ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการ จังหวัดลำพูน


มีโอกาสเข้าไปจัดประชุมถอดบทเรียนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพของบริษัทเป็ปซี่ - โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัดที่จังหวัดลำพูน  ได้รับเอกสารเผยแพร่เรื่องศูนย์การเรียนรู้เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการ จังหวัดลำพูน  ด้วยความเอื้อเฟื้อจาก  พี่มุ่ย (จันทนี  เทียนวิจิตร)  ประธานชมรมทรัพยากรบุคคล  จังหวัดลำพูนและ ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล ของบริษัท เป็ปซี่ - โคล่า ฯ  คิดว่าจะเป็นประโยชน์  จึงของนำมาเผยแพร่นะคะ

 

ประวัติความเป็นมา ของบริษัท  เป๊ปซี่ – โคล่า (ไทย)  เทรดดิ้ง จำกัด 

ก่อตั้งโรงงานขึ้นที่จังหวัดลำพูน  เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2538  โดยมีนโยบายที่จะเปิดตลาดขนมขบเคี้ยวที่ได้รับความนิยมมาแล้วทั่วโลกภายใต้ชื่อ  “ฟริโต-เลย์”  เป็นโรงงานที่มีเครื่องจักรและเทคโนโลยีในการผลิตที่ทันสมัยโดยทุก ๆ ขั้นตอนในการผลิตจะมีผู้เชี่ยวชาญ  ซึ่งมีประสบการณ์ด้านการผลิตขนมขบเคี้ยวเป็นอย่างดี  พร้อมทีมงานดูแลควบคุมคุณภาพ  เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ มีระดับคุณภาพ และคุณค่าทางโภชนาการที่ได้มาตรฐานสากลทุกประการ  ปัจจุบัน  โรงงานลำพูนมีกำลังการผลิตสูงถึง 35,000 ตันต่อปี  ซึ่งนับว่าเป็นโรงงานผลิตขนมขบเคี้ยวที่ทันสมัยและมีศักยภาพที่สูงที่สุดในเมืองไทยในขณะนี้

 

ค่านิยมของบริษัท หรือ PepsiCo Values ข้อผูกพันของเรา

สิ่งที่เราเป็น : ค่านิยมหลักที่เรามุ่งมั่นที่จะสนับสนุน

  •  การเติบโตอย่างยั่งยืน

  • การให้อำนาจพนักงาน

  •  ความรับผิดชอบและความไว้เนื้อเชื่อใจ

 

หลักการทางธุรกิจของเรา  แนวทางการดำเนินตามข้อผูกพันของเรา  เราต้องมุ่งมั่นอยู่ตลอดเวลาที่จะ

  •   เอาใจใส่ลูกค้า  ผู้บริโภค  และโลกที่เราอาศัย

  •   จำหน่ายเฉพาะสินค้าที่เรามีความภาคภูมิใจ

  •   สามารถบอกกล่าวข้อเท็จจริงและอย่างตรงไปตรงมา

  •   มีความสมดุลระหว่างความเสี่ยงและผลประโยชน์ระยะสั้นกับ    ระยะยาว

  •    ชนะด้วยความหลากหลายและความเป็นส่วนรวม

  •    ยกย่องผู้อื่นและประสบความสำเร็จร่วมกัน

 

ความเป็นมาของศูนย์การเรียนรู้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการ

บริษัทฯมีนโยบายในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภายในสถานประกอบการ  และได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง  โดยเข้าร่วมโครงการโรงงานสีขาวกับหน่วยงานภาครัฐจนได้รับประกาศเกียรติบัตรให้เป็นโรงงานสีขาวตั้งแต่ปี 2544  จนถึงปัจจุบัน  อีกทั้งได้ร่วมดำเนินกิจกรรม To Be Number One  ซึ่งในปี 2549 ได้รับรางวัลชนะเลิศในระดับภาคเหนือ  เพื่อให้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน  บริษัทได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่ให้การสนับสนุน  ผลักดันให้บริษัทฯ  มีบทบาทเพิ่มขึ้น  รวมถึงเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการขึ้น 

 

บทบาทหน้าที่ของศูนย์การเรียนรู้

1. ฝ่ายวิชาการ

  •   ให้ความรู้แก่พนักงานเกี่ยวกับพิษภัยของยาเสพติดทุกประเภท  โดยดำเนินการฝึกอบรมให้ความรู้     จัดบอร์ด  จัดนิทรรศการ  แจกเอกสารแผ่นพับ  รวมทั้งให้ความรู้ผ่านเสียงตามสาย เป็นต้น

  •   รณรงค์ต่อต้านยาเสพติดในวันสำคัญ  เทศกาลต่างๆ สัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานของบริษัทฯ

  •   เพิ่มศักยภาพการทำงานของคณะทำงานโดยการจัดการอบรมให้ความรู้จัดศึกษาดูงาน

  •   วางแผนงานให้สอดคล้องกับนโยบายของบริษัทฯ

2. ฝ่ายกิจกรรม

  •   จัดกิจกรรมตามแผนงานที่วางไว้ให้สอดคล้องกับบริษัทฯ

  •   สอดส่องดูแลพฤติกรรมของพนักงานกลุ่มเสี่ยง

  •   รับข้อร้องเรียนเกี่ยวกับยาเสพติดในบริษัท

  •   ประสานงานส่งตัวผู้เสพยาเข้ารับการบำบัด  กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  •   มีระบบให้คำปรึกษาแก่พนักงาน

3. ฝ่ายประชาสัมพันธ์และการเงิน

  •   ประชาสัมพันธ์กิจกรรม หรือ โครงการต่าง ๆ ให้พนักงานได้รับทราบข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น  เสียงตามสาย  ติดประกาศ

  •   แจกเอกสารแผ่นพับประชาสัมพันธ์แก่ผู้สนใจ

  •   ดูแลรายรับ – รายจ่าย ต่าง ๆ

                                                                                               

การดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้

1. การรณรงค์การลด ละ เลิก ยาเสพติดในบริษัท โดยรณรงค์การลด ละ เลิก ทั้ง บุหรี่ สุรา  ยาเสพติด

2. การให้ความรู้แก่พนักงานให้เข้าใจถึงพิษภัยของยาเสพติดโดยการจัดการอบรม จัดนิทรรศการ   ในวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันงดสูบบุหรี่โลก , วันต่อต้านยาเสพติดโลก , สัปดาห์ความปลอดภัย ในการทำงาน

3. การตรวจหาสารเสพติดในพนักงาน และจัดส่งพนักงานเข้ารับการบำบัดเมื่อพบผู้เสพ

4. จัดแข่งขันกีฬาต้านยาเสพติด  เพื่อสร้างเสริมสุขภาพให้แก่พนักงานเป็นประจำทุกปี ทั้งจัดแข่งขันภายในบริษัทฯ และส่งทีมไปร่วมแข่งขันกับหน่วยงานในท้องถิ่น

5. ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อรณรงค์การลด ละ เลิก และต่อต้านยาเสพติดทุกประเภท เช่น  ร่วมเป็นเครือข่ายองค์กรงดเหล้า

6. ศึกษาดูงานด้านการบำบัดรักษายาเสพติด  ณ ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด  เชียงใหม่

หมายเลขบันทึก: 377796เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2010 14:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 22:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ไชยวัฒน์ อินญาวิเลิศ

เนื้อหาดีมาก

ขอถามว่า การที่จะให้สถานประกอบการ กำหนดเป็นนโยบายทำอย่างไร

เรียน คุณไชยวัฒน์ หากสนใจจะส่งเอกสารเพิ่มเติมไปให้ ส่งที่อยู่ให้ด้วยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท