การพัฒนารูปแบบการเรียนบนเว็บแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตปริญญาบัณฑิต.


การพัฒนารูปแบบการเรียนบนเว็บแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตปริญญาบัณฑิต.

ปณิตา  วรรณพิรุณ : การพัฒนารูปแบบการเรียนบนเว็บแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหา
เป็นหลักเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตปริญญาบัณฑิต. (DEVELOPMENT OF A PROBLEM-BASED BLENDED LEARNING MODEL
TO DEVELOP UNDERGRADUATE STUDENTS’ CRITICAL THINKING) 
อ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก : รศ.ดร.สุกรี รอดโพธิ์ทอง, อ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม :
รศ.ดร.วิชุดา รัตนเพียร, 390 หน้า.

 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนบนเว็บแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  โดยมีขั้นตอนการวิจัยออกเป็น 4 ขั้นตอนคือ  1) การศึกษากรอบแนวคิดในการพัฒนารูปแบบการเรียนบนเว็บแบบผสมผสานฯ  2) การพัฒนารูปแบบการเรียนบนเว็บแบบผสมผสานฯ  3) การศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนบนเว็บแบบผสมผสานฯ  4) การนำเสนอรูปแบบการเรียนบนเว็บแบบผสมผสานฯ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเพื่อวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ คือ แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Cornell Critical Thinking Test Level Z)  
กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต  จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ที่ลงทะเบียนวิชาการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา  จำนวน 38  คน  ระยะเวลาในการทดลอง 13 สัปดาห์  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  t-Test Dependent

            ผลการวิจัย  พบว่า

  1. องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนบนเว็บแบบผสมผสานฯ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ
    คือ 1) หลักการของรูปแบบ  2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ  3) วิธีการและกิจกรรมการเรียนการสอน  และ 4) การวัดและการประเมินผล;  วัตถุประสงค์ของรูปแบบคือเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  โดยกระบวนการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการเตรียมการก่อนการเรียนการสอน และ
    2) ขั้นการจัดกระบวนการเรียนการสอน  การวัดและประเมินผลใช้การวัดพัฒนาการของการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการประเมินตามสภาพจริง
  2. นิสิตปริญญาบัณฑิตที่เรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีคะแนนความคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนการเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนิสิตมีความคิดเห็นว่าการเรียนตามรูปแบบฯที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
  3. ผู้ทรงคุณวุฒิ  5 ท่าน  ทำการประเมินรูปแบบการเรียนการสอนแล้วมีความคิดเห็นว่า  รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นนั้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมาก

                                                                                

อ้างอิงจาก

ปณิตา วรรณพิรุณ. 2551.  การพัฒนารูปแบบการเรียนบนเว็บแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตปริญญาบัณฑิต.  วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ภาควิชาหลักสูตร การสอนและเทคโนโลยีการศึกษา  คณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หมายเลขบันทึก: 375420เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2010 18:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

สวัสดีครับ อาจารย์ ดร.ปณิดา เป็นบทความทางวิชาการที่เป็นประโยชน์สำหรับบัณฑิตศึกษาอย่างกระผมมากเลยครับ พอดีกระผมกำลังจะทำวิทยานิพนธ์ ในเทอมหน้าพอดีเลยครับ เทอมนี้กำลังคิดหัวข้อวิทยานิพนธ์อยู่ ได้อ่านบทความทางวิชาการของอาจารย์แล้วรู้สึกว่าเป็นประโยชน์สำหรับกระผมมากเลยครับ

@ อภิชาต ธิมาชัย

สวัสดีค่ะ

หากมีอะไรที่อาจารย์ช่วยได้ บอกได้เลยนะคะ

ยินดีร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันค่ะ ^^

@ อ.ดร.ปณิดา
ขอขอบพระคุณล่วงหน้าเลยครับท่านอาจารย์ ในภายภาคหน้ากระผมต้องขอรบกวนอาจารย์ช่วยเป็นอย่างยิ่งเลยครับ ขอรบกวนล่วงหน้าแล้วกันนะครับ ยินดีที่ได้แบ่งปันเอาความรู้ประประสบการณ์ร่วมเช่นกันครับ

สวัสดีครับอาจารย์ คือผมทำการสอนวิชากฎหมายที่ประชาชนควรรู้ โดยใช้ให้นักเรียน

ศึกษาจากบล็อคประจำวิชา มีการให้นักเรียนทำแบบทดสอบผ่านต้องอินเตอร์เน็ต

ส่งงานผ่านทางบล็อกของนักเรียนทางหนึ่ง กับการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติสัปดาห์ละ

1 คาบครับ อย่างนี้ถือว่าเป็นการสอนแบบผสมผสานแล้วใช่ไหมครับ

คราวนี้ถ้าตอนปลายภาคเรียนนำนักเรียนไปศึกษาดูงาน สำนักงานอัยการ ศาล สถานีตำรวจ เรือนจำ ฯ อย่างนี้ก็เพิ่มวิธีสอนอีกแบบเข้าไปผสมผสานด้วย คิดว่าน่าจะทำให้นักเรียนมีความรู้มากยิ่งขึ้น

ในขณะเดียวกันก็สอนโดยสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม นำข่าวสารทั้งด้านดี ไม่ดีของเด็กและเยาวชนมาให้นักเรียน นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น ครูแต่งเป็นคำกลอนสอนใจ เกี่ยวกับประเด็นข่าวเหล่านั้น ซึ่งหากนำเสนอในชั้นเรียนไม่ได้ ก็นำไปเผยแพร่ไว้ใน

บล็อก

อาจารย์มองดูแล้ว มันจะวุ่นวายไปไหมครับ ช่วยให้คำแนะนำด้วยครับ คือตอนนี้

ครูการุณย์ สุวรรณรักษา

สวัสดีครับอาจารย์ คือผมทำการสอนวิชากฎหมายที่ประชาชนควรรู้ โดยใช้ให้นักเรียน

ศึกษาจากบล็อคประจำวิชา มีการให้นักเรียนทำแบบทดสอบผ่านต้องอินเตอร์เน็ต

ส่งงานผ่านทางบล็อกของนักเรียนทางหนึ่ง กับการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติสัปดาห์ละ

1 คาบครับ อย่างนี้ถือว่าเป็นการสอนแบบผสมผสานแล้วใช่ไหมครับ

คราวนี้ถ้าตอนปลายภาคเรียนนำนักเรียนไปศึกษาดูงาน สำนักงานอัยการ ศาล สถานีตำรวจ เรือนจำ ฯ อย่างนี้ก็เพิ่มวิธีสอนอีกแบบเข้าไปผสมผสานด้วย คิดว่าน่าจะทำให้นักเรียนมีความรู้มากยิ่งขึ้น

ในขณะเดียวกันก็สอนโดยสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม นำข่าวสารทั้งด้านดี ไม่ดีของเด็กและเยาวชนมาให้นักเรียน นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น ครูแต่งเป็นคำกลอนสอนใจ เกี่ยวกับประเด็นข่าวเหล่านั้น ซึ่งหากนำเสนอในชั้นเรียนไม่ได้ ก็นำไปเผยแพร่ไว้ใน

บล็อก

อาจารย์มองดูแล้ว มันจะวุ่นวายไปไหมครับ ช่วยให้คำแนะนำด้วยครับ คือตอนนี้

ครูการุณย์ สุวรรณรักษา

สวัสดีครับอาจารย์ คือผมทำการสอนวิชากฎหมายที่ประชาชนควรรู้ โดยใช้ให้นักเรียน

ศึกษาจากบล็อคประจำวิชา มีการให้นักเรียนทำแบบทดสอบผ่านต้องอินเตอร์เน็ต

ส่งงานผ่านทางบล็อกของนักเรียนทางหนึ่ง กับการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติสัปดาห์ละ

1 คาบครับ อย่างนี้ถือว่าเป็นการสอนแบบผสมผสานแล้วใช่ไหมครับ

คราวนี้ถ้าตอนปลายภาคเรียนนำนักเรียนไปศึกษาดูงาน สำนักงานอัยการ ศาล สถานีตำรวจ เรือนจำ ฯ อย่างนี้ก็เพิ่มวิธีสอนอีกแบบเข้าไปผสมผสานด้วย คิดว่าน่าจะทำให้นักเรียนมีความรู้มากยิ่งขึ้น

ในขณะเดียวกันก็สอนโดยสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม นำข่าวสารทั้งด้านดี ไม่ดีของเด็กและเยาวชนมาให้นักเรียน นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น ครูแต่งเป็นคำกลอนสอนใจ เกี่ยวกับประเด็นข่าวเหล่านั้น ซึ่งหากนำเสนอในชั้นเรียนไม่ได้ ก็นำไปเผยแพร่ไว้ใน

บล็อก

อาจารย์มองดูแล้ว มันจะวุ่นวายไปไหมครับ ช่วยให้คำแนะนำด้วยครับ คือตอนนี้

ครูการุณย์ สุวรรณรักษา

สวัสดีครับอาจารย์ คือผมทำการสอนวิชากฎหมายที่ประชาชนควรรู้ โดยใช้ให้นักเรียน

ศึกษาจากบล็อคประจำวิชา มีการให้นักเรียนทำแบบทดสอบผ่านต้องอินเตอร์เน็ต

ส่งงานผ่านทางบล็อกของนักเรียนทางหนึ่ง กับการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติสัปดาห์ละ

1 คาบครับ อย่างนี้ถือว่าเป็นการสอนแบบผสมผสานแล้วใช่ไหมครับ

คราวนี้ถ้าตอนปลายภาคเรียนนำนักเรียนไปศึกษาดูงาน สำนักงานอัยการ ศาล สถานีตำรวจ เรือนจำ ฯ อย่างนี้ก็เพิ่มวิธีสอนอีกแบบเข้าไปผสมผสานด้วย คิดว่าน่าจะทำให้นักเรียนมีความรู้มากยิ่งขึ้น

ในขณะเดียวกันก็สอนโดยสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม นำข่าวสารทั้งด้านดี ไม่ดีของเด็กและเยาวชนมาให้นักเรียน นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น ครูแต่งเป็นคำกลอนสอนใจ เกี่ยวกับประเด็นข่าวเหล่านั้น ซึ่งหากนำเสนอในชั้นเรียนไม่ได้ ก็นำไปเผยแพร่ไว้ใน

บล็อก

อาจารย์มองดูแล้ว มันจะวุ่นวายไปไหมครับ ช่วยให้คำแนะนำด้วยครับ คือตอนนี้

ครูการุณย์ สุวรรณรักษา

การุณย์ สุวรรณรักษา

สวัสดีครับอาจารย์ คือผมทำการสอนวิชากฎหมายที่ประชาชนควรรู้ โดยใช้ให้นักเรียน

ศึกษาจากบล็อคประจำวิชา มีการให้นักเรียนทำแบบทดสอบผ่านต้องอินเตอร์เน็ต

ส่งงานผ่านทางบล็อกของนักเรียนทางหนึ่ง กับการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติสัปดาห์ละ

1 คาบครับ อย่างนี้ถือว่าเป็นการสอนแบบผสมผสานแล้วใช่ไหมครับ

คราวนี้ถ้าตอนปลายภาคเรียนนำนักเรียนไปศึกษาดูงาน สำนักงานอัยการ ศาล สถานีตำรวจ เรือนจำ ฯ อย่างนี้ก็เพิ่มวิธีสอนอีกแบบเข้าไปผสมผสานด้วย คิดว่าน่าจะทำให้นักเรียนมีความรู้มากยิ่งขึ้น

ในขณะเดียวกันก็สอนโดยสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม นำข่าวสารทั้งด้านดี ไม่ดีของเด็กและเยาวชนมาให้นักเรียน นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น ครูแต่งเป็นคำกลอนสอนใจ เกี่ยวกับประเด็นข่าวเหล่านั้น ซึ่งหากนำเสนอในชั้นเรียนไม่ได้ ก็นำไปเผยแพร่ไว้ใน

บล็อก

อาจารย์มองดูแล้ว มันจะวุ่นวายไปไหมครับ ช่วยให้คำแนะนำด้วยครับ คือตอนนี้

ครูการุณย์ สุวรรณรักษา

การุณย์ สุวรรณรักษา

สวัสดีครับอาจารย์ คือผมทำการสอนวิชากฎหมายที่ประชาชนควรรู้ โดยใช้ให้นักเรียน

ศึกษาจากบล็อคประจำวิชา มีการให้นักเรียนทำแบบทดสอบผ่านต้องอินเตอร์เน็ต

ส่งงานผ่านทางบล็อกของนักเรียนทางหนึ่ง กับการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติสัปดาห์ละ

1 คาบครับ อย่างนี้ถือว่าเป็นการสอนแบบผสมผสานแล้วใช่ไหมครับ

ปลายภาคเรียนนำนักเรียนไปศึกษาดูงาน สำนักงานอัยการ ศาล สถานีตำรวจ เรือนจำ ฯ

สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม

อาจารย์มองดูแล้ว มันจะวุ่นวายไปไหมครับ ช่วยให้คำแนะนำด้วยครับ คือตอนนี้

ครูการุณย์ สุวรรณรักษา

การุณย์ สุวรรณรักษา

สวัสดีครับอาจารย์ คือผมทำการสอนวิชากฎหมายที่ประชาชนควรรู้ โดยใช้ให้นักเรียน

ศึกษาจากบล็อคประจำวิชา มีการให้นักเรียนทำแบบทดสอบผ่านต้องอินเตอร์เน็ต

ส่งงานผ่านทางบล็อกของนักเรียนทางหนึ่ง กับการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติสัปดาห์ละ

1 คาบครับ อย่างนี้ถือว่าเป็นการสอนแบบผสมผสานแล้วใช่ไหมครับ

ปลายภาคเรียนนำนักเรียนไปศึกษาดูงาน สำนักงานอัยการ ศาล สถานีตำรวจ เรือนจำ ฯ

สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม

อาจารย์มองดูแล้ว มันจะวุ่นวายไปไหมครับ ช่วยให้คำแนะนำด้วยครับ

ครูการุณย์ สุวรรณรักษา

การุณย์ สุวรรณรักษา

สวัสดีครับอาจารย์ปณิตา คือที่สอนนักเรียนใช้ blog ประจำวิชา สอนในห้องเรียนตามปกติ สอดแทรกคุณธรรมในชั้นเรียนหรือใน blog ปลายภาคนำนักเรียนศึกษาดูงาน ศาล อัยการ เรือนจำ สถานีตำรวจฯ คือสอนกฎหมาย อย่างนี้เข้าข่ายผสมผสานหรือเปล่าครับ คือตอนนี้กำลังใช้อยู่ อยากให้อาจารย์แนะนำเกี่ยวกับรูปแบบเพิ่มเติม หรือประเด็นที่จะทำวิจัย ในทรรศนะของอาจารย์นะครับ

ขอบคุณครับ

ครูการุณย์ สุวรรณรักษา

การุณย์ สุวรรณรักษา

สวัสดีครับอาจารย์ปณิตา คือที่สอนนักเรียนใช้ blog ประจำวิชา สอนในห้องเรียนตามปกติ สอดแทรกคุณธรรมในชั้นเรียนหรือใน blog ปลายภาคนำนักเรียนศึกษาดูงาน ศาล อัยการ เรือนจำ สถานีตำรวจฯ คือสอนกฎหมาย อย่างนี้เข้าข่ายผสมผสานหรือเปล่าครับ คือตอนนี้กำลังใช้อยู่ อยากให้อาจารย์แนะนำเกี่ยวกับรูปแบบเพิ่มเติม หรือประเด็นที่จะทำวิจัย ในทรรศนะของอาจารย์นะครับ

ขอบคุณครับ

ครูการุณย์ สุวรรณรักษา

การุณย์ สุวรรณรักษา

สวัสดีครับอาจารย์ปณิตา คือที่สอนนักเรียนใช้ blog ประจำวิชา สอนในห้องเรียนตามปกติ สอดแทรกคุณธรรมในชั้นเรียนหรือใน blog ปลายภาคนำนักเรียนศึกษาดูงาน ศาล อัยการ เรือนจำ สถานีตำรวจฯ คือสอนกฎหมาย อย่างนี้เข้าข่ายผสมผสานหรือเปล่าครับ คือตอนนี้กำลังใช้อยู่ อยากให้อาจารย์แนะนำเกี่ยวกับรูปแบบเพิ่มเติม หรือประเด็นที่จะทำวิจัย ในทรรศนะของอาจารย์นะครับ

ขอบคุณครับ

ครูการุณย์ สุวรรณรักษา

@ การุณย์ สุวรรณรักษา

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์การุณย์

ก่อนอื่นขอนำเสนอจำกัดความของการเรียนแบบผสมผสาน  (blended learning)  นะคะ

ได้มีผู้ให้แนวคิดของการเรียนแบบผสมผสาน  (blended learning)  ไว้แตกต่างกัน 
โดยสามารถจัดกลุ่มได้  4  แนวคิด  ดังนี้ค่ะ  (Driscoll, 2002) 

1. การผสมผสานเทคโนโลยีการเรียนการสอนบนเว็บ (web-based technology) กับการเรียนในชั้นเรียนแบบดั้งเดิม  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการจัดการศึกษา  (Singh, 2005)

2. การผสมผสานวิธีสอนที่หลากหลายเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  ซึ่งอาจะใช้หรือไม่ใช้เทคโนโลยีการเรียนการสอนก็ได้ (Bonk and Graham, 2004) 

3. การผสมผสานเทคโนโลยีการเรียนการสอนทุกรูปแบบกับการเรียนการสอนในชั้นเรียนแบบดั้งเดิมที่มีการเผชิญหน้าระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน  ซึ่งเป็นมุมมองที่มีผู้ยอมรับกันอย่างแพร่หลายมากที่สุด  (Smith, 2001; The Node Learning Technologies Network, 2001; Bersin, 2004; Rovai and Jordan, 2004; Voos, 2003; Procter,2003; Thorne, 2003; Harriman, 2004;  New Jersey Institute of Technology,2005; New South Wales Department of Education and Training,2005) 

4.  การผสมผสานเทคโนโลยีการเรียนการสอนกับการทำงานจริง  (Driscoll, 2002; Bersin, 2004)

จากแนวคิดดังที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่าการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นหลักความยืดหยุ่น  มุ่งเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยการสร้างสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศในการเรียนรู้ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง  มีการผสมผสานยุทธวิธีในการเรียนการสอนที่หลากหลายเข้าด้วยกัน  ทั้งวิธีการสอนของผู้สอน  รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน  ช่องทางการสื่อสาร  และรูปแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน  ผู้เรียนกับผู้เรียน  ผู้เรียนกับเนื้อหา  ผู้เรียนกับบริบทในการเรียนรู้  โดยใช้สื่อการเรียนการสอน  กิจกรรมการเรียนการสอน  และรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลาย ทั้งการเรียนการสอนแบบออนไลน์และการเรียนการสอนแบบเผชิญหน้า  เพื่อตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน  โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนทุกคนสามารถบรรลุเป้าหมายของการจัดการเรียนการสอน

 

ส่วนใหญ่แล้วการนำ  BL  มาใช้ในการเรียนการสอนหรือการฝึกอบรม  จะแบ่งออกเป็น  2 ส่วน

คือ  การเรียนในห้องเรียนปกติ  (F2F)  และการเรียนแบบออนไลน์  (e-Learning)  ค่ะ

 

การนำ e-Learning ไปใช้ประกอบกับการเรียนการสอน สามารถทำได้ 3 ระดับ ตามที่ รศ.ดร.ถนอมพร  นำเสนอไว้ดังนี้นะคะ

1.  สื่อเสริม (Supplementary) หมายถึงการนำ e-Learning ไปใช้ในลักษณะสื่อเสริม กล่าวคือ นอกจากเนื้อหาที่ปรากฏในลักษณะ e-Learning แล้ว ผู้เรียนยังสามารถศึกษาเนื้อหาเดียวกันนี้ในลักษณะอื่นๆ เช่น จากเอกสาร  ประกอบการสอน จากวิดีทัศน์ (Videotape) ฯลฯ การใช้ e-Learning ในลักษณะนี้เท่ากับว่าผู้สอนเพียงต้องการ จัดหาทางเลือกใหม่อีกทางหนึ่งสำหรับผู้เรียนในการเข้าถึงเนื้อหาเพื่อให้ประสบการณ์พิเศษเพิ่มเติมแก่ผู้เรียนเท่านั้น
           2.  สื่อเติม (Complementary) หมายถึงการนำ e-Learning ไปใช้ในลักษณะเพิ่มเติมจากวิธีการสอนในลักษณะอื่นๆ เช่น นอกจากการบรรยายในห้องเรียนแล้ว ผู้สอนยังออกแบบเนื้อหาให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมจาก e-Learning ในความคิดของผู้เขียนแล้ว ในประเทศไทย หากสถาบันใด ต้องการที่จะลงทุนในการนำ e-Learning ไปใช้กับการเรียน การสอนตามปรกติ (ที่ไม่ใช่ทางไกล) แล้ว อย่างน้อยควรตั้งวัตถุประสงค์ในลักษณะของสื่อเติม (Complementary) มากกว่าแค่เป็นสื่อเสริม (Supplementary) เช่น ผู้สอนจะต้องให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาจาก e-Learning เพื่อวัตถุประสงค์ ใดวัตถุประสงค์หนึ่ง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียนในบ้านเราซึ่งยังต้องการคำแนะนำจากครู ผู้สอนรวมทั้งการที่ผู้เรียนส่วนใหญ่ยังขาดการปลูกฝังให้มีความใฝ่รู้โดยธรรมชาติ
           3.  สื่อหลัก (Comprehensive Replacement) หมายถึงการนำ e-Learning ไปใช้ในลักษณะแทนที่ การบรรยายในห้องเรียน ผู้เรียนจะต้องศึกษาเนื้อหาทั้งหมดออนไลน์ ในปัจจุบัน e-Learning ส่วนใหญ่ในต่างประเทศ จะได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นสื่อหลักสำหรับแทนครู ในการสอนทางไกล ด้วยแนวคิดที่ว่า มัลติมีเดีย ที่นำเสนอทาง e-Learning สามารถช่วยในการถ่ายทอดเนื้อหาได้ใกล้เคียงกับการสอนจริงของครูผู้สอนโดยสมบูรณ์ได้

@ การุณย์ สุวรรณรักษา

สำหรับประเด็นที่ท่านอาจารย์ถามมานั้น  ขอร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดังนี้นะคะ

การจัดการเรียนการสอนวิชากฎหมายที่ประชาชนควรรู้ โดยให้นักเรียน ศึกษาจากบล็อคประจำวิชา มีการให้นักเรียนทำแบบทดสอบผ่านอินเทอร์เน็ต  ส่งงานผ่านทางบล็อกของนักเรียนทางหนึ่ง กับการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติสัปดาห์ละ 1 คาบ
จัดเป็นการเรียนแบบผสมผสานหรือไม่  ขึ้นอยู่กับแผนการสอนที่ท่านอาจารย์กำหนดสำหรับการเรียนในแต่ละคาบค่ะ

แผนการสอนแบบ BL  ใช้ e-Learning ในลักษณะแทนที่การสอนแบบบรรยายในห้องเรียน   ซึ่งเป็นสื่อหลัก (Comprehensive Replacement)  และอาจใช้เครื่องมือสนับสนุนการเรียนแบบร่วมมือในบริบทของการเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์  เช่น  weblog  email webboard ร่วมด้วยค่ะ

เรียน อ.ดร.ปณิตา ที่เคารพ

             ผมกำลังศึกษาปริญญาโท วันนี้อาจารย์ให้การบ้านค้นคว้าหัวข้อ การเรียนรู้แบบมีวิจารณญาณ อยากสอบถามอาจารย์ว่าสามารถค้นหาจากแหล่งใดได้บ้าง และมีใครทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้างคับ ค้นหาในอินเตอร์เน็ตไม่เจอเลย เจอแต่หัวข้อ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ไม่ทราบว่าใช่หัวข้อเดียวกันไหมครับ ขอบคุณครับ

@ การุณย์ สุวรรณรักษา
สำหรับประเด็นที่จะนำไปสู่การวิจัยนั้น  ขออนุญาตสอบถามข้อมูลท่านอาจาย์เพื่อหา key words :D เพิ่มเติม  นะคะ

-  ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเรียนการสอนในปัจจุบันของท่านอาจารย์คืออะไรคะ
-  สิ่งที่ท่านอาจารย์ต้องการพัฒนาให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนคืออะไรคะ
-  ขั้นตอนของกิจกรรมการเรีนการสอนใช้เทคนิคอะไรคะ  เช่น การเรียนแบบร่วมมือ / การเรียนแบบสืบสอบ / การเรียนแบบโครงงาน  /  การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก 
-  นักเรียน  ของอาจารย์ระดับชั้นใดคะ

ตัวอย่างเช่น 

1. นักเรียนศึกษาเนื้อหาจากเว็บล๊อก

2.  อาจารย์สรุปประเด็นในห้องเรียน  

3. นักเรียนศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม  

4.นักเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อน ๆ ในกลุ่ม  ผ่านทางห้องสนทนา 

5.  นักเรียนสรุปความคิดเห็นของกลุ่มหรือของตนเองแล้วโพสในเว็บล็อก

เครื่องมือที่ใช้  =  รูปแบบการเรียนแบบผสมผสาน?
เทคนิคการสอน  =  การเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เว็บล๊อก ?
(สอดแทรกคุณธรรมในชั้นเรียนหรือในเว็บล๊อก?)
สิ่งที่ต้องการพัฒนาให้เกิดกับผู้เรียน  คือ =  /ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  /  การคิดสะท้อน  /  ความร่วมมือทางการเรียน  /  การคิดอย่างมีวิจารณญาณ  /  การคิดวิเคราะห์ / คุณธรรม  ?

จากข้อมูลที่ได้ขอนำเสนอหัวข้องานวิจัย คร่าว ๆ ดังนี้นะคะ

-  ผลของการเรียนแบบร่วมมือ บนเว็บแบบผสมผสานโดยใช้เว็บล๊อกเพื่อพัฒนาความร่วมมือทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน...

-  ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานคุณธรรมเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณธรรมของนักเรียน...

-  การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้โครงงานคุณธรรมเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณธรรมของนักเรียน...
 

@ อนุสรณ์
สวัสดีค่ะคุณ อนุสรณ์ 
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ  มาจากคำว่าภาษาอังกฤษ ว่า critical thinking
การเรียนรู้แบบมีวิจารณญาณ  การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  และลักษณะของผู้ที่มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  นั้นได้มีนักวิชาการหลายท่านนำเสนอไว้ค่ะ  เช่น  หนังสือ เรื่องศาสตร์การสอน  ของ อาจารย์ทิศนา แขมมณี ค่ะ

สำหรับวิทยานิพนธ์  ท่านอาจารย์สามารถศึกษาเพิ่มเติมจาก  คำสำคัญ  การคิดอย่างมีวิจารณญาณ  ได้เลยค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ปณิตา

กำลังทำงานวิจัยการคิดขั้นสูงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น..อ่านงานอาจาย์แล้วอยากอ่านฉบับเต็มนะค่ะ...จะลองไปขอสำเนามาอ่านดูค่ะ....และต้องรบกวนอาจารย์ในโอกาสต่อๆไปค่ะ....

ขอบคุณอาจารย์มากครับ

@ noktalay
ด้วยความยินดีเลยค่ะ  มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันนะคะ

@ อนุสรณ์
ด้วยความยินดีค่ะ  หากมีอะไรที่ช่วยได้  บอกได้เลยนะคะ 

 

แล้วพบกันใหม่ค่ะ

สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์ ดร.ปณิตา

ได้อ่านที่โพสต์ไว้แล้ว รู้สึกว่าอาจารย์เก่งมากๆ อยากจะขออ่านฉบับเต็ม ไม่ทราบว่าจะหาอ่านได้ยังไงคะ

อาจารย์สามารถส่งมาให้อ่านเป็นไฟล์แนบกับอีเมล์ได้ไหมคะ เพราะตอนนี้อยู่ต่างประเทศค่ะ ถ้ายังไง รบกวนอาจารย์ช่วยตอบกลับด้วยนะคะ ขอบพระคุณมากค่ะ

อัญชลี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท