ปัญหามีทางแก้...... แต่ แก้ไม่ได้ทุกคน


แต่ละสถานประกอบการย่อมมีปัญหาเกิดขึ้นให้หัวหน้าได้แก้ไขปัญหากันทุกวันเป็นประจำ ถ้าจัดการกับปัญหาได้ไม่ดี วันทั้งวัน ไม่ต้องทำอะไรแล้ว นอกจากการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

ปัญหามีทางแก้...... แต่ แก้ไม่ได้ทุกคน

ปัญหามีอยู่ทุกแห่งหน.....

ปัญหามีไว้แก้ไข......

อย่าตกใจ วิตกกังวล กับปัญหาที่ถาถมเข้ามา ในชีวิตและการทำงาน

            แต่ละสถานประกอบการย่อมมีปัญหาเกิดขึ้นให้หัวหน้าได้แก้ไขปัญหากันทุกวันเป็นประจำ ถ้าจัดการกับปัญหาได้ไม่ดี วันทั้งวัน ไม่ต้องทำอะไรแล้ว นอกจากการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

            สมองสิ้นเปลืองพลังงานไปเป็นจำนวนมากกับการแก้ปัญหา ไม่มีการคิดเพื่อการพัฒนาอะไร ไม่ได้สร้างอะไรใหม่เลย เพราะมัวแต่แก้ปัญหา

            กล่าวกันว่าปัญหามีหลายระดับทั้งๆ ที่เป็นเรื่องเดียวกันที่บางทีหัวหน้าแก้ไขโดยโดดลงไปแก้ไขเองแล้วทำให้รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมที่ต้องโดดลงไปดูแลเอง และจัดการเอง จะลองยกตัวอย่างให้ดูง่ายๆ เพื่อความเข้าใจที่ดีขึ้น

            ท่านคงรู้จักกล่องพลาสติกที่ใช้บรรจุชิ้นงานเพื่อส่งลูกค้าใช่ไหมครับ ถ้ารู้จักแล้วผมจะเรียกว่า “โพลี่บอกซ์” นะครับ

            ปกติจะมีพนักงานกลุ่มหนึ่ง หรือคนใดคนหนึ่ง มีหน้าที่ ที่จะต้องนำเอาเจ้าโพลี่บอกซ์ ไปส่งให้กับพนักงานที่มีหน้าที่ผลิตสินค้า หรือพนักงานฝ่ายผลิต เป็นประจำเพื่อให้พนักงานได้บรรจุสินค้างลงในกล่องตามจำนวนที่กำหนดไว้ เมื่อโพลี่บอกซ์ไปถึงพนักงานฝ่ายผลิตแล้ว (1) พบว่าในโพลี่บอกซ์มีคราบน้ำมันหรือมีเศษกระดาษอยู่ (ขยะ) ทำให้สกปรก หรือในบางครั้งพนักงานผู้ที่ทำหน้าที่ (2) นำโพลี่บอกซ์ ไปส่งให้กับพนักงานฝ่ายผลิตล่าช้า ทำให้เกิดการหยุดชะวักของการผลิต เพราะไม่มีภาชนะบรรจุ หรือ (3) เกิดการหมุนเวียนกันไม่ดี เพราะรถขนส่งที่ไปส่งของให้กับลูกค้านั้นต้องมีหน้าที่ในการนำภาชนะเปล่ากลับบริษัท เพื่อบรรจุสินค้าต่อไป แต่ไม่ได้นำโพลี่บอกซ์กลับมา หรือบางครั้งบางโอกาส (4) เกิดการชำรุด เสียหายหรือพัง จากสาเหตุต่างๆ หรือตามกาลเวลาก็ตามเพราะชิ้นส่วนในแต่ละรุ่นนั้นจะมีระยะเวลาในการผลิต 4-8 ปี เมื่อใช้งานไปได้ระยะหนึ่งก็เกิดการชำรุดทรุดโทรมไปตามเวลาหรือการกระแทก ตก หาย ทำให้โพลี่บอกซ์ไม่พอใช้หมุนเวียนในการบรรจุสินค้า และการเริ่มต้นโครงการใหม่ๆ ของการผลิตก็ต้องมีการออกแบบภาชนะบรรจุให้เป็นไปตามข้อกำหนดหรือความต้องการของลูกค้า ทั้งปริมาณและคุณภาพ หาเกิดความผิดพลาดขึ้นกับการบรรจุก็ต้องมี (5) การวิเคราะห์และแก้ไขโพลี่บอกซ์ใหม่ เพื่อให้การบรรจุและการขนส่งมีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น

            จะเห็นได้ว่า แค่ โพลี่บอกซ์หรือกล่องบรรจุสินค้า อย่างเดียว นี้มีปัญหาเกิดขึ้น เกี่ยวข้อง ตั้ง 5 ปัญหาด้วยกัน คือ

  1. สกปรก
  2. ส่งเข้าฝ่ายผลิตล่าช้า
  3. หมุนเวียนจากบริษัทลูกค้าไม่ดี
  4. ชำรุด เสีย หาย พัง
  5. ออกแบบใหม่ ปรับปรุงใหม่

แต่ละปัญหาข้างต้นนี้ ผู้ที่จะดำเนินการแก้ไขนั้นแตกต่างกันไปตามลักษณะของปัญหา บางปัญหาแก้ไขได้ด้วยตัวของพนักงานเอง ถ้าผู้ที่อยู่ในระดับที่สูงขึ้นไป ลงไปแก้ไขเองก็จะดูไม่เหมาะสม ไม่คุ้มค่างาน แต่ปัญหาในระดับที่สูงจะให้พนักงานไปแก้ไขปรับปรุงก็ไม่สำเร็จ เพราะเกินกำลังความสามารถ และไม่มีอำนาจเพียงพอที่จะแก้ไขได้ เช่น

            หัวข้อปัญหาที่ 1 พนักงานธรรมดา (operators) สามารถจัดการเองได้

            หัวข้อปัญหาที่ 2 ให้หัวหน้าหน่วย (Leader, foreman) ไปกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพียงเล็กน้อย ปัญหาก็อาจคลี่คลายลงได้ แต่ถ้าให้พนักงานไปติดต่อจัดการอาจเกิดความขัดแย้งขึ้นได้

            หัวข้อปัญหาที่ 3 หัวหน้าส่วน (supervisors) ควรสั่งการ ดูแล และประสานงานกับลูกค้าให้ช่วยอีกทางหนึ่งก็ได้ เพื่อให้รถขนส่งนำโพลี่บอกซ์ เปล่ากลับเพื่อเป็นการหมุนเวียนให้ทันกับการผลิต

            หัวข้อปัญหาที่ 4 ผู้จัดการ (Manager) ต้องรับข้อมูลจากระดับล่างเพื่อวิเคราะห์ และตัดสินใจในการออกคำสั่งให้ซ่อมแซม หรือสั่งซื้อใหม่เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน

            และปัญหาที่ 5 ควรจะเป็นหน้าที่ของวิศกร (Engineer) เจ้าของโครงการเป็นผู้ดำเนินการจัดการตามแนวทางของการทำงานต่อไปจะดีกว่า เพราะเป็นหน้าที่ และมีอำนาจในการขออนุมัติเอง

            เห็นแล้วซินะว่าปัญหาที่เกิดขึ้นแค่โพลี่บอกซ์ แม้จะเป็นปัญหาตัวเดียวกัน แต่ระดับของปัญหามันต่างกัน ระดับของผู้ที่จะทำการแก้ไขปัญหาก็ต้องต่างกันไปด้วย ตามอำนาจหน้าที่และความเหมาะสม ปัญหาที่สามารถแก้ไขได้ด้วยพนักงานระดับล่าง ถ้าผู้ที่อยู่ในระดับบนลงไปแก้ไขก็ไม่เหมาะสม ไม่คุ้มค่างาน ปัญหาที่ต้องแก้ไขด้วยพนักงานระดับบน จะให้พนักงานระดับล่างแก้ไข มันก็ไม่สำเร็จเพราะพนักงานระดับล่างไม่มีอำนาจ และความสามารถเพียงพอ ทำให้เป็นปัญหาตามมาอย่างอื่นอีกก็ได้ นะครับ

            เห็นไหมว่า “ปัญหามีทางแก้ทุกปัญหา........แต่ละปัญหาไม่สามารถแก้ได้ทุกคน

 

Sekpornsawan  Boonpetch

๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓ :๑๑.๕๕

คำสำคัญ (Tags): #hrd
หมายเลขบันทึก: 380001เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2010 14:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท