ไปใช้เครื่อง Flow cytometer ที่ รพ. หาดใหญ่


       เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว   เครื่อง Flow cytometer ที่ใช้อยู่ประจำ (ตั้งอยู่ที่ภาควิชาชีวเวชศาสตร์)     เกิดอาการขี้เกียจทำงาน   สาเหตุของการเสียยังไม่ทราบแน่ชัด    เมื่อเครื่องเสียก็จำเป็นต้องไปใช้เครื่องที่อื่น   เพราะยังมี  lab ที่ยังไม่ได้ analyze อยู่ประมาณ  40  ราย     ที่ มอ. มีเครื่อง Flow cytometer   อยู่อีกเครื่องที่ศูนย์เครื่องมือ   ( แต่เป็นคนละรุ่น  คนละบริษัท)      โชคร้ายคือว่าเครื่องที่ศูนย์เครื่องมือได้ชิง  เสีย   ตัดหน้าเครื่องของเราไปนานแล้ว    เป็นการเสียแบบกึ่งๆ  ถาวร  คือ laser หมดอายุไข    ซึ่งต้องเปลี่ยนใหม่    และมีแววว่าจะไม่ซ่อม   เพราะค่า laser   แพงเอาการ
       อ. หัสดี (และคุณสมพร)    เลยจัดการติดต่อให้ไปทำที่ รพ. หาดใหญ่     เราไปกันทั้งหมดสามคน  คือ  พี่ถ่าว  น้องหน่อย  และน้องลิ  (น้องใหม่...ใหม่มากค่ะ   ยังจำชื่อจริงไม่ได้)       พอไปถึง "น้องไผ่"   ผู้ดูแลประจำ   ก็จัดการเปิดเครื่อง   เปิดโปรแกรม   แนะนำเล็กน้อย     แล้วน้องไผ่  ก็ไปทำงานต่อ    พร้อมกับบอกว่า "ไผ่..อยู่ห้องนั้นนะ  มีอะไรก็เรียกได้"    ว่าแล้วก็จากไปอย่างไร้กังวล    
      น้องไผ่จะรู้มั๊ยเนี่ยว่า   ดิฉันใช้เครื่องนี้ไม่เป็น    เคยดูเวลาเค้าสาธิตเท่านั้น   ส่วนพี่ถ่าวเคยใช้เครื่องนี้...เมื่อนานๆๆ  มาแล้ว         พูดเล่นๆ กับพี่ถ่าวว่า   "โห...น้องไผ่   เค้าไม่หวงเครื่องเลยนะ   ปล่อยให้เราใช้ตามสบาย   ไม่กลัวว่าเราจะทำเสียรึ"    พี่ถ่าวตอบว่า "เค้าไว้ใจ.."      ฟังแล้วรู้สึกดีจังเลย...ว่าเรามีความสามารถ     แต่จริงๆ  แล้ว   น้องเค้าคงเป็นคน "ไม่ขี้หวง    ไม่คิดมาก   และไว้ใจเพื่อนร่วมวิชาชีพ"    เพราะถึงแม้พวกเราจะไม่เคยใช้เครื่องยี่ห้อนั้น   แต่หลักการในการใช้เครื่อง  และการวิเคราะห์ผลมีบางส่วนที่คล้ายกัน     จะว่าไปแล้วการติดต่อไปใช้เครื่องที่   รพ.หาดใหญ่   ก็แสนจะง่าย      ไม่เหมือนบางแห่งที่ย๊าก..ยาก (ที่ไหน...น๊า.)         เห็นแล้วก็เกิดคำถามว่าทำไมเค้าทำตัวง่ายๆ...ได้       ต้องหาคำตอบต่อไปค่ะ
       สรุปว่า   วันนั้นเราสามารถใช้เครื่องไปได้ตลอดรอดฝั่ง   สามารถออกผลแล็บได้   ไม่มีปัญหาใดๆ    ขอบคุณ  รพ.หาดใหญ่   พี่แป๊ะ (หัวหน้าแล็บ)   และน้องไผ่  ผู้ดูแลเครื่อง
       สัปดาห์หน้า..ต้องไปอีก.......
          

คำสำคัญ (Tags): #flow-cytometer#รพ.-หาดใหญ่
หมายเลขบันทึก: 38031เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2006 16:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 23:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
เล่าเรื่องง่ายๆได้มี"อะไร"ดีจังค่ะ อดชื่นชมไม่ได้ ขอซะหน่อย (เหมือนหน้าม้าเลย แต่รับรองไม่ใช่ค่ะ)
     ผมฝันอยากเห็นการแชร์ทรัพยกรในระบบสุขภาพ เช่นนี้มากเลยครับ มีหลายอย่างที่ยังเป็นอุปสรรคแม้ในองค์กรเดียวกันแต่คนละแผนก สิ่งหนึ่งที่เห็นชัดเลยคือ "ใจ" ยังไม่เปิดครับ เปิดเพื่อมองไปที่ว่าทำแล้วได้ใคร "ประชาชน ผู้รับบริการ" ใช่ไหม มองไปไม่ถึงตรงนั้นสักทีครับ (ขอบ่น ๆ มั่งนิ)

มัวหวงเครื่อง...ก็ทำให้ไม่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้...

ขอชื่นชม...รพ.หาดใหญ่คะ...

 

  • การแชร์ทรัพยากร   เป็นแนวคิดที่ดีค่ะ   ที่ มอ.  ก็มีที่ศูนย์เครื่องมือที่เป็นแหล่งรวมเครื่องมือไฮเทคราคาแพงทั้งหลาย   ทุกคณะสามารถไปใช้ได้โดยคิดค่าบริการต่อชั่วโมง   หรือต่อราย
  • แต่กรณีที่เป็นเครื่องที่อยู่ในหน่วยงานที่ไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ    การใช้ร่วมกันบางครั้งเป็นไปได้ยาก    โดยเฉพาะในกรณีที่เครื่องมือราคาหลายล้าน   อันนี้ต้องเห็นใจ  เพราะถ้าเสียขึ้นมา   มันทำใจลำบาก     กรณีนี้น่าจะป้องกันได้โดยให้ใช้ภายใต้การควบคุมดูแล
หมอ รพ หาดใหญ่ ที่เคยอยู่ รพ มอ

นี่อาจจะเป็นจุดแข็ง ในวัฒนธรรมองค์กร รพ.หาดใหญ่ คือ เป็นมิตร เอื้อเฟื้อ น้ำใจ ยืดหยุ่น ให้ผู้อื่นเป็นศูนย์กลางบ้าง

เราไปออกหน่วยรับบริจาคโลหิต หน่วยงานต่างๆ ก็มักจะชมกลับมาว่า หน่วยคลังเลือด มีวัฒนธรรมดังกล่าว

วัฒนธรรม รพ.หาดใหญ่ เน้น การร่วมมือ มากกว่า ชื่อเสียงผลงาน     การแข่งขันระหว่างหน่วยงานไม่ใช่เรื่องสำคัญ   มีผลงานก็แบ่งๆกันชื่นชม

เรียน คุณหมอ รพ หาดใหญ่ ที่เคยอยู่ รพ มอ
ชื่นชม รพ.หาดใหญ่ค่ะที่มี วัฒนธรรมองค์กร ที่ดี   เรื่องดีดีแบบนี้   ควรเก็บรักษาไว้นานๆ   และเผยแพร่ (เคล็ดลับ)  ให้องค์กรอื่นๆ   ได้เห็นเป็นตัวอย่างก็น่าจะดีไม่น้อยนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท