การประชุมวิชาการประจำสัปดาห์


ทฤษฎี Constructionism

ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเกาะคา จัดประชุมวิชาการประจำสับดาห์ที่ 1 เดือนกรกฎาคม 2549 ขึ้น ในวันที่ 3กรกฎาคม 2549 มีหัวข้อการประชุมมีดังนี้ 1.แจ้งให้ทราบผลการสอบคัดเลือกบรรณารักษ์ และครูศูนย์การเรียนชุมชน 2.ทฤษฎี Constructionism 3.แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำแผนบูรณาการหน่วยเรียนรู้สะสมหน่วยกิตบ้านทุ่งขาม 4.ติดตามงานการนิเทศตำบลนำร่อง การศึกษาพื้นฐาน และพัฒนาสังคมและชุมชน 5.ติดตามการแจ้ง www.nfekokha.org ให้กับนักศึกษาเพื่อตรวจผลการสอบ และการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต 6.ติดตามการจัดทำแผนบูรณาการวิถึชีวิตกับหมวดวิชาพัฒนาสังคมและชุมชน 7.ติดตามการจัดทำรายงานการประเมินตนเองประจำเดือน 8.วางแผนการดำเนินงานเก็บข้อมูลแฟ้มสะสมรายบุคคลกลุ่มบ้านทุ่งขาม 9.ติดตามการจัดทำโครงงานหมวดวิชาภาษาไทย

เรื่องที่เราแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมากที่สุดได้แก่ การทำโครงงานนักศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐานหมวดวิชาภาษาไทย ซึ่งเกิดปัญหาคือทุกศูนย์การเรียนนักศึกษายังไม่สามารถหาทำโครงร่างได้ หลังจากแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแล้ว ก็มีความเห็นเป็นเอกฉันท์กันว่าควรนำเอาการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎี Constructionism มาจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับนักศึกษา เพื่อจัดทำโครงงานหมวดวิชาภาษาไทย สาเหตุที่นำเอาทฤษฎี Constructionism มาใช้ เนื่องจากทฤษฎี Constructionism เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการฝึกกระบวนการคิด สร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเอง การเรียนรู้เริ่มจากผู้เรียนสนใจที่อยากค้นคว้าเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ต้องการสร้างผลงานหรือชิ้นงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งที่เกิดจากความต้องการความสนใจของตนเอง ลงมือฝึกปฎิบัติหลังจากเรียนรู้ ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง หลังจากนั้นก็นำมาเล่า แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน และครู เพื่อเป็นการทบทวนการทำงานของตนเอง และทบทวนกระบวนการคิดของตนเอง เป็นการสะท้อนความคิดของตนเอง ครูมีหน้าที่จะเป็นผู้อำนวยความสะดวก คอยกระตุ้นความคิด เป็นที่ปรึกษา ผู้สอน จะไม่ทำหน้าที่สอน ผู้เรียนก็จะลงมือค้นคว้าด้วยตนเอง เรื่องที่สนใจศึกษาก็จะแตกแขนงไปได้เรื่อย ๆ ไม่ใช่เป็นหัวข้อเดียวที่ตนเองสนใจ จะทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้น ตลอดเวลา เพื่อนผู้ที่มีความรู้ในเรื่องที่ตนเองยังไม่แตกฉานก็จะแนะนำ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันตลอดเวลา ผู้เรียนก็จะสนุก มีความสุขกับเรื่องที่ศึกษาค้นคว้า มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง ไม่รู้สึกเบื่อในการเรียนรู้ การสร้างชิ้นงานในการฝึกกระบวนการคิด เพื่อสร้างงานจะต้องมีเครื่องมือใดเครื่องมือหนึ่งอาจจะเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องมืออื่น ๆ ขึ้นกับสถานการณ์สภาพแวดล้อม และเรื่องที่ต้องการจะนำเสนอ

จากการที่ดิฉันได้นำเอาทฤษฎ๊ Constructionism มาฝึกกระบวนการคิด และสร้างสรรค์ผลงานให้กับบุคลากรศูนย์บริการการศึกษนอกโรงเรียนอำเภอเกาะคา ในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ในวันนี้ทุกคนก็ได้เล่าความรู้สึกของแต่ละคนออกมาสรุปเป็นภาพรวมคือ ทุกคนได้ลงมือฝึกปฏิบัติ ทำงานที่เกิดจากการฝึกกระบวนการคิดของตนเอง ทำให้มีการลองผิดลองถูก เพื่อนจะเป็นผู้มีบทบาทในการแนะนำ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่วนดิฉันในฐานะเป็นผู้อำนวยความสะดวก ก็ทำหน้าที่กระตุ้นความคิด จะไม่แนะนำหรืออธิบายกระบวนการวิธีการทำงานทั้งหมด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ครูได้ลงมือฝึกปฏิบัติ ค้นคว้าเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดเวลา ทำให้เกิดทักษะความชำนาญ มีความมั่นใจในตัวเอง สามารถ เล่าหรืออธิบายในงานที่ตนเองสร้างขึ้นมาอย่างภาคภูมิใจ และมีความสุขกับงานที่ตนเองได้สร้างขึ้นมา และทำให้เกิดความคิดว่าไม่มีอะไรที่ยากต่อไปอีกแล้ว เราสามารถทำความฝันให้เป็นจริงได้ เพียงแต่ว่าเราต้องลงมือฝึกปฏิบัติ ทดลอง ค้นคว้าและเรียนรู้ด้วยตนเอง ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะสำเร็จได้ ณราวัลย์ นันต๊ะภูมิ 3 กรกฎาคม 2549

หมายเลขบันทึก: 37850เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2006 23:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท