ครอบครัว : ทางแก้สุดท้ายของปัญหาสังคม


ครอบครัวจะทำอะไรได้บ้าง ครอบครัว หรือคนในครอบครัวต้องเข้าใจก่อน นะว่าเด็กคือสมาชิกคนสำคัญคนหนึ่งของครอบครัวไม่เพียงวัตถุในครัวเรือนที่ใครจะ ทำอะไรก็ได้โดยไม่ใส่ใจความรู้สึกของเด็ก พ่อหรือแม่ต้องรู้ว่าเด็กในวัยต่าง ๆ ต้องการอะไรแล้วลองนึกย้อนเปรียบเทียบกับตัวเองว่าสมัยที่ตนเองยังเด็กนั้นต้องการให้ผู้ใหญ่ทำอะไรให้ตัวเองบ้าง ไม่ต้องการให้ผู้ใหญ่ขัดใจตนเองเรื่องอะไรบ้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าให้เลี้ยงเด็กในครอบครัวแบบตามใจไปเสียทุกอย่าง หากตัวเราเองในสมัยเด็กเชื่อว่าเราเองเป็นคนมีเหตุผล เด็กสมัยนี้ก็เป็นเช่นนั้น ก็ต้องลองใช้เหตุผลคุยกันเพื่อหาข้อสรุปให้ทุกฝ่ายมีความสุขกับข้อสรุปนั้น ๆ

                เด็กนักเรียนช่างกลยกพวกตีกัน เด็กสาวพานิชย์พลีกายเพื่อเงิน  เด็กเร่ร่อนขอทานและอีกหลาย ๆ ประเด็นปัญหาที่สื่อลงพาดหัวข่าวอย่างครึกโครม พร้อมกับในหลาย ๆ ครั้ง ก็ประณามเด็กผ่านสื่ออย่างไม่เป็นธรรม ทั้งที่แท้จริงแล้ว เรื่องราวเหล่านี้ที่เด็กแสดงออกมา เป็นเพียงผู้ได้รับผลกระทบปลายทางคนหนึ่งเท่านั้นเอง

แล้วอะไรล่ะคือต้นตอปัญหานี้ คำตอบที่เป็นอมตะตลอดกาลก็คือ ครอบครัวนั่นเอง ทำไมถึงต้องโยนไปให้ครอบครัว  ก่อนอื่นต้องยอมรับก่อนว่าครอบครัวคือสถาบันแรก ที่เด็กซึมซับและเรียนรู้จากครอบครัว แทบจะเรียกได้ว่าครอบครัวเป็นอย่างไรเด็กก็จะเป็นแบบนั้นเลยทีเดียว แล้ว ครอบครัวจะช่วยลดปัญหาสังคมได้อย่างไร นี่ล่ะคือเรื่องใหญ่ที่ครอบครัวสามารถมีส่วนร่วมได้อย่างสบาย ๆ เพียงแต่ให้ความใส่ใจในการมีส่วนร่วมกับปัญหานี้อย่างจริง ๆ จัง ๆ เท่านั้น

ครอบครัวจะทำอะไรได้บ้าง ครอบครัว หรือคนในครอบครัวต้องเข้าใจก่อน นะว่าเด็กคือสมาชิกคนสำคัญคนหนึ่งของครอบครัวไม่เพียงวัตถุในครัวเรือนที่ใครจะ ทำอะไรก็ได้โดยไม่ใส่ใจความรู้สึกของเด็ก พ่อหรือแม่ต้องรู้ว่าเด็กในวัยต่าง ๆ ต้องการอะไรแล้วลองนึกย้อนเปรียบเทียบกับตัวเองว่าสมัยที่ตนเองยังเด็กนั้นต้องการให้ผู้ใหญ่ทำอะไรให้ตัวเองบ้าง ไม่ต้องการให้ผู้ใหญ่ขัดใจตนเองเรื่องอะไรบ้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าให้เลี้ยงเด็กในครอบครัวแบบตามใจไปเสียทุกอย่าง หากตัวเราเองในสมัยเด็กเชื่อว่าเราเองเป็นคนมีเหตุผล เด็กสมัยนี้ก็เป็นเช่นนั้น ก็ต้องลองใช้เหตุผลคุยกันเพื่อหาข้อสรุปให้ทุกฝ่ายมีความสุขกับข้อสรุปนั้น ๆ

สำหรับเด็กที่ได้รับผลกระทบแล้วล่ะ จะทำอย่างไร การเยียวยาสำคัญที่สุด ครอบครัวต้องไม่ซ้ำเติมเด็กแต่ต้องให้กำลังใจเพื่อที่เขาจะได้มีแรงสู้ต่อไป อะไรที่ผ่านเลยมาแล้วก็ให้มันผ่าน ๆ ไปอย่าเก็บเอามาใส่ใจ หรือ พูดทับถมเด็กอีกเป็นอันขาดเพราะเด็กได้รับบทเรียนที่สาสมพอตัวอยู่แล้วก้าวย่างต่อไป ต้องให้ครอบครัวคอยเป็นกำลังใจอย่างใกล้ชิด แต่ก็อย่าชิดมากจนเกินอบอุ่น และกลายเป็นความร้อน หรือรำคาญมากจนเกินไป ต้องรักษาจังหวะและความห่างให้ดี เพื่อที่เด็กเองจะได้รู้สึกว่าตัวเองปลอดภัย และไม่โดนควบคุมมากจนเกินไป

ครอบครัวนอกจากจะเป็นสถานที่แห่งแรกในการบ่มเพาะนิสัยให้เด็กแล้วท้ายที่สุดครอบครัวเองก็ยังจะเป็นสถานที่สุดท้ายที่จะเยียวยาให้แก่เด็กที่ผ่านพ้นสภาพปัญหาและแรงกดดันจากภายนอกมา ดังนั้นผู้ใหญ่เองนั่นล่ะต้องคอยทบทวนตัวเองและอย่าได้ลืมความเป็นเด็กของตัวเองไปเป็นอันขาด เพราะเมื่อใดก็ตามผู้ใหญ่ลืมความเป็นเด็กของตัวเองไปเสียแล้ววันนั้นผู้ใหญ่ ก็จะไม่ต่างอะไร กับศาลที่คอยพิพากษาเด็กด้วยความไม่ยุติธรรมแล้วเด็กจะไปพึงใคร เมื่อพึ่งคนในครอบครัวตัวเองไม่ได้แล้ว
หมายเลขบันทึก: 37880เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2006 07:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท