พระพุทธศาสนาเถรวาท 12


การแจกนามศัพท์ด้วยวิภัตติต้องแจกไปตามลิงค์และการันต์ของศัพท์นั้น ๆ

ศึกษาภาษาที่ใช้จารึกคัมภีร์ของพระพุทธศาสนาเถรวาท  ( ต่อ )

วิภัตติคือศัพท์ประกอบหลังนามศัพท์เพื่อช่วยสังเกตลิงค์  วจนะง่ายขึ้น  มี 14 ตัว  เป็นเอกวจนะ 7 ตัวคือ สิ อํ  นา  ส  สฺมา  ส  สฺมึ  พหุวจนะ 7 ตัวคือ  โย  โย  หิ  นํ  หิ  นํ  สุ

อายตนิบาต  คือคำแปลประจำหมวดวิภัตติทั้ง 14 ตัวดังนี้

ฝ่ายเอกวจนะ

ปฐมาที่ 1 ลง...สิ...วิภัตติแปลว่า อันว่า

ทุติยาที่ 2 ลง...อํ...วิภัตติแปลว่า ซึ่ง  สู่  ยัง  สิ้น  ตลอด  กะ  เฉพาะ

ตติยาที่ 3 ลง...นา...วิภัตติแปลว่า  ด้วย  โดย  อัน  ตาม  เพราะ  มี  ด้วยทั้ง

จตุตฺถีที่ 4 ลง...ส...วิภัตติแปลว่า แก่  เพื่อ  ต่อ

ปญฺจมีที่ 5 ลง...สฺมา...วิภัตติแปลว่า  แต่  จาก  กว่า  เหตุ

ฉฏฺฐีที่ 6 ลง...ส...วิภัตติแปลว่า  แห่ง  ของ  เมื่อ

สตฺตมีที่ 7 ลง...สฺมึ...วิภัตติแปลว่า  ใน  ใกล้  ที่  ครั้นเมื่อ  ในเพราะ  เหนือ  บน

        อาลปนะ( แถม ) ลง...สิ...วิภัตติแปลว่า  แน่ะ  ดูก่อน  ข้าแต่ 

ฝ่ายพหุวจนะ

        อย่างปฐมาที่ 1 ลง...โย...วิภัตติแปลว่า อันว่า...ทั้งหลาย...คือเติมทั้งหลายต่อท้ายเวลาแปลทางฝ่ายนี้ทั้งหมด

การันต์  คือ  สระอยู่สุดศัพท์ในปุงลิงค์มี 5 ตัวคือ อ  อิ  อี  อุ  อู  ในอิตฺถีลิงค์มี 5 ตัวคือ อา  อิ  อี  อุ  อู  ในนปุงสกลิงค์มี 3 ตัวคือ อ  อิ  อุ  การแจกนามศัพท์ด้วยวิภัตติต้องแจกไปตามลิงค์และการันต์ของศัพท์นั้น ๆ

ศัพท์ภาษาบาลีสระ อะไร้รูปแต่ต้องอ่านว่า อะ  อา  อิ  อี  อุ  อู  เช่น  ปุริส ( อ่านว่าปุริสะ ) กญฺญา  ( อ่านว่ากันยา )  มุนิ  ( มุนิ )  เสฏฺฐี ( เศรษฐี ) ครุ ( ครุ ) วิญฺญู  ( วินยู ) เป็นต้นดังนี้แล.

 

............................................

 

อ้างอิงนี้โปรดอ่านเพิ่มเติมใน...พระมหานิยม  อุตฺตโม . มปป. หลักสูตรย่อบาลีไวยากรณ์. สำนักเรียนวัดธาตุ  เมืองเก่า  อ.เมือง จ. ขอนแก่น.

 

หมายเลขบันทึก: 377797เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2010 15:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ดีมากเลยคับได้ความรู้ดี

ว่างๆเข้าไปชมของผมหน่อยน่ะ

ช่วยเมให้ด้วยน่ะคับ

ขอบคุณสำหรับความรู้วันนี้

สวัสดีครับ คุณพงษ์ศักดิ์

ยินดีที่ได้รู้จักทางบันทึกนะครับผม...อิ อิ อิ

ขอบคุณครับ

อ่านแล้วได้ความรู้ดีมากเลยครับ

ช่วยไปชมของผมด้วยนะครับ

สวัสดีครับ คุณธีระภาคย์

ยินดีที่ได้รู้จักในบันทึกนี้นะครับ...อิ อิ อิ

ขอบคุณครับ

ดูแล้ว ยากมากๆ เลยครับ ผมละท้อเลยอาจารย์

สวัสดีครับ นาย เพชร พรหมสูตร์

ภาษาบาลีอักษรไทย นี้ละที่พระคุณเจ้าเรียนกันไปจนถึง จบ ประโยค 9 ที่เป็นการเรียนสูงสุดทางสายบาลีของพระคุณเจ้าละ

เพราะอย่างนี้ละ ภาษาบาลีจึงดูขลังไงละ...อิ อิ อิ

ขอบคุณครับ

ผมเข้ามาอ่านพุทธศาสนาเถรวาทที่อาจารย์บรรยาย

สวัสดีครับ ลูกศิษย์ man

ดีจังจะได้ร่วม ลปรร. กันในชั้นเรียนนะครับผม...อิ อิ อิ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท