การสัมมนาวิชาการป้องกันควบคุมโรคแห่งชาติปี 49


วันที่ 21 - 23 มิ.ย 49  ได้ไปประชุมสัมมนาวิชาการป้องกันควบคุมโรคแห่งชาติประจำปี 49  เมื่อประชุมเสร็จแล้วท่านผอ.บอกควรทำ AAR เขียนช้าไปหน่อยเพราะใช้ Goto Know  ระบบใหม่ไม่คล่อง ทำให้เบื่อและเสียเวลามาก เลยหยุดเขียนชั่วคราว

AAR จากการประชุมสัมมนาวิชาการ

1. สิ่งที่คาดหวัง  การไปประชุมครั้งนี้คิดว่าน่าจะได้ความรู้ด้านวิชาการใหม่ๆ เพื่อจะได้นำมาปรับปรุงพัฒนางาน

2.สิ่งที่เกิดขึ้นจริง   วันแรกวันที่ 21 มิ.ย 49 เป็นเรื่องผนึกกำลังเรื่องต้านภัยสุขภาพ เน้นการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรค ทำอย่างไรให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรง กินดีอยู่ดี อยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียง สามารถยืนอยู่ได้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นหน้าที่ของทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม ปัจจุบันหน่วยงานต่างๆ ยังต่างคนต่างทำจึงทำให้เกิดปัญหาด้านการบริหารงาน   

         ช่วงบ่าย  การนำระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ( GIS ) มาใช้ในการเฝ้าระวังโรค ซึ่งค่อนข้างยากถ้าระบบฐานข้อมูลหน่วยงานยังไม่พร้อม แต่ถ้าพร้อมการนำระบบ GIS มาใช้จะเป็นประโยชน์ในด้านการติดตามค้นหาการเกิดโรคได้อย่างรวดเร็ว และสามารถนำมาใช้ในงานด้านอื่นๆ ได้ ซึ่งกรมอนามัยได้ดำเนินการนำมาใช้แล้ว

วันที่ 22 มิ.ย 49  การผนึกกำลังห่างไกลโรคอย่างไร ต้องเป็นนโยบายของผู้บริหารระดับสูงที่จะกำหนดใหชัดเจน ซึ่งการปฏิบัติในปัจจุบันยังทำงานแยกส่วนอยู่ ควรทำงานแบบผสมผสานเป็นทีมเดียวกัน ฟังแล้วปัญหาต่างๆ ก็คล้ายๆ กันเป็นเรื่องของคน ที่ต้องพัฒนาให้ได้ใจก่อน  เพื่อจะได้ทำงานผสมผสานกันได้ โดยมุ่งประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก งานนั้นก็จะสำเร็จลงได้

ช่วงบ่าย ไข้เลือดออกกับแนวโน้มที่เปลี่ยนไป สถานการณ์โรค การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรค  ปัจจุบันไข้เลือดออกที่ระบาดอยู่เป็น Dengue Type 4  พบมากในผู้ใหญ่เนื่องจากยังไม่เคยมีภูมิต้านทานต่อ Dengue Type ใหม่ เพราะในการระบาดปีก่อนๆ เป็น Type 1  2  3การควบคุมโรคเน้นการกำจัดลูกน้ำยุงลาย  ต้องให้ความรู้ ให้ประชาชนตระหนักและเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องช่วยกันทำ ไม่ใช่รอให้เป็นเรื่องของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งรับผิดชอบ

วันที่ 23 มิ.ย 49 เรื่องของสิ่งแวดล้อม

3.ความแตกต่างที่พบ -: ความหลากหลายของงานวิจัยต่างๆ ที่สคร.นำมาเสนอนั้น ส่วนใหญ่เป็นงานประจำที่ทำอยู่ และนำมาเขียนเป็นงานวิจัย ดูเหมือนเป็นเรื่องง่ายๆ  สำหรับคนที่มีความชำนาญแล้ว ซึ่งทางสถาบันของเรา ก็เป็นแหล่งวัตถุดิบ คือ มีผู้ป่วยเป็นฝ่ายเดินเข้ามาหาเรา  ส่วนสคร.เขาต้องทำเชิงรุก คือต้องไปหาแหล่งวัตถุดิบในชุมชน

4. ทำให้เกิดการเรียนรู้ว่า หน่วยงานน่าจะทำงานวิจัยปีละ 1 เรื่องได้ เพราะเป็นแหล่งเก็บข้อมูล คงต้องใช้เวลาฝึกฝนเพื่อทำงานวิจัย

สรุป : การทำงานทุกอย่างเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด  ต้องทำงานเป็นทีมช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นโยบายต้องชัดเจนมีการวางแผนล่วงหน้า 

หมายเลขบันทึก: 37885เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2006 08:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท