จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

เก็บเกี่ยวจากระยะเวลา


ช่วงนี้เวลาแต่ละวันผ่านไปอย่างรวดเร็วจริงๆ ครับ และที่สำคัญตลอดสัปดาห์นี้กิจกรรมหลากหลายมาก บางประเด็นเสียดายที่ไม่มีเวลานำมาบันทึกไว้บนบล็อกครับ โดยประเด็นเชิงวิชาการหลายๆ เรื่องที่อยากเล่ามากครับ แต่เนื้อหาแนวนี้ต้องใช้เวลาเขียนและเรียบเรียงเลยไม่มีโอกาสเลยครับ 

เอาว่าบันทึกนี้ขอนำเสนอตั้งแต่วันพฤหัสครับ วันนั้นผมได้รับเชิญจากอ.กรวิภา กศน.ปัตตานี ไปนำเสนอประเด็นแนวทางการพัฒนาปอเนาะ เชิญให้บรรยายหนึ่งชั่วโมงเต็มๆ ครับ ร่วมกับ ผศ.อับดุลเลาะ อับรู แห่งวิทยาลัยอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี โจทย์ของ กศน. คือความต้องการให้ปอเนาะเปิดสอนวิชาชีพด้วย แต่เป็นความระมัดระวังของ กศน. ครับ เลยอยากให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยนว่าแบบไหนคือแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุดสำหรับการดำเนินการ ซึ่งผมค่อนข้างจะมองมุมต่างในหลายประเด็นกับหลายๆ งานวิชาการที่พูดถึงปอเนาะและ รร.เอกชนสอนศาสนาอิสลามครับ ความจริงผมคิดว่าผมมีโมเดลที่น่าจะเหมาะสมกับปอเนาะในปัจจุบัน วันนี้เลยเป็นโอกาสดีมากเลยครับได้หยิบแนวคิดไปคุย ข้อคิดเห็นจากผู้จัดหลังจากลงเวทีคือ ถ้าเราเข้าใจและรู้จักปรัชญาของปอเนาะดี เราก็จะทำอะไรที่ดีให้กับปอเนาะได้ แต่หากไม่รู้จักปอเนาะอีกพอ การเข้าไปพัฒนามันกลับมีความหมายว่า การทำลายได้

เสร็จจากเวทีปอเนาะ กศน. ก็ขับรถเดินทางต่อไปสนามบินนานาชาติหาดใหญ่ครับ ทานข้าวเย็นที่หาดใหญ่ แต่ค้างแรมที่เมืองหลวงครับ วันต่อมาก็ร่วมประชุมสัมมนาเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายใน ปี 53 (ประเด็นนี้เขียนสรุปประเด็นไว้บางส่วนแล้วครับ)

กลับมาวันต่อมาก็เข้าร่วมประชุมถอดบทเรียนโครงการวิจัยของ สต.สค. วันนี้เป็นวันที่สองครับ ก็มีการแลกเปลี่ยนความเห็นกันสนุกสนานได้ความรู้จริงๆ ครับ ประเด็นที่คุยนานก็คืองานวิจัยเกี่ยวกับ ปัญหาของหญิงตั้งครรถ์ในวัยเรียน ผมเห็นความเห็นเชิงแย้งนิดๆ ครับ เพราะในนิยามของผม คำว่า "ในวัยเรียน" ยังไม่ชัดเจนตามมิติของสังคมมุสลิม เพราะในสังคมมุสลิม เรียนอยู่ก็แต่งงานได้ ดังนั้นคำว่าวัยเรียน หมายถึงการตั้งครรภ์แบบไม่พึงประสงค์หรือเปล่า อันนี้ผมมองว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากรากฐานค่านิยมของคนในสังคมมากกว่า ค่านิยมที่ว่า ต้องเรียนให้จบก่อนจึงจะแต่งงานได้ ในขณะที่บรรยากาศที่สถานศึกษามันยั่วยุให้อยากมีใครสักคนเคียงข้าง ทั้งใส่กระโปร่งสั้น สวมเสื้อไซด์ sss แต่บังเอิญยั่วขนาดนี้แล้วดันไม่ยอมรับหากจะแต่งงานให้ถูกต้องตามหลักการ เด็กมันก็เลยต้องแอบทำอะไรกัน พอปัญหาเกิด ก็โทษเด็ก ไม่โทษสังคมด้วย งานนี้ผมเลยขอยกตัวอย่างการดำเนินงานที่มหาวิทยาลัยครับ ถึงแม้ไม่ประสบความสำเร็จเต็มร้อย แต่ก็ได้ผลที่น่าประทับใจ 

งานนี้ผมก็ตกเป็นจำเลยหนึ่งประเด็นครับ คือ ยังไม่ได้ส่งโครงการวิจัยระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายใน รร. เอกชนฯ ระยะที่สองครับ ไม่มีเวลาปรับแก้ไขสักที ต้องขออภัยผู้ให้ทุนและทีมวิจัยครับ ตั้งใจว่าจะรีบ แต่ก็ไม่ทันจริงๆ

วันอาทิตย์ วันจันทร์ก็มีภารกิจสอนและบริหารเช่นเคยครับ ส่วนหนึ่งของงานหลักๆ คือ การจัดทำรายงาน sar ครับ งานนี้ได้รับคำเชิญจากคณะศิลปศาสตร์ฯ ไปคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับทีมงานของคณะครับ (ความจริงผมก็เป็นอาจารย์ในสังกัดด้วย แต่รอบนี้ไม่มีชื่อให้เป็นกรรมการในทีมของคณะเลย ฮิฮิ)

ประเด็นน่าสนใจก็ตรงที่ปีนี้คณะสร้างกระบวนการใหม่ในการตรวจสอบรายงานครับ ทำให้อาจารย์มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการทำและตรวจสอบรายงาน อันนี้ผมยกให้เป็นนวัตกรรมดีเด่นของการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยเลยครับ วิธีการนี้ทำให้เห็นรอยยิ้มของคนทำงานได้ครับ

สำหรับงานเมื่อวาน เริ่มต้นจากการสนทนายามเช้ากับทีมงานในสำนักครับ ช่วงหลังล็อกเวลาคุยเหมือนก่อนไม่ค่อยได้ครับ ดังนั้นเลยต้องมีเวทีทุกครั้งที่เวลาของ ผอ.อำนวยให้ ฮิฮิ แต่งานนี้เราปรับเพิ่มกิจกรรมในการคุยกันนิดหนึ่งครับ โดยเริ่มด้วยการศึกษาอัลกุรอานก่อนครับ เพื่อเพิ่มไฟในการทำงานครับ

จากนั้นก็ไปเป็นวิทยากรอบรมการใช้อีเลิร์นนิ่งสำหรับสถาบันภาษานานาชาติครับ (ทีแรกนึกว่าจะฟาวล์แล้วเพราะไฟดับไปครึ่งชั่วโมง) ความจริงรับปากไว้สองครั้งครับ สัปดาห์แล้วครั้งหนึ่งและวันนี้อีกครั้งหนึ่ง แต่บังเอิญสัปดาห์ที่แล้วมีปัญหาทางเทคนิคนิดหนึ่งเลยต้องรบกวนอาจารย์คอเหล็ดเป็นวิทยากรแทน บรรยากาศวันนี้สนุกมากครับ อันเื่นื่องจากอาจารย์หลายท่านไม่เข้าใจภาษาไทย เผลออธิบายไปเยอะ อาจารย์ท่านหันกลับมาบอกว่า ไม่เข้าใจ ฮิฮิ งานนี้ลากยาวไปจนถึงเที่ยงครึ่งครับ แต่เนื่องจากรีบๆ ไม่แน่ใจว่าอาจารย์จะจำได้หรือเปล่าหลังเสร็จอบรม

เสร็จละหมาดก็รีบเข้าประชุมต่อครับ ประชุมพิจารณาจบหลักสูตรครับ (ครั้งที่เท่าไรของปีแล้วนี่) ปรากฏรอบนี้ที่ประชุมคุยเรื่องงานประสาทปริญญาด้วย โอ้อันนี้ต้องเรียกว่าเป็นเรื่องโดนใจผมมากเลยครับ ผมคิดไว้ตั้งแต่ครั้งแรกๆ ของการรับปริญญาของมหาวิทยาลัยแล้วครับว่าถ้ามีโอกาสรับผิดชอบผมจะขอเปลี่ยนรูปแบบ ฮิฮิ แต่งานนี้ผมไม่ได้เสนอเองครับ มีกรรมการในที่ประชุมเสนอขึ้นว่าน่าจะย่นระยะเวลาการฝึกรับ เปลี่ยนขั้นตอนพิธีการต่างๆ ผมเลยเสนอว่า ผมอยากจัดพิธีรับในสนามมากกว่าในหอประชุมครับ ฮา ที่ประชุมตอบกลับว่า เอาแนวคิดนี้ไว้ทำอีกหลายปีข้างหน้าแล้วกัน ปีใกล้ๆ นี้ขอในหอประชุมก่อน เพียงแต่ให้เปลี่ยนรูปแบบให้ดูเป็นการให้เกียรติกับความรู้และผู้รู้ตามวิถีแห่งอิสลามให้มากขึ้นก็พอ ที่ประชุมมอบหมายให้ผมเป็นคนไปศึกษารูปแบบของการจัดงานประสาทปริญญาครับ บอกได้ล่วงหน้าว่า ปีนี้ต้องมีอะไรที่ต่างจากปีที่ผ่านๆ มาแน่นอนครับ (อินชาอัลลอฮ์)

เสร็จจากการประชุมชุดนี้ ก็มุ่งหน้าไปคณะอิสลามศึกษาครับ นั่งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับทีมงานประกันคุณภาพ (ก็คือคณะกรรมการบริหารคณะและทีมงานคณะ) เนื้อหาการพูดคุยคือการหยิบเอาอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นจากการเขียน sar มาสร้างความกระจ่างครับ คิดว่าน่าจะเดินหน้าได้ดีขึ้น (อินชาอัลลอฮ์) 

สิ่งหนึ่งที่น่าภูมิใจมากสำหรับคนทำงานคือ การประกันคุณภาพการศึกษาของ มอย. คึกคักมาก และเริ่มจะไม่ใช่การคึกคักเฉพาะช่วงการเขียนรายงานแล้ว และที่สำคัญมีคนเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น ไม่ใช่เฉพาะคนบางกลุ่มที่ต้องแบกภาระงานทั้งหมดไว้เพียงลำพัง อันนี้ก็น่าจะเป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จของการประกันในระดับหนึ่งแล้วครับ 

สำหรับวันนี้ ช่วงเช้าขอทำงานที่บ้านครับ เพราะต้องการความเร็วอินเตอร์เน็ทในการทำงานสูง ช่วงบ่ายค่อยเข้าที่ทำงานครับ

คำสำคัญ (Tags): #งานบริหาร
หมายเลขบันทึก: 379127เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2010 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มาเป็นกำลังใจให้เสมอครับกับทุกเส้นทางที่ก้าวเดิน...อินชาอัลลอฮฺ หากมีโอกาสในการเข้าร่วมานในหลายๆงาน คงจะได้เห็นอะไรดีๆอย่างที่อาจารย์กล่าวมาบ้างครับ อิอิ (มาสารภาพครับว่าการเข้าร่วมงานรับปริญญาปีที่ผ่านมาๆไม่เคยเข้าร่วมครับชนกับภารกิจเรียนตลอดครับ ปีนี้ อินชาอัลลอฮฺคงได้เห็นแนวคิดอาจารย์ครับ) ดูทิศทางแล้วคงได้เห็นอะไรใหม่ๆนะครับ บอกตามตรงเบื่อความจำเจครับ อิอิ

  สู้ๆๆครับ ดูแลสุขภาพด้วยครับ

  • เข้ามาอ่านความเคลื่อนไหวอย่างที่เคยทำมาเป็นประจำ
  • ปอเนาะ... ผมก็กลัวเหมือนกัน..กลัวปอเนาะในอนาคตจะไม่เหลือเป้าหมายหลักที่เคยมีไว้... คือ การเป็นพ่อแม่ของเด็กที่สร้างความพร้อมให้แก่เด็กใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในวันอาเครัต อย่างที่อิมามอัลฆอซาลีว่า
  • ใช่ เป้าหมายของสังคมส่วนใหญ่ทุกวันนี้คือไม่ให้ท้องในวัยเรียน.. ไม่เคยคำนึงถึงคุณธรรมจริยธรรมเท่าไร ผมก็งงๆกับเมืองไทยเหมือนกันทั้งเหตุการณ์บางอย่างเป็นศิลข้อหนึ่งในห้าข้อ แต่ไม่เห็นมีใครรณรงค์เท่าไร 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท