สัมภาษณ์อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม


ศ. นพ. วุฒิชัย ธนาพงศธร สัมภาษณ์ อธิการบดี เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัย

ประเด็นการสัมภาษณ์ ดังนี้

1. สภามหาวิทยาลัย มีนโยบายในการนำแผนกลยุทธ์ทางการเงิน มาใช้ในการกำกับ ควบคุมคุณภาพและผลการดำเนินงานของคณะและหน่วยงาน

2. มหาวิทยาลัยมีดารวิเคราะห์ข้อมูลการเงินเพื่อใช้ในการบริหารจัดการ เช่น การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต (Unit cost) ของทุกคณะและหน่วยงาน และนำมาประกอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณตามผลการดำเนินงาน

3. ระบบการประเมินผู้บริหาร สภามหาวิทยาลัยประเมินผลการปฏิบัติงานของอธิการบดี และอธิการบดี และอธิการบดีประเมินผลการประฏิบัติงานของรองอธิการบดี คณบดีหรือเทียบเท่า และผู้อำนวยการกอง โดยจะพิจารณาจากผลการปฏิบัติงาน ผลการประกันคุณภาพ ผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรอง (ก.พ.ร.) และผลการดำเนินงานด้านอื่นๆ เช่น การอุทิศตนต่อสาธารณะ เป็นต้น รวมทั้งจัดให้มีการมอบรางวัลสำหรับผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานที่ดี แต่ยังไม่ได้จัดระบบการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน

4. การประเมินสมรรถนะผู้บริหารเพื่อนำไปสู่การพัฒนา มีการมอบหมายให้งานวิจัยสถาบันดำเนินการศึกษาวิจัย

5. แผนกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัย และแผนกลยุทธ์การเงินของมหาวิทยาลัยไม่ได้ทำในช่วงเวลาเดียวกัน ทำให้การกำหนดกิจกรรมการดำเนินงานและการจัดสรรงบประมาณไม่สอดคล้องกัน

6. มีการกำหนดนโยบายสนับสนุนให้บุคลากรได้ไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งกำหนดมาตรการ เพื่อกระตุ้นให้อาจารย์ได้มีตำแหน่งทางวิชาการ และบุคลากรสายสนับสนุนมีตำแหน่งชำนาญการเพิ่มขึ้น

7. มีการปรับปรุงภูมิทัศน์และระบบสาธารณูปการ เพื่อสร้างบรรยากาศภายในมหาวิทยาลัย ให้เอื้อต่อการเรียนการสอน และการพัฒนานักศึกษา

ข้อเสนอแนะจากประธานกรรมการประเมินฯ

1. ควรกำหนดอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยให้ชัดเจน และทบทวนปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์ ตัวบ่งชี้ ค่าเป้าหมาย และจำนวนที่เหมาะสมอย่างชัดเจน

2. ควรจัดทำแผนการบริหารบุคลากรสายวิชาการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

3. ควรปรับโครงสร้างการบริหารงานที่กำหนดไว้ในรายงานการประเมินตนเอง โดยกรรมการที่แต่งตั้งโดยสภามหาวิทยาลัย ควรกำหนดโครงสร้างในการเป็นที่ปรึกษาในด้านการบริหารงานให้แก่มหาวิทยาลัย เช่น คณะกรรมการบริหารงานบุคคล คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมหาวิทยาลัย และคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการมหาวิทยาลัย เป็นต้น

น้ำหนึ่ง

22 ก.ค. 53 

หมายเลขบันทึก: 377788เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2010 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 01:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีครับ   สิ่งที่เตรียมคำตอบอีกประเด็นหนึ่งคือวิจัยสถาบันครับ  อาจารย์หรือแต่ละคณะได้มีการทำวิจัยสถาบันไว้มากน้อยแค่ไหน  เรื่องใดบ้าง  ซึ่งใน 9 องค์ประกอบมีปรากฏในรายละเอียด  ซึ่งถ้ามีการเตรียมคำตอบไว้จะดีมากครับ

เรียนนักมากอย่าลืมดูแลสุขภาพด้วยน่ะคับ

อ่านการดูแลสุขภาพของผมได้

ยินดีที่รู้จักคะคุณธนา

    งานวิจัยของมหาวิทยาลัยมีค่อนข้างมากและจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะการบัญชีฯ คณะเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ ในฐานข้อมูล Scopus เรามี 600 เรื่อง แต่ท่านอธิการจั้งเป้าหมายไว้ที่ 3000 ถึงจะสามารถประกาศว่าเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยได้ อีกทั้งมหาวิทยาลัยให้การสนับสนุนงบประมาณด้านการวิจัยค่อนข้างมาก ยกตัวอย่างเช่น คณะศึกษาศาสตร์ ได้รับสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยและภายนอกรวม 300,000 บาท/คน

ขอให้ได้คนดีเพื่อ มหาลัยฯ จริงๆด้วยเถอะ...

คนดีไม่จำเป็นต้องเก่ง เพียงเข้าใจ+รอบรู้ ก็เพียงพอแล้ว..

สวัสดีครับ

เรียนรู้จากผู้นำ ช่วยต่อยอดความคิดได้หลายอย่าง ครับ

ยินดีที่ได้รู้จักคะ คุณราชิต

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งคะ ขอให้เป็นคนดี และทำทุกอย่างเพื่อมหาวิทยาลัย แล้วทุกๆอย่างก็จะตามมาคะ

อธิการท่านนี้ ผศ. ดร. ศุภชัย สมัปปิโต ท่านเป็นคนดีคะ เป็นบุคลากร มมส โดยแท้จริง ท่านจึงเข้าใจบริบทของ มมส ได้เป็นอย่างดีคะ

ยินดีที่ได้รู้จักคะ อาจารย์หมอ

ใช่คะ ในบางเรื่องหนึ่งก็ยังคิดไม่ออกเลยว่าทำได้ แล้วจะต้องทำอย่างไร การเรียนรู้จากผู้นำ จะทำให้เรามีประสบการณ์มากขึ้นคะ และกล้าคิด กล้าแสดงออกทางความคิดมากขึ้นคะ แต่บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่ยาก และอาจจะเหมือนฝัน แต่ถ้าเราร่วมมือกัน มันก็จะสำเร็จลงได้คะ

ขอบคุรมากคะที่แวะมาเข้าชม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท