ตีกรอบร่วมมือต้านการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของไทย?
ปัจจุบันมีสินค้าไทยถูกละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นจำนวนมาก โดยมากเป็นการละเมิดจาก 6 ประเทศ คือ กัมพูชา เวียดนาม ลาว อินโดนีเซีย โปแลนด์ และจีน ส่วนใหญ่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาประเภท ลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นที่รู้จักของไทย โดยปัญหาที่เกิดขึ้น ส่งผลให้สินค้าไทยได้รับความเสียหายและได้รับผลกระทบจากสินค้าเลียนแบบ หรือบางตลาดก็ไม่สามารถส่งออกสินค้าเข้าไปขายได้ ทำให้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยในเรื่องการส่งออกสินค้า
แล้วประเทศไทยจะมีวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างไร?????
ไทยได้แก้ไขปัญหาโดยร่วมมือกับภาครัฐของประเทศคู่ค้า โดยจัดคณะผู้แทนไปหารือในประเทศที่มีการละเมิดสินค้าไทยอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเสนอให้ระบุหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างรวดเร็ว และยังได้ขอให้หน่วยงานภาครัฐในประเทศเหล่านี้ มาร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงเบื้องต้นหรือเอ็มโอยูกับไทย เพื่อสร้างกรอบความร่วมมือในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา และยังเสนอให้มีการยกร่างแผนปฏิบัติการตามกรอบเอ็มโอยู เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
สินค้าที่ถูกละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาใหญ่คืออะไร?????
สินค้าที่ถูกละเมิดส่วนใหญ่ได้แก่ เช่นประเทศกัมพูชา พบว่าละเมิดลิขสิทธิ์ละครไทย เครื่องหมายการค้าทเวลฟ์พลัส โคโลญจ์ ราชาชูรส ถ่านไฟฉายเนชั่นแนล บุหรี่กรุงทองและกรองทิพย์ กุญแจโซเล็กซ์ ส่วนประเทศโปแลนด์ ละเมิดเครื่องหมายการค้า กะทิกระป๋องสำเร็จรูปซินเซียร์ ในขณะที่ประเทศเวียดนามละเมิดสินค้า กระเบื้องเซรามิค COTTO & ELEPHANT DEVICE ก๊อกน้ำ SANWA แผ่นใยขัดพิเศษเมอร์รี่ไบรท์ กุญแจโซเล็กซ์ กางเกงชั้นในชายเจ เพรสส์ และในขณะที่ประเทศลาว ละเมิดสินค้า กุญแจโซเล็กซ์ ประเทศอินโดนีเซียละเมิดสินค้าหมวกนิรภัยอินเด็กซ์ และประเทศจีนละเมิดสินค้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า เครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงาน HORSE NANMEE ARROW LANTIS เบียร์สิงห์ บุหรี่กรองทิพย์และสายฝน น้ำปลาตราปลาหมึก เครื่องสำอางมิสทินและสุราแสงทิพย์
ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่ควรเร่งแก้ไข มิฉะนั้นแล้วอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทยเป็นอย่างมาก
ที่มา...กรุงเทพธุรกิจ
แล้วอะไรคือแนวคิดที่ควรใช้ในการจัดการปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาตามกฎหมายไทย ? รัฐหรือเอกชนควรมีมุมมองหรือท่าทีอย่างเดียวกันไหม ?
ปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศไทยมีมาเป็นทอด ๆ
โดยเมื่อประมาณ ๒๐ ปีที่ผ่านมาประเทศไทยเป็นประเทศที่ถูกสหรัฐอเมริกา และประเทศในแถบยุโรป กล่าวอ้างว่าเป็นประเทศที่มีสถิติการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญามากประเทศหนึ่งเช่นการละเมิดเครื่องหมายการค้า Rolex , scot whisky, ลาครอส ซึ่งประเทศไทยเราทำอะไรเพื่อแก้ไขปัญหานี้หรือไม่
ปัจจุบันประเทศไทยถูกละเมิดทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้นโดยประเทศกัมพูชา จีน เวียดนาม ลาว นั่นเป็นเพราะอะไร
แนวทางการแก้ไขของประเทศไทยในฐานะผู้ละเมิด กับผู้ถูกละเมิด เหมือนกันหรือไม่อย่างไร ???
การพัฒนาระบบคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เนื่องจากประเทศไทยยังได้รับความคุ้มครองไม่ทั่วถึง ส่งผลให้เกิดปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา กรมฯ จึงพัฒนาระบบคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอย่างทั่วถึงทั่งในประเทศและต่างประเทศโดยการส่งเสริมการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และพัฒนากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของไทยมีมาตราการณ์ เหมาะสมกับสถานการณ์ด้านทรัพย์สินทางปัญญาของโลกและเอื้อต่อการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทย
การที่ประเทศไทยถูกประเทศเพื่อนบ้าน ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญานั้น
เนื่องจากละเมิดในทรัพย์สินทางปัญญาในปัจจุบัน มิได้จำกัดอยู่ในประเทศใดประเทศหนึ่งโดยเฉพาะสินค้าไทยแม้ยังไม่ได้ส่งออกไปยังต่างประเทศก็สามารถถูกลอกเลียนแบบได้ สาเหตุที่ทำให้การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาแพร่ขยายออกเป็นวงกว้างคือ การพัฒนาเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารและการคมนาคม ทำให้การเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างกันนั้น ตลอดจนการรับรู้ข้อมูลข่าวสารสะดวกง่ายมากขึ้น และทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนและลอกเลียนแบบกันทั้งทางด้านวัฒนธรรมและค่านิยม รวมถึงทรัพย์สินทางปัญญาต่างๆ
แนวทางการแก้ไขของประเทศไทยในฐานะผู้ละเมิด กับผู้ถูกละเมิด เหมือนกันหรือไม่อย่างไร ???ไม่เหมือนกัน คนไทยอาจถูกละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาจากคนไทยด้วยกันหรืออาจถูกละเมิดโดยคนต่างชาติได้
ในฐานะผู้ละเมิด ต้องปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่มมากขึ้น
ในฐานะผู้ถูกละเมิด ต้องดำเนินการป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เช่นการจัดกิจกรรม “ไม่ซื้อ ไม่ขายไม่ใช้ของปลอม” เพื่อเป็นการรณรงค์ปลูกจิตสำนึกเพื่อกระตุ้นให้ตระหนักถึงความสำคัญ
ขอเพิ่มนโยบายของภาครัฐอีกหน่อยนะคะ
กรมทรัพย์สินฯพยายามให้คนไทยเป็นผู้สร้างสรรค์มากขึ้น โดยการรณรงค์ให้สร้าง Brand ไทยให้เป็นที่รู้จักกับต่างชาติ กรณีสินค้า OTOP ---เป็นเรื่องสิทธิในเครื่องหมายการค้า??
พยายามให้นักวิทยาศาตร์ไทยนำสิ่งประดิษฐ์ที่ตนคิดได้ไปจดทะเบียนสิทธิบัตรมากขึ้น
--ปัญหาของประเด็นนี้ก็คือกรมทรัพย์สินฯพยายามรวบรวมศูนย์ข้อมูลในการจดสิทธิบัตรร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ทุกแขนง และในทุกท้องถิ่น เพื่อที่เขาจะได้ไม่โดดเดี่ยว
--พัฒนาการทำงานของกรมทรัพย์สินฯเองให้สามารถตรวจสอบข้อมูลเรื่องสิทธิบัตรได้รวดเร็วกว่านี้จะได้เป็นผลดีกับนักวิทยาศาสตร์ไทย เพราะทางปฏิบัติในปัจจุบันกว่าจะตรวจสอบเสร็จก็ใช้เวลากว่า 3 ปี อย่างเร็ว และ 5 ปี อย่างช้าแล้วระยะเวลาในการคุ้มครองจริง ๆ (แสวงหากำไร) เหลืออีกกี่ปี
--พัฒนากฎหมายสิทธิบัตร ให้ครอบคลุมถึงการตัดต่อพันธุ์พืชเพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องเสียเปรียบกับสหรัฐอเมริกาอีก ตัวอย่างกรณีการจดสิทธิบัตรข้าวหอมมะลิ Jusmine rice ที่เป็นปัญหามาเนิ่นนาน ปัจจุบันไปถึงไหนแล้ว??
--ในขณะที่เราเป็นภาคี CITES เราก็ควรที่จะคุ้มครองเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย แล้วเราออกกฎหมายเรื่องนี้บ้างหรือไม่แล้วพรบ.คุ้มครองพันธุ์พืช ที่ออกมาใช้บังคับแล้วนั้น ใช้ได้จริง ๆ ซักแค่ไหน-- ยังหาคนที่เข้าใจเรื่อง CITES แล้วไปอธิบายกับชาวบ้านไม่ได้ซักคน
คือ เครื่องหมายการค้า ที่ใช้กับสินค้า OTOP เจ้าสามารถมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นได้ โดยเครื่องหมายค้านั้น ต้องได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ากับประเภทของสินค้านั้นแล้ว โดยเครื่องหมายการค้า ที่รับจดทะเบียนได้นั้น ต้องเป็นเครื่องหมายที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ไม่เป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะต้องห้าม และไม่เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้ววียง ยังรักษาวัฒน
ต้องขอบอกก่อนเลยว่า OTOP นั้นมีเพื่อให้บริการออกแบบและพัฒนาทั้งผลิตภัณฑ์และบรรจุ-ภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ผลิตจากสินค้า OTOP ซึ่งเป็นการช่วยพัฒนาคุณภาพ เพิ่มมูลค่า และยกระดับสินค้า OTOP ให้ได้มาตรฐานสากล มีตราสินค้าของตัวเองเพื่อผลักดันสินค้าให้ออกสู่ตลาดมากขึ้น เป็นการเพิ่มยอดจัดจำหน่าย การจดจำสินค้า และส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับองค์กร ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยมีกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ รับออกแบบบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ จัดฝึกอบรม และเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ ดี