ไม่จำเป็น ต้อง บอกค่า KPI ทุกตัวให้พนักงานทราบ


KPI ไม่ได้ตามเกณฑ์ อย่าไป"ตำหนิ"พนักงาน แต่ ผู้บริหารต้องหา "มุข" ใหม่ มายั่วพนักงานให้คึกทำงาน

ค่า KPI  หลายๆ ตัว   เหล่าคุณเอื้อ คุณอำนวย  วัดเอง  ดูกันเอง

หาก ได้ผลออกมา ต่ำกว่าเกณฑ์   ก็อย่าไป ดุพนักงาน  อย่าไปหา คนผิด

เราในฐานะ ผู้บริหาร คุณเอื้อ คุณอำนวย  ต้องหา "มุข" ใหม่   เราต้องศึกษาพฤติกรรมของพนักงานมากขึ้น หาต้นตอว่าอะไรทำให้พนักงานฟอร์มตก   อะไรที่พนักงานไม่รู้  กลัว  ฝืนความรู้สึก ฯลฯ

***********************

KPI  บางตัว   สวิง บวกลบ กับเกณฑ์ได้ 

การที่เราพยายาม ทำให้ได้  เกินเกณฑ์เสมอไป   อาจจะได้ ผลเลวร้ายด้านอื่นมาด้วย   เช่น  กำลังผลิตต้องได้ 90%    พนักงานทำได้ ครั้งแรก คือ 80 %  แต่ เกณฑ์ คือ 90%  ดังนั้น จึงเร่งในเดือนต่อไปเป็น 100 %  เพื่อ เอาใจ คนตรวจ KPI   

ผลตามมา คือ เครื่องจักรเสื่อม เพราะ อัด 100 มันแรงไป

***************************

อุปมา  KPI เป็นมิเตอร์รถ

 ขับรถ   เกณฑ์ ห้ามเกิน 50 กม / ชม 

ถ้าทางว่าง ปลอดภัย  อาจจะขับเกิน 50 ก็ได้ (แต่ ไม่ผิด กฏหมาย ที่ 55 )    ถ้าทางไม่ว่าง ไม่ปลอดภัย  ทางลื่น  รถไม่ดี  ก็อาจจะขับต่ำกว่า 50 ก็ได้ 

นั่นคือ  ตั้ง เกณฑ์  KPI  ควร  ปรับตามสถานการณ์   vary ได้

ลองคิดดูสิว่า ถ้าเรา เอาแต่ มอง เกณฑ์ (อุปมาดูมิเตอร์)ทั้งวัน  เราจะเครียด คนโดยสารก็เครียด  คนขับก็ไม่ได้ดูทาง  ฯลฯ

***********************

อย่าไปเน้น KPI  ที่เป็น results

อยากให้เน้น KPI  ที่เป็น Process  ที่เป็น behavior

และ เน้น Outcome ที่เน้น การเรียนรู้ของคน  เน้น Quality of Life ของคน  เน้น พัฒนาชุมชน ชาติ 

**************************

 

คำสำคัญ (Tags): #kpi#qualityoflife#outcome#humanbehavior
หมายเลขบันทึก: 37470เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2006 16:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ความคิดแบบนี้น้อยที่จะอยู่ในวงการสาธารณสุขเลยครับอาจารย์

    ขอชมเชยท่านในแนวคิดที่ว่า "KPI ไม่ได้ตามเกณฑ์ อย่าไป"ตำหนิ"พนักงาน แต่ ผู้บริหารต้องหา "มุข" ใหม่ มายั่วพนักงานให้คึกทำงาน" ถ้าผู้บริหารโรงเรียนนำมาประยุกต์ใช้ในโรงเรียน  จะทำให้โรงเรียนมีชีวิต  ไม่ใช่โรงเรียนที่ตายแล้วและกำลังจะตาย  ผู้บริหารโรงเรียนบางท่าน ชอบบริหารโรงเรียน  โดยผลักภาระ       รับผิดชอบไปให้ผู้ใต้บังคับบัญชา  ภายใต้หลักที่ไร้อุดมการณ์ที่ว่า " ทราบ" "ชอบ"  "มอบผู้ช่วย"   "เห็นด้วย ผู้ช่วยเอาไปทำ"พองานไม่ประสบความสำเร็จก็ว่า  มอบหมายไปไม่ดูแล ฯลฯ

ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต้องมองไกลเพื่อพาองค์กรมุ่งสู่วิสัยทัศน์ ซึ่งท่านก็จะคุ้นกับการมองจากที่สูงลงมา จึงอาจจะไม่ค่อยใส่ใจในรายละเอียด เพราะผู้บริหารระดับกลาง/ระดับต้นต้องจัดการตาม competencies ของตนอยู่แล้ว ดังนั้นชะตากรรมของลูกน้องอาจขึ้นอยู่กับผู้บริหารระดับกลาง/ระดับต้นนั่นแหละ ถ้าเจอผู้บริหารระดับกลาง/ระดับต้นที่ดีก็ถือว่าเป็นโชคดีของลูกน้อง (ผู้บริหารก็ได้บารมีสะสมอาจพาข้ามภพชาติไปได้ด้วย) แต่ถ้าเจอประเภทอำนาจนิยมก็ถือว่าเป็นกรรมที่ทำร่วมกันมาก่อกรรมกันต่อหรือใช้กรรมต่อกันก็ว่ากันไป

ผู้บริหารประเภทอำนาจนิยม ท่านมักจะเน้นที่ results แต่จะไม่สนใจการเรียนรู้ของคน ไม่สนใจเรื่อง Quality of Life   ของคน และองค์กร

จึงนับว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายคุณกิจ คุณอำนวยถ้าต้องเกี่ยวข้องกับผู้บริหารประเภทนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท