จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

ฝันคุณหรือฝันใคร


คืนนี้เปิดคอมพิวเตอร์ ตั้งใจว่าจะหยิบเอางานมาสะสางต่อครับ แต่คิดไปคิดว่า วันนี้ทั้งวันแล้วที่นั่งหน้าคอมพิวเตอร์เคลียร์งาน เกือบๆ จะไม่ได้คุยกับใครเลยครับ (ออ.ก็ต้องมีบ้างแหละที่มีคนแวะเวียนมาคุยด้วย) แล้วคืนนี้จะทำงานต่ออีกหรือนี่ เลยเปลี่ยนใจมาเขียนบล็อกดีกว่า (ความจริงก็ไม่ดีเท่าไรหรอกครับ เพราะงานยังไม่เสร็จ ฮา)

ตอนนี้สำหรับงานผมจริงๆ ผมมีโจทย์ปัญหาสำคัญอยู่หนึ่งครับ คือ การสื่อสารเป้าหมาย เป้าความสำเร็จและวิธีการไปยังทุกภาคส่วน ทำอย่างไร? ถ้าจะตั้งคำถามว่า แล้วกระบวนการตั้งเป้าหมายไม่ได้เริ่มด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมหรือครับ คำตอบคือ ไม่ เกือบทุกกระบวนการผมเน้นการมีส่วนร่วม แล้วทำไมผมยังกังวลเรื่องการสื่อสารไปยังทุกภาคส่วนในเรื่องของเป้าหมายความสำเร็จขององค์กรอีก ฮือ ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน

เคยฟัง ศ.ดร.อิสสรา (ลืมนามสกุลท่านแล้วครับ) คุยให้ฟังว่า ท่านเคยไปคุยศึกษาองค์กรๆ หนึ่งที่ประสบความล้มเหลว ท่านพบว่า ปัจจัยความล้มเหลวสำคัญขององค์กรนี้คือ คนในองค์กรขาดความฝันในเรื่องความเจริญก้าวหน้าในอาชีพ พนักงานขององค์กรนั้นหวังแค่มีงานทำ หรืออยากมากก็แค่หัวหน้างาน ไม่ได้คิดไกลไปมากกว่านี้ ออ หรือไม่ก็อาจจะคิดต่อว่า เมื่อไรฉันได้งานที่อื่น ฉันก็จะขอบ้ายบ่ายลาก่อนนะองค์กรจ๋า อะไรทำนองนี้แหละ 

องค์กรจะมุ่งสู่ความสำเร็จได้ ด้วยความสำเร็จที่เกิดขึ้นกับคนในองค์กร ยิ่งคนในองค์กรประสบความสำเร็จในอาชีพที่ตนเองทำเท่าไร ก็หมายถึงองค์กรประสบความสำเร็จหรือก้าวหน้าขึ้นเป็นเท่าทวีคูณครับ

ถ้าคนในองค์กรคิดเพียงว่า มีงานทำ มีเงินเดือนใช้ ไม่ได้ขึ้นเงินเดือนก็ไม่เป็นไร (รับจ๊อบอื่นได้) อยู่กี่ปีก็ได้ ขอไม่โดนลดตำแหน่ง ไม่ได้ขึ้นตำแหน่งสูงๆ ไม่มีปัญหา คำตอบคือ นี่แหละครับความล้มเหลวขององค์กร 

ประเด็นนี้ทำให้ผมนึกถึงแนวคิดหนึ่งของท่านอธิการบดีครับ ท่านมักจะพูดบ่อย (ในแนวนี่ครับ) ว่า ริสกี (ปัจจัยยังชีพ) ของมหาวิทยาลัยมาจากริสกีของบุคลากร มหาวิทยาลัยเป็นทางผ่านของริสกีของบุคลากร ถ้าบุคลากรมีรายได้เยอะๆ ก็หมายถึงมหาวิทยาลัยมีรายได้เยอะเช่นกันครับ ในมุมมองเดียวกันครับ ถ้าบุคลากรไม่ได้เจริญก้าวหน้าไปไหนเลย ก็หมายถึงมหาวิทยาลัยไม่ได้ไปไหนเลยเช่นกัน

ตอนนี้ ผมจึงมองความสำเร็จของมหาวิทยาลัยอยู่ที่ความฝันในความสำเร็จของทุกคนครับ ใครที่ทำงานมาหลายปี แต่ไม่เคยได้ขยับเขยือนงานเลย สองขั้นนานๆ มาที ลองสร้างฝันใหม่ได้มัยครับว่า ปีนี้ฉันต้องได้เลื่อนขั้น ฉันต้องได้ขยับขยายหน้าที่แน่ๆ ใครที่เป็นอาจารย์มาแล้วหลายปี ก็ลองสร้างฝันใหม่บ้างครับว่า ปีหน้าฉันจะไม่ได้เป็นอาจารย์แล้ว (ไม่ได้แย่ลงนะครับ) เพราะปีหน้าฉันจะได้เป็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์แล้ว ฮือ ถ้าคิดกันอย่างนี้ มหาวิทยาลัยก็ไม่หยุดนิ่งเรื่องคุณภาพครับ

เมื่ออยู่เป็นหนึ่งในองค์กร ความฝันของคุณสำคัญกับองค์กรมากครับ

หมายเลขบันทึก: 375123เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2010 21:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

บางครั้งหากเราเอาคำถามที่ครูถามเราตอนเด็กว่า "ความฝันของเราคืออะไร" มาเปิดประเด็นให้บุคคลากรในมหาวิทยาลัยดูบ้างอีกสักครั้ง คงจะดีนะครับ เพราะผมค่อนข้างเห็นด้วยในมุมของอาจารย์กับการพัฒนามหาวิทยาลัยอย่างไม่หยุดยั้ง

           อยู่กันแบบเรื่อยๆ สอนแบบเรื่อยๆ สงสารองค์กรนะครับ

ดูแลสุขภาพด้วยครับ เป็นกำลังใจให้เสมอครับ

ขอบคุณครับอาจารย์ เสียงเล็กๆ فؤاد 

เสร็จจากเขียนบลอก เช้าวันต่อมาผมก็ลองไปนั่งคุยดูที่สำคัญ เกิดข้อคิดอะไรเยอะแยะเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท