อาสาสมัคร : บทบาทขององค์กรพัฒนาเอกชน


งานอาสาสมัครเริ่มมีในประเทศไทยมาเป็นระยะเวลานาน แต่ที่เป็นที่รู้จักและ มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด เท่าที่เห็น ก็จะมี บัณฑิตอาสาสมัคร ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (บอ.) และ อาสาสมัคร ของ มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) ที่ฝ่ายแรก ดำเนินงานมากว่า 30 ปีแล้ว โดยที่ทั้ง 2 แห่ง ต่างก็จะมีแก่นความคิดมาจากรากเดียวกัน
  

งานอาสาสมัครเริ่มมีในประเทศไทยมาเป็นระยะเวลานาน แต่ที่เป็นที่รู้จักและ มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด เท่าที่เห็น ก็จะมี  บัณฑิตอาสาสมัคร ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (บอ.) และ อาสาสมัคร ของ มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) ที่ฝ่ายแรก ดำเนินงานมากว่า 30 ปีแล้ว โดยที่ทั้ง 2 แห่ง ต่างก็จะมีแก่นความคิดมาจากรากเดียวกัน

 

ภายหลังเริ่มมีรูปแบบของอาสาสมัครมากมายหลายรูปแบบทั้งที่เกิดขึ้นภายใต้โครงการต่าง ๆ ขอองค์กรภาครับและเอกชน มีทั้งอาสาสมัครที่เป็นอาสาสมัครเต็มเวลา และอาสาสมัครนอกเวลา แต่ ประเทศไทย กลับไม่มีอาสาสมัครวิชาชีพ ทั้งที่ริเริ่มงานด้านอาสาสมัครมาก่อนหลาย ๆ ประเทศในภูมิภาคนี้ ที่ในบางประเทศเขามีอาสาสมัครวิชาชีพกันไปแล้ว

 

อาสาสมัครวิชาชีพคืออะไร อาสาสมัครวิชาชีพ ก็คือคนที่ทำงานด้านอาสาสมัครโดยที่ไม่ทำงานด้านอื่น เรียกว่าเกิดมาเพื่อทำงานอาสาสมัคร งานอาสาสมัครก็คืองานที่ อาชีพอื่น เขาไม่ทำกันหรือไม่สะดวก ไม่มีเวลาที่เอื้อในการทำงานด้านอาสาสมัคร ตลอดจนไม่มีทักษะในการเป็นอาสาสมัครอีกด้วย

 

อะไรคือทักษะในการเป็นอาสาสมัคร ทักษะของอาสาสมัคร คุณสมบุติต้น ๆ ก็คือ การไม่นิ่งดูดาย ไม่ทำงานเพื่อหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นผลประโยชน์ของตนเอง หรือ ทำงานเพื่อคนอื่น อย่างแท้จริงโดยไม่หวังผลที่ตนเองจะได้จากการทำงานตรงนั้น แอบแฝงนั่นเอง ทักษะ ที่รอง ๆ ลงมา ก็ คือ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่อาสาสมัครเองต้องค้นหาให้พบและพัฒนาความชำนาญนั้น ๆ ให้เป็นความเชี่ยวชาญในที่สุดเพื่อนำมาใช้ในการทำงานได้อย่างเต็มประสอทธิภาพ

 

องค์กรพัฒนาเอกชน ที่ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีความต้องการอาสาสมัครให้เข้าไปช่วยเสริมในการทำงาน ก็ต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับอาสาสมัครอย่างจริง ๆ จัง ๆ และ ควรที่จะบริหารทรัพยากรบุคคลที่เข้ามาเป็นอาสาสมัครให้สามารถใช้ทักษะของอาสาสมัครที่มีอยู่ให้เกิดการสนับสนุนการทำงานที่องค์กรนั้น ๆ ดำเนินอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

 การสนับสนุนจากทุกภาคส่วนของสังคมก็มีความสำคัญ ทุกภาคส่วนของสังคมต้องให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนาแนวความคิดและการเปิดให้มีเวทีของการทำงานเชิงอาสาสมัครให้มากขึ้นและกระจายให้ทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ เพื่อให้เด็กรุ่นใหม่ มีเวทีได้แลกเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้งานด้านอาสาสมัครร่วมกัน อย่างกว้างขวางและทั่วถึง ท้ายที่สุด ตัวอาสาสมัครเองก็ ต้องพร้อมที่จะ เข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน โดยอาศัยกลไกที่มีอยู่ ซึ่งกลไกดังกล่าว องค์กรพัฒนาเอกชนที่มีอยู่ก็ต้องกำหนดบทบาทในการสนับสนุนเกื้อกูลในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวให้เกิดขึ้น และให้ มีการพัฒนาไปสู่การสร้างองค์ความรู้ในการแลกเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานด้านอาสาสมัครร่วมกันต่อไปอย่างยั่งยืน
หมายเลขบันทึก: 37881เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2006 07:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท