Srithai


เครือข่ายครูวิจัยสาระภาษาต่างประเทศ
  โครงการอบรมการวิจัยในชั้นเรียน(วิจัยอย่างง่าย) ระหว่างวันที่  12-13  ตุลาคม  2549 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร     เครือข่ายครูนักวิจัย  สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  โดยสำนักพัฒนาและส่งเสริมวิชาชีพสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา          หลักการและเหตุผล                พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ระบุให้การวิจัยเป็นภารกิจหนึ่งของครูที่พึงปฏิบัติ ซึ่งจะช่วยในการพัฒนาศักยภาพของครู อันจะส่งผลต่อการพัฒนาการเรียนการสอน และคุณภาพของผู้เรียน ครูส่วนใหญ่ยังขาดทักษะในการวิจัย ดังนั้นเครือข่ายครูวิจัยในชั้นเรียนของคุรุสภา ในสาระภาษาต่างประเทศ จึงมีฉันทามติที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเอง ในด้านการวิจัยเพื่อนำกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนไปใช้ในการแก้ปัญหาด้านการเรียนของผู้เรียนในสาระาษาต่างประเทศ วัตถุประสงค์1.       เพื่อส่งเสริมครูให้มีความรู้ในการวิจัยในชั้นเรียน2.       เพื่อส่งเสริมให้ครูนำการวิจัยในชั้นเรียนไปพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้ของนักเรียน เป้าหมาย                1.ครูสาระภาษาต่างประเทศมีความรู้ ประสบการณ์ในการวิจัยในชั้นเรียนอย่างถ่องแท้                2.ครูนำความรู้ ประสบการณ์การวิจัยในชั้นเรียนไปพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้ของ                นักเรียนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน กิจกรรมและรายละเอียดการใช้งบประมาณ
กิจกรรมและรายละเอียดการใช้งบประมาณ งบประมาณทั้งสิ้น หมวดรายจ่าย ระยะเวลาดำเนินการ
ค่าลงทะเบียน / ค่าเดินทางและค่าที่พักคุรุสภา
1.ค่าเดินทางอย่างประหยัดโดยรถไฟ / รถทัวร์ ไปกลับคนละ 1682 บาท จำนวน 37 คน2.ค่าที่พักหอพักคุรุสภา 1 คืน คนละ 195 บาท จำนวน 37 คน3.ค่าลงทะเบียนคนละ 1200 บาท จำนวน 37 คน 112,165 60,550   7,215  44,400 12-13 ตุลาคม 2549   คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กรุงเทพมหานคร
 งบประมาณ  ขอความอนุเคราะห์  สนับสนุนจากสำนักพัฒนาและส่งเสริมวิชาชีพสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาการประเมินผล
ตัวบ่งชี้แห่งความสำเร็จ วิธีการวัดผลและประเมินผล เครื่องมือที่ใช้วัดผลและการประเมินผล
ครูสามารถพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ในสาระภาษาต่างประเทศของนักเรียนโดยการวิจัยในชั้นเรียน สอบถาม / สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง แบบสอบถาม / แบบสัมภาษณ์
                        โครงการ การประชุมวิชาการ เรื่อง การวิจัยในชั้นเรียน ระหว่างวันที่ 23-24 พฤศจิกายน 2549 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ของเครือข่ายครูนักวิจัย สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  โดยสำนักพัฒนาและส่งเสริมวิชาชีพสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา          หลักการและเหตุผล                งานวิจัยในชั้นเรียนถือเป็นภารกิจที่สำคัญของครูและเป็นหัวใจของการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนในปัจจุบัน ครูส่วนใหญ่พัฒนาตนเอง เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิตของความเป็นครูโดย ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท  เอก และมีผลงานทางวิชาการในการพัฒนาเด็กอย่างน่าชื่นชม                ปัจจุบันทางคุรุสภาเห็นความสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียน จึงเห็นควรที่ครูที่มีผลงานทางวิชาการ งานวิจัยด้านกระบวนการเรียนรู้ จะได้มีโอกาสนำผลงานของตนเองเผยแพร่ ขยายผล ตลอดจนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมอาชีพเดียวกัน ในอันที่จะพัฒนาตนและพัฒนานักเรียนเพื่อให้เด็กไทยมีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานที่กำหนด เป็นคนดี มีความสุข สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และมีความสามารถทัดเทียมเด็กต่างชาติอย่างสมภาคภูมิ วัตถุประสงค์1.       เพื่อให้ครูที่มีผลงานวิจัยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในผลงานวิจัยในชั้นเรียนอย่างกว้างขวาง2.       เพื่อให้ครูนำองค์ความรู้ไปพัฒนางานวิจัยในชั้นเรียน เพื่อการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป้าหมาย                1.ครูมีการพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ                2.นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐานที่สถานศึกษากำหนดอย่างน่าพอใจ                3.นักเรียนสำเร็จการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถอยู่ในสังคมด้วยศักยภาพที่มีอยู่อย่างมีความสุขกิจกรรมและรายละเอียดการใช้งบประมาณ
กิจกรรมและรายละเอียดการใช้งบประมาณ งบประมาณทั้งสิ้น หมวดรายจ่าย ระยะเวลาดำเนินการ
ค่าลงทะเบียน / ค่าเดินทางและค่าที่พักคุรุสภา
1.ค่าเดินทาง ไปกลับจำนวน 20 คนคนละ 1,682 บาท 2.ค่าที่พักหอพักคุรุสภา 2 คืน คนละ 200 บาทต่อคืน จำนวน 20 คน 3.ค่าลงทะเบียน 20 คนคนละ 500 บาท    47,640 33,640  4,000 10,000 23-24 พฤศจิกายน 2549 ในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กรุงเทพมหานคร
  งบประมาณ  ขอความอนุเคราะห์  สนับสนุนจากสำนักพัฒนาและส่งเสริมวิชาชีพสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาการประเมินผล
ตัวบ่งชี้แห่งความสำเร็จ วิธีการวัดผลและประเมินผล เครื่องมือที่ใช้วัดผลและการประเมินผล
1.       ครูนักวิจัยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยในชั้นเรียน2.       .นักเรียนได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง3.       นักเรียนสำเร็จการศึกษาอย่างมีมาตรฐานและสามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุข 1.       สังเกตการเข้าร่วมประชุม2.       สอบถามผู้เกี่ยวข้อง3.       สำรวจ 1.       แบบบันทึกการสังเกต2.       แบบสอบถาม3.       แบบสัมภาษณ์4.       แบบสำรวจ
              โครงการ สร้าง  Menu ใน Website Web. blog www.go to know.or.th ของครูเครือข่ายนักวิจัยในชั้นเรียน สาระภาษาต่างประเทศ   โดยสำนักพัฒนาและส่งเสริมวิชาชีพสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา            หลักการและเหตุผล                ปัจจุบันสื่ออีเลคโทรนิค มีบทบาทในการสื่อสารมากและสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทันต่อเหตุการณ์ เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ในโอกาสที่เครือข่ายครูวิจัยในชั้นเรียนได้รวมตัวกันเป็นเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาตน พัฒนาผู้เรียน อย่างมีเป้าหมาย สื่ออีเลคโทรนิคจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างระบบ โดยอาศัยระบบเดิม โดยครูเครือข่ายผู้วิจัยสาระภาษาต่างประเทศ จะขอเปิดเมนูของสาระภาษาต่างประเทศจาก www.go to know.or.th เพื่อให้ครูสามารถติดต่อแลกเปลี่ยน ติดตามความเคลื่อนไหวอันจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการวิจัยในชั้นเรียนอย่างยิ่งยวด วัตถุประสงค์                เพื่อให้การติดต่อ สื่อสาร แลกเปลี่ยน เรียนรู้ ของครูเครือข่ายเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน เป้าหมาย                ครูสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ที่ กิจกรรม งบประมาณ หมวดรายจ่าย ระยะเวลาดำเนินงาน
ใช้สอย วัสดุ
1 เชิญผู้เชี่ยวชาญจัดทำร่วมกับครูเครือข่าย 5,000 3,000 2,000 1 สิงหาคม – 30 สิงหาคม 2549
 งบประมาณ                จากสำนักพัฒนาและส่งเสริมวิชาการสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา                งบประมาณ 5,000 บาท การประเมินผล
ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีการประเมิน เครื่องมือ
ครูเครือข่ายสามารถติดต่อ สื่อสารจากเมนูใน Website  ใน Webblog www.go to know.or.th ตรวจสอบประสิทธิภาพ 1.       ผู้เชี่ยวชาญ2.       ครูเครือข่ายนักวิจัย สาระการเรียนรู้สาระภาษาต่างประเทศ
                           
หมายเลขบันทึก: 38047เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2006 18:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท