มหาวิชชาลัยภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่น
มหาวิชชาลัยภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่น มหาวิชชาลัยภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่น

มหาวิชชาลัยภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่น


มหาวิชชาลัยภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่น

 จากสถานการณ์ประเทศไทย และจากแนวความคิดการแสวงหาทางออกเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย ดังกล่าวข้างต้น สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ในฐานะที่เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน ที่ทำงานปฏิบัติการพัฒนาชุมชนและสังคม ในระดับท้องถิ่น  ทำงานร่วมกับภาคประชาชนและภาคประชาสังคม รวมถึงการทำงานร่วมกับภาครัฐ เป็นเวลามานานถึง ๒๐ ปี ได้ตระหนักว่า หากต้องการแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืนแล้ว จำเป็นต้องพัฒนาองค์ความรู้เชิงวิชาการให้กับผู้นำท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาสาสมัครทางสังคม เพื่อให้สังคมมีความเข้มแข็งระดับฐานราก จากนั้นจึงยกระดับความเข้มแข็งเข้าสู่ความเป็นสังคมในฐานกว้าง จนถึงระดับการถอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ การสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ตลอดจนดำเนินงานเชิงนโยบายให้กับสังคมและประเทศ และเพื่อให้การดำเนินงานตามแนวคิดดังกล่าวข้างต้นประสบผลสำเร็จ สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา  จึงได้จัดตั้ง มหาวิชชาลัยภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่น ตามประกาศของสถาบัน ลงวันที่ ๕ กรกฏาคม ๒๕๕๓ โดยให้มีสำนักงานที่ ๖๙๓ ถนนบำรุงเมือง เขตป้อมปราบ กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๐๐ โทรศัพท์ ๐๒-๒๒๓-๖๗๑๓, ๐๒-๒๒๕-๗๒ฅ๓, ๐๒-๒๒๖๖-๓๗๓, โทรสาร ๐๒-๒๒๖-๔๗๑๘

 

วัตถุประสงค์การจัดตั้ง  

  1. เพื่อดำเนินการจัดการศึกษาในหลักสูตรด้านการพัฒนาชุมชนและสังคมให้กับประชาชน
  2. เพื่อดำเนินการจัดการวิจัย ถอดบทเรียน จัดแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในงานพัฒนาชุมชนและสังคมให้กับประชาชน
  3. เพื่อให้การบริการวิชาการงานด้านพัฒนาชุมชนและสังคม ส่งเสริมคุณธรรม ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้กับสังคม
  4. เพื่อสร้างเครือข่ายภาคประชาชนและภาคประชาสังคมในด้านการศึกษาและการพัฒนา เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งในระดับชุมชนท้องถิ่น พื้นที่และภูมินิเวศ ตลอดทั้งเชื่อมโยงเข้าสู่การผลักดันในเชิงนโยบาย
  5. เพื่อการผลิตและเผยแพร่สื่อด้านการพัฒนา เพื่อขยายแนวคิดทางเลือกการพัฒนาต่อสังคม

  

กรอบความคิดการจัดการศึกษาเพื่อชุมชนท้องถิ่น 

LDI Model

(กำลังหาทางเอาภาพขึ้น)

สามเหลี่ยมตรงกลาง คือเป้าหมายของการจัดการศึกษา กล่าวคือพุ่งความสนใจที่แกนนำการเปลี่ยนแปลง (CA – Change Agent) การสร้างจิตอาสา (VC – Voluntary Conscious  และเครือข่ายชุมชน (NW-Net Working)

สามเหลี่ยมรอบนอก เป็นเครื่องมือในการศึกษา คือ การศึกษาชุมชน  (CS – Community Study) การจัดการความรู้ในชุมชน  (KM – Knowledge Management)  และการเปลี่ยนแปลงสังคม (CC – Community Change) หรืออาจจะใช้คำว่า ศึกษาชุมชน เรียนรู้ชุมชน และเปลี่ยนแปลงชุมชน

การจัดการศึกษาของมหาวิชชาลัย จึงมุ่งที่จะให้ผู้ศึกษาสนใจที่รูปธรรมของชุมชน และต้องเข้าไปสู่ชุมชนเพื่อรวบรวมประสบการณ์ เรื่องราว และองค์ความรู้    และนำความรู้ไปปฏิบัติการในชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนจริง ๆ 

 

ดร.ศักดิ์ ประสานดี

 

 

หมายเลขบันทึก: 378003เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2010 07:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 00:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ยินดีครับ....................

โค้งคำนับนั่งอ่านช่วยสานฝัน

สาระดีมีจุดเด่นเป็นสำคัญ

ชอบสร้างสรรค์เสพหาวิชาการ

ขยันเขียนเวียนหามาบันทึก

เริ่องไม่นึกก็ได้เห็นเป็นแก่นสาร

เกิดความคิดติดปัญญาพาเชี่ยวชาญ

ประสบการณ์พบเห็นเป็นบทเรียน

ธนา นนทพุทธ

จักสานอักษรกลอนคิดเห็น

เมื่อโอกาศมาถึงในมือเรา

หากเราไม่คว้ามันในวันนี้

อาจเสียใจตลอดชีพในวันหน้า

การศึกษาเรียนไปเหอะไม่เสียเวลา

ชีวีสดใสรอเราอยู่วันข้างหน้า

การศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนทุก ๆ คน มองย้อนไปในอดีต ผู้หญิงไม่มีสิทธิในการศึกษาเล่าเรียนด้วยเหตุผลหลายประการท่ีไม่ค่อยจะเป็นธรรมสักเท่าไหร่ แต่ปัจจุบันการศึกษาได้เปิดกว้างสำหรับผู้สนใจไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชาย จึงเป็นสิ่งที่ดีอย่างมาก ๆ ท่ีเราสามารถพัฒนาตนเองได้ด้วยการศึกษา ต้องขอขอบคุณอาจารย์ผู้ก่อตั้งสถาบันท่ีให้โอกาสคนทุกคนค่ะ

ดร.ศักดิ์ ประสานดี

ยินดีสำหรับทุกความเห็นนะครับ

ผู้ใหญ่ของประเทศจำนวนมาก ต่างเห็นว่า ประเทศชาติเกือบจะสิ้นความหวังแล้ว

แม้การศึกษาในปัจจุบัน แทบจะให้ความหวังสำหรับการพัฒนาไม่ได้

ผมและมิตรจำนวนมาก ต่างคิดถึงเรื่องนี้ และเราก็อยากจะทำครับ

เชิญชวนมาร่วมกันทำด้วยครับ

ยินดีและขอบคุณทุกความเห็นครับ

ผมว่า ลองมาทำบุญสร้างคนเพื่อการสร้างชาติกับพวกเรากันหน่อยนะครับ

เผื่ออาจจะมีหนทางดีๆเกิดขึ้นบ้าง

มีเปิดระดับปริญญาเอก ไหมครับ

ถ้ามีหลักสูตรอะไรครับ

ขณะนี้เราเปิดปริญญาตรี หลักสูตรผู้ประกอบการสังคม โดยความร่วมมือกับสถาบันอาศรมศิลป์ มหาวิทยาลัยเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร หลักสูตรผู้ประกอบการสังคม หลักสูตรปริญญาโท เป็นีกหลักสูตรหนึ่งที่เราเปิดแล้ว แต่เป็นหลักสูตรที่ยังไม่ได้รับการรับรอง เราออกแบบเอง สอนเอง ส่วนปริญญาเอก เราจะทำต่อไปครับ ติดตอรายละเอียดเพิ่มเติม (081 300 6188 [email protected])

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท