานได้และยังมีคุณค่าแก่ครอบครัวและสังคม  ซึ่งจะเกิดผลดีต่อตนเอง  สมาชิกในครอบครัวและเพื่อนร่วมงาน ควรปฏิบัติดังนี้

1.       ดูแลด้านร่างกาย  ให้มีสุขภาพแข็งแรงอยู่เสมอ  ดังนี้

      

         1.1  เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์  ไม่จำเป็นต้องเป็นอาหารที่ราคาแพง  แต่ให้คำนึงถึงอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกายโดยเฉพาะเรื่องความสะอาด
         1.2
  งดสารเสพติด บุหรี่ ของมึนเมา ชา กาแฟ เพราะไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และทำลายสุขภาพ

1.3  อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ควรเข้าไปในสถานที่แออัด  ซึ่งจะทำให้รับเชื้อโรคอื่นเพิ่มขึ้น

1.4  พักผ่อนและออกกำลังกายสม่ำเสมอตามสภาพของร่างกาย เช่น เดิน ทำงานบ้าน ฟังเพลง เล่นดนตรี และดูทีวี

1.5   หากมีเพศสัมพันธ์ต้องคำนึงถึงการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย  โดยใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง  เพื่อลดการติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ และป้องกัน      การและป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น

1.6    รักษาความสะอาดของร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น ที่ผิวหนัง หู ตา จมูก ช่องปาก อวัยวะเพศ  หากพบความผิดปกติให้ไปพบแพทย์

1.7    ในกลุ่มหญิงที่ติดเชื้อเอชไอวี ถึงแม้การตั้งครรภ์ไม่ส่งผลต่อภาวะของโรค  แต่ควรมีการวางแผนล่วงหน้าก่อนตั้งครรภ์  หากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้     ป้องกันและไม่ต้องการตั้งครรภ์  ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
 

  การดูแลรักษาสุขภาพ
ผู้ติดเชื้อเอดส์ไม่ควรวิตกกังวลเกินไป พยายามหาวิธีคลายกังวลโดยศึกษาเกี่ยวกับโรคเอดส์ เพื่อรู้ข้อเท็จจริงและแนวทางปฏิบัติตนที่ถูกต้อง ผู้ที่ยังไม่มีอการสามารถดำเนินชีวิตตามปกติโดยไม่จำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาล สำหรับผู้ที่มีอาการแล้วถ้าดูแลสุขภาพให้ดี ไม่มีโรคแทรกซ้อนก็จะมีชีวิตยืนยาวไปได้อีกหลายปีการดูแลสุขภาพทั่ว ๆ ไปมีดังนี้
  1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และมีสารอาหารครบถ้วน  
  2. รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และออกกำลังกายสม่ำเสมอตามสภาพของร่างกาย
  3. ถ้ามีเพศสัมพันธ์ต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง เพื่อป้องกันการรับหรือแพร่เชื้อโรค
  4. งดสิ่งเสพติดทุกชนิด
  5. งดบริจาคเลือดหรืออวัยวะ
  6. ไม่ควรตั้งครรภ์ เพราะอาจจะถ่ายทอดเชื้อให้ลูกได้ 30%
  7. หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้ป่วยโรคอื่น ๆ เพราะภูมิต้านทานโรคในร่างกายของผู้ติดเชื้อต่ำกว่าคนอื่น จะทำให้ติดเชื้อโรคได้ง่าย
  8. ไม่ควรดูแลสัตว์เลี้ยงหรือทำความสะอาดกรงสัตว์ เพราะอาจติดเชื้อโรคจากสัตว์เหล่านี้ได้
  9. อยู่ในสถานที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
  10. พักผ่อนให้เพียงพอ วันละอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
  11. สังเกตสุขภาพของตนเอง และพบแพทย์ผู้รักษาเป็นระยะ ๆ

2.   การดูแลตนเองด้านจิตใจ เพื่อไม่ให้ท้อแท้ สิ้นหวัง อยากตาย หรือทำร้ายตนเอง ควรปฏิบัติดังนี้

      

2.1   ให้ระบายความรู้สึกต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับคนที่เราเห็นว่าสามารถช่วยเหลือ และรักษาความลับของเราได้ เช่นญาติ ผู้ให้การปรึกษา

2.2   พยายามหาวิธีคลายความวิตกกังวล  โดยการศึกษาหาความรู้เรื่องโรคเอดส์ที่ถูกต้อง

2.3       ให้ผ่อนคลายความเครียดด้วยการบริหารร่างกายและจิตใจ เช่น การทำสมาธิ การสวดมนต์

2.4       เป็นสมาชิกหรือสนทนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ กับสมาคมหรือชมรมผู้ติดเชื้อเอชไอวี จะทำให้มีเพื่อนและเรียนรู้การปรับตนเองจากสมาชิก

3.  การดูแลตนเองทางสังคม ควรปฏิบัติดังนี้

                                                                  

           3.1   รักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับคนใกล้ชิด  โดยเฉพาะสมาชิกในครอบครัว  ควรคิดว่าจะเปิดเผย หรือไม่เปิดเผยเรื่องการติดเชื้อกับผู้อื่น  โดยคิดถึงผลกระทบที่จะได้รับทั้งด้านบวกและลบ  ซึ่งเป็นสิทธิส่วนตัวที่จะไม่เปิดเผยให้ผู้อื่นรู้

             3.2  เตรียมความพร้อมทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ ในการอยู่ร่วมกับเพื่อนบ้าน  เพื่อนร่วมงานและชุมชน  เช่น การไปวัดทำบุญกับญาติการเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือชุมชน

 

 

4. การดูแลตนเองด้านเศรษฐกิจ  เป็นการเตรียมความพร้อมในเรื่องรายได้ ค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ทั้งในเวลาปกติ หรือ เวลาเจ็บป่วยควรปฏิบัติดังนี้

  4.1    ถ้ายังทำงานและมีรายได้อยู่  ควรวางแผนการเก็บสะสมเงินตามความสามารถเพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่าย     เวลาเจ็บป่วย  หรือเวลาที่ไม่สามารถปฏิบัติงานได้

  4.2  หากไม่มีรายได้ที่จะเลี้ยงดูตนเอง  ควรติดต่อหน่วยงานที่จะให้การช่วยเหลือ  ทั้งภาครัฐและเอกชน

 

สอบถามปัญหาที่กังวลใจ

หมายเลขบันทึก: 38098เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2006 05:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

 แลกเปลี่ยนความรู้ใหม่ๆ

เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากค่ะ มีสาระและความรู้ดีค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท