ระวัง โรคนิ้วล็อก 30 อาชีพเสี่ยง


ภูมิปัญญาไทยกับการรักษาโรคใกล้ตัว ใครไม่เคยเป็น ไม่รู้ว่ามันทรมารเพียงใด
ระวัง โรคนิ้วล็อก 30 อาชีพเสี่ยง

          ปัจจุบันโรค “ นิ้วล็อก ” กำลังเป็นภัยคุกคามทุกอาชีพ ไม่ว่าคุณจะเป็นแม่บ้าน พนักงานบริษัท นักธุรกิจ นักการเมือง ข้าราชการทุกระดับ ไม่เว้นแม้กระทั้งอาชีพบันเทิง เพราะทุกคนต้องใช้มือและนิ้วทำงาน

          โรงพยาบาลเลิศสิน ระบุ คนไทยเสี่ยงต่อการเป็นโรค “ นิ้วล็อก ” ขณะนี้มีผู้ป่วยเข้ารักษากว่า 4 พันราย 
          
30 อาชีพ เข้าข่ายเสี่ยง สำรวจอาการเบื้องต้นได้ที่นี่ และรีบรักษาก่อน “ อัมพาต ” มาเยือน
         
ภัยเงียบ ที่ชั่วโมงนี้ต้องกลับหันดูด้วยความสนใจอย่างยิ่ง นั่นคือ “ โรคนิ้วล็อก ” หรือ “Trigger Finger” ที่เกิดขึ้นกับนิ้วมือ

          นับเป็นมหันตภัยตัวใหม่ ที่สร้างความเจ็บปวด และความพิการให้กับอวัยวะมือ และนิ้ว มาแล้วหลายสิบปี บางคนก็เชื่อว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเองนั้น มาจากเวรกรรมเก่าที่ก่อไว้ในชาติที่แล้ว และปล่อยทิ้งไว้กว่าครึ่งค่อนชีวิต โดยปรากฎอาการเป็นระยะๆ

แต่ในความเป็นจริง โรคนี้ มีสาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมการใช้นิ้วมือปกติธรรมดา แต่กลับมีความไม่ปกติเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว

          โรคนิ้วล็อก : เป็นความผิดปกติของนิ้วมือที่พบบ่อยที่สุด มักพบในคนที่ทำงานโดยใช้มืออย่างรุนแรง ทำซ้ำๆ โดยใช้แรงกดขยำ ขยี้ ทำให้เส้นเอ็นที่มีหน้าที่รัดเส้นเอ็นติดกับกระดูก ขณะที่เรากำและแบนิ้วมือ เกิดการเสียดสีจนทำให้เส้นเอ็นบวม เกิดพังผืดหนาตัวขึ้นเป็นปม นิ้วไม่สามารถที่จะกางออก หรือกำได้เป็นปกติ บางรายที่พบก็นิ้วง้าง หรือค้างอยู่เช่นนั้น เช่นผิดรูปจากเดิมไปคล้ายกับอาการคนพิการหรืออัมพาตที่นิ้วมือ มีอาการเจ็บที่ฐานนิ้วและปวดบวมในรายที่เป็นมากๆ แม้จะไม่อันตรายถึงชีวิตแต่เป็นความทรมานของคนที่เผชิญ

           น . พ . วิชัย วิจิตรพรกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านชุมชนสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลเลิดสิน เปิดเผยว่า โรคนิ้วล็อกจะพบได้กับทุกคน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่โดยเฉพาะในผู้หญิงกลุ่มอายุ 40-60 ปีที่พบมากที่สุดมีถึงร้อยละ 80 เช่น บรรดานักชอปตัวยง สาวแบงค์ ครู แม่บ้าน หมอนวนแผนโบราณ ฯลฯ ส่วนอีกร้อยละ 20 จะพบในผู้ชายที่อายุ 40-70 ปี ได้แก่ นักบริหารธุรกิจ ผู้พิพากษา นักกอล์ฟ นักคอมพิวเตอร์ ทันตแพทย์ คนสวน ผู้ใช้แรงงานทั่วไป ฯลฯ


now02.images.jpg

อาชีพใช้มือระวัง

       “ โรคนี้พบมากในผู้หญิงเพราะผู้หญิงใช้มือทำงานที่ซ้ำๆ มากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป ถ้ามีประวัติการใช้งานที่รุนแรงจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ได้มาก ” หมอวิชัย กล่าว สำหรับอาชีพที่ต้องระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ แม่บ้าน / นักชอป เกิดจากการหิ้วของหนัก การบิดผ้า การกวาดบ้าน ถูบ้าน สับหมู นักกอล์ฟ เกิดจากการหิ้วถุงกอล์ฟ จับไม้กอล์ฟไม่ถูกวิธี ผู้พิพากษา / นักบัญชี เกิดจากภารกิจด้านการเขียนอย่างมาก อาจารย์ / นักเรียน เกิดจากมีงานเขียนเป็นจำนวนมาก คนทำสวน เกิดจากการหิ้วถังน้ำ ใช้กรรไกรตัดเล็มกิ่งไม้ พนักงานธนาคาร เกิดจากการนับธนบัตรเป็นจำนวนมาก ขณะที่นับต้องใช้นิ้วโป้งกดรัดธนบัตรให้ติดมือขึ้นมานับ หมอนวดแผนโบราณ เกิดจากการใช้นิ้วกดนวดอย่างมาก คนทำซาลาเปา ต้องนวดแป้ง ทุกนิ้วต้องบีบขยำแป้ง ฯลฯ
        
“ ตามสถิติล่าสุด ผมให้การรักษาคนไข้ที่ป่วยไปแล้ว กว่า 3,600 รายในเวลา 5 ปี และมีแนวโน้มที่จะพบโรคนี้เพิ่มมากขึ้นในอนาคตใกล้ๆ จากพฤติกรรมการใช้มือและนิ้วที่ในแรงกดที่ทำซ้ำๆหรือใช้โดยไม่ป้องกัน หรือผิดประเภทไปหนำซ้ำผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือผู้ที่เป็นโรครูมาตอยด์มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากขึ้น และโรคนี้มักจะพบร่วมกับโรคพังผืดรัดเส้นประสาทบริเวณอุโมงค์ข้อมือ carpal tunnel syndrome และพังผืดรัดเส้นเอ็นข้อมือ De Quervain tenosynovitis “ หมอวิชัย ระบุ

           นอกจากนี้ หมอวิชัย ยังตั้งข้อสังเกตว่า โรคนิ้วล็อก จะไปพบในผู้ที่เป็นนักเปียโน หรือนักมวย ทั้งๆ ที่มีการใช้นิ้วในกิจกรรมหรืออาชีพที่กระทำอยู่ในขณะนี้ โดยสันนิษฐานว่า นักเปียโน มีการเหยียดและใช้นิ้วที่กระจายน้ำหนักการกดไปทั่วทั้งมือ ส่วนนักม่วย ก็น่าจะเกิดจากการกำทุกนิ้วไว้อย่างรัดกุม ก่อนที่จะนำไปใช้งาน จึงไม่เกิดในลักษณะที่ทำให้นิ้วได้รับผลกระทบจากแรงกด หรือแรงกระแทก

           สำหรับ เมื่อเกิดสภาวะนิ้วล็อกแล้ว ความรุนแรงของโรคจะเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาเริ่มจากอาการเจ็บฐานนิ้วนิ้วฝืดมีอาการปวดนิ้วคล้ายนิ้วถูกบิดทำให้ ปวด – ชา อยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในเวลากลางคืน หรือตื่นนอนตอนเช้าทำให้การเคลื่อนไหวของนิ้วมืองอ หรือเหยียดนิ้วไม่ออก กำมือไม่ลง กำได้ไม่สุด นิ้วเกยกัน ไม่อยู่ในระนาบเดียวกัน นิ้วและฝ่ามือแข็งตัวเกิดพังผืดหนาตัว ผิวหนังของนิ้วมือซีดคล้ำ อาการนิ้วล็อกทำให้มือใช้งานไม่ได้ เวลานิ้วหรือมือชนถูกสิ่งต่างๆ จะเจ็บมาก โดยเฉพาะฐานนิ้วโป้งอาการของโรคนิ้วล็อกจะเริ่มขยายตัวไปยังนิ้วข้างเคียง ทำให้นิ้วข้างเคียงถูกจำกัดการเคลื่อนไหวตามไปด้วย ก่อให้เกิดการแข็งตัวตามไป และใช้งานไม่ได้ในที่สุด

นิ้วล็อก “ คนดัง ”

          โรคนิ้วล็อกสามารถพบได้ในเด็กซึ่งเป็นนิ้วล็อกตั้งแต่กำเนิด (congenetal trigger finger) กลุ่มเด็กที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด ส่วนใหญ่จะเป็นที่นิ้วหัวแม่มือ (trigger thumb) ซึ่งเกิดจากที่ปลอกเอ็นหนาจนทำให้เอ็นผ่านไม่ได้ ผู้ป่วยบางรายมีอาการนิ้วล็อกทั้งสองมือ ซึ่งพบได้ร้อยละ 20-30 ในบางรายสามารถหายเองได้หากปมไม่ใหญ่มากนัก ประกอบกับการที่พ่อแม่ช่วยนวดคลึงบริเวณฐานนิ้วบริเวณปลอกเอ็นให้เกิดความยืดหยุ่น
         
หมอวิชัย เปิดเผยด้วยว่า ในช่วงที่ผ่านมา มีคนดังหลายวงการเข้ามารักษาโรคนี้ อาทิ แก้วขวัญ วัชโรทัย พบที่นิ้วนางมือซ้าย - ขวา น . พ . แท้จริง ศิริพาณิช เจ้าของโครงการเมาไม่ขับ พงที่นิ้วก้อยมือซ้าย ดร.เจริญ คันธวงศ์ ส . ส . พรรคประชาธิปัตย์ ที่เกิดโรคนิ้วล็อกจากการตีกอล์ฟ ที่นิ้วโป้งหัวแม่มือขวา จากที่ครูสอนกอล์ฟบอกว่า หากต้องการจะตีลูกให้ไกล ต้องใช้พลังจากมือขวาและนิ้วโป้งหัวแม่มือขวาตบลูกแรงๆ ตอนส่ง ทำให้เกิดโรคนิ้วล็อกในที่สุด รวมถึง นักร้องรุ่นเก่าอย่าง โฉมฉาย อรุณฉาน นักแสดง  อดุลย์ ดุลยรัตน์  โฉมฉาย ฉัตรวิไล หรือตัว หมอวิชัยเอง ก็เคยประสบปัญหาโรคนิ้วล็อกมากลับตัวเอง จากการรักษาคนไข้ในการใช้เครื่องมือแพทย์

หายขาด – เกิดใหม่

           สำหรับการรักษาโรคนิ้วล็อก หมอวิชัย อธิบายว่า มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค การรักษาในระยะแรกคือ การพักการใช้งานของมือไม่ใช้งานรุนแรง การรับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น Diclofenac, lbuprofen, Cilecoxib เป็นต้น การทำกายภาพบำบัด เช่น การแช่พาราฟิน การทำอัลตราซาวนด์ ก็อาจช่วยลดการอักเสบและการติดยึดของเส้นเอ็นกับปลอกเอ็น แต่ในกรณีที่เป็นรุนแรงขึ้นอาจจะให้การรักษาด้วยการใช้ยาต้านการอักเสบ ร่วมกับการฉีดสเตียรอยด์เข้าไปบริเวณปลอกเอ็น ซึ่งสเตียรอยด์มีคุณสมบัติในการลดการอักเสบ ลดการบวมของเส้นเอ็น และปลอกเอ็นทำให้อาการดีขึ้นได้ แต่การฉีดยาอาจทำให้อาการดีขึ้นได้เพียงระยะเวลาสั้นๆ เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน สามารถกลับมาเป็นซ้ำอีกได้ในระยะเวลาไม่นานประมาณร้อยละ 50 ของผู้ป่วยจะหายจากอาการนิ้วล็อก ส่วนอีกร้อยละ 25 จะหายหลังจากการฉีดยาเข็มที่สองไม่ควรฉีดยาเกิน 2 ครั้ง เพราะอาจทำให้เกิด tendon rupture ได้ ในกรณีที่มีการล็อกติดรุนแรงหรือพังผืดหนามาก ฉีดยาก็ไม่ได้ผลการผ่าตัดจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพราะจะเปิดลงไปตัดเข็มขัดรัดเส้นเอ็น และปลอกเอ็นที่ติดยึดขวางทางผ่านของเอ็นให้ผ่านไปได้ ซึ่งมีความปลอดภัยและใช้เวลาไม่นาน
    
“ โรคนี้แม้จะปล่อยไว้นานก็สามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้ มีอยู่รายหนึ่งเป็นโรคมาตั้งแต่เด็ก ปล่อยทิ้งไว้จนอายุ 40 ปี ลูกหลานเพิ่งจะพามารักษาก็มีให้เห็น ส่วนการป้องกันโรคนิ้วล็อก หากต้องใช้นิ้วมือทำงานที่ต่อเนื่องนานๆ ควรที่จะหยุดพักบ้าง หรือหากมีอาการรู้สึกเจ็บก็ให้แช่น้ำอุ่น หรือทายานวดกล้ามเนื้อก็จะช่วยได้ เช่นกัน ” หมอวิชัย กล่าวทิ้งท้าย 


อาชีพที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคนิ้วล็อก และนิ้วที่เป็นนิ้วล็อก

 

 

 

 

 

 

 

 

นิ้วโป้ง

 

 

นิ้วชี้

 

 

นิ้วกลาง

 

 

นิ้วนาง

 

 

นิ้วก้อย

 

 

 

ขวา

 

ซ้าย

 

ขวา

 

ซ้าย

 

ขวา

 

ซ้าย

 

ขวา

 

ซ้าย

 

ขวา

 

ซ้าย

 

นักกอล์ฟ

 

 

 

 

 

 

7

 

 

7

 

 

7

 

ผู้พิพากษา/นักเขียน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นักบัญชี นักบริหาร

 

7

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ครู/พนักงานแบงก์

 

7

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมอนวดแผนโบราณ

 

7

 

7

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นักชอปปิ้ง

 

 

 

 

 

7

 

7

 

7

 

7

 

www.lerdsin.go.th/modules. php?name=News&file=...
ข้อมูลอ้างอิง :เอกสารเผยแพร่จังหวัดฉะเชิงเทรา
ข้อมูลเพิ่มเติม :www.pumthai.com ภูมิไทย สื่อโฆษณา จำกัด
Content Create : 2005-04-01   last update : 2005-04-01
 
 
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3730เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2005 14:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท