ธรรมที่ครูควรนำไปปฎิบัติ


พุทธธรรมสำหรับการพัฒนาชีวิตครู

5. หลักธรรมที่ครูนำไปปฏิบัติ

 

สัปปุริสธรรม

แปลตามศัพท์ว่า ธรรมของสัตบุรุษมี 7 ประการด้วยกันคือ

1. ความเป็นผู้รู้จักเหตุ (ธัมมัญญุตา) คือรู้สาเหตุแห่งสุข สาเหตุแห่งทุกข์ สาเหตุแห่งความสำเร็จและ

สาเหตุแห่งความพินาศล่มจม เมื่อพบเหตุแล้วก็ย่อมรู้ว่าผลจะตามมา กล่าวคือ เมื่อทำเหตุดีผลก็จะดี เมื่อทำเหตุชั่วผล

ก็ย่อมไม่ดี

2. ความเป็นผู้รู้จักผล (อัตถัญญุตา) คือ รู้ว่าผลมาจากเหตุทำเหตุอย่างไรย่อมได้รับผลอย่างนั้นทำเหตุดี

ย่อมได้รับผลดี เหตุเป็นต้น ผลเป็นปลาย ต้นกับปลายย่อมสัมพันธ์กัน เข้าลักษณะทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่วนั่นเอง

3. ความเป็นผู้รู้จักตน (อัตตัญญุตา) คือ รู้ว่าตนเป็นอะไร มีสถานภาพอย่างไร มีความรู้ความสามารถขนาด

ไหนเพียงไร มีทรัพย์สมบัติมากน้อยเพียงใด และประพฤติตนให้เหมาะสมกับสถานภาพนั้น ๆ

4.ความเป็นผู้รู้ประมาณ(มัตตัญญุตา)คือรู้จักประมาณในการใช้จ่ายบริโภคตามมีตามได้ตามความจำเป็น

บรรพชิตรู้จักประมาณในการรับและคฤหัสถ์รู้จัก

ประมาณในการใช้จ่าย

5.ความเป็นผู้รู้จักเวลา(กาลัญญุตา)คือรู้ว่าเวลาไหนควรทำอะไรรู้ค่าของเวลาตรงต่อเวลาในกิจการงานทั้งปวงคนรู้ค่าของเวลาย่อมได้รับประโยชน์สูงสุดในชีวิต

และเป็นคนที่เชื่อถือได้

6.ความเป็นผู้รู้จักชุมชน(ปริสัญญุตา)คือรู้จักสังคมว่าสังคมนั้นๆเขาเป็นอย่างไรและมีค่านิยมอะไร

ประกอบอาชีพอะไรและมีสภาพแวดล้อมเป็นอย่างไรแล้ว

ประพฤติตนให้เหมาะสมกับสังคมนั้น ๆ ในทางที่ถูกที่ควร

7. ความเป็นผู้รู้จักบุคคล (บุคคลัญญุตา) คือ รู้ว่าคนไหนเป็นอย่างไร บุคคลย่อมแตกต่างกันทั้งร่างกาย

และความคิด คนใดเป็นคนที่ควรคบ คนใดเป็นคนชั่วไม่ควรคบ คนใดมีนิสัยอย่างไรควรปฏิบัติกับบุคคลนั้น ๆ

อย่างไร

ผู้รู้ 7 ประการนี้ เรียกว่า เป็นสัตบุรุษคือเป็นคนดี คนมีความมั่นคง จิตใจสงบ ไม่ฟุ้งซ่านไปตามเหตุการณ์ รู้เขา

รู้เรา รู้เหตุผล รู้กาลเวลา ตลอดทั้งรู้บุคคลและสังคม ย่อมจะเป็นคนทันสมัย

 

 

อริยทรัพย์ 7

ทรัพย์ล้ำค่า 7 ชนิด บรรดาทรัพย์สมบัติภายนอก เช่น วัตถุสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ อาคารบ้านเรือน

เครื่องประดับตกแต่ง แม้จะมีค่าแต่สิ่งเหล่านี้เป็นทรัพย์ภายนอกไม่มั่นคงถาวร สูญหายได้ง่าย ส่วนทรัพย์ล้ำค่า

ได้แก่ ทรัพย์ภายในเรียกว่า อริยทรัพย์ 7 อย่างคือ

1. ศรัทธา ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผล เช่น เชื่อในเรื่องของกรรมและผลแห่งกรรม คือ ผลแห่งการกระทำ

บุคคลทำอย่างไรย่อมได้รับผลกรรมนั้น ๆ เสมอ

2. ศีล ความประพฤติดีงามคือมีระเบียบวินัย มีพฤติกรรมดีงาม ปฏิบัติตามคำสอนในศาสนาปฏิบัติตาม

กฎหมายบ้านเมือง มีความตรงไปตรงมาทั้งต่อหน้าและลับหลัง

3. หิริ ความละอายต่อบาป เกลียดความชั่ว คนมีความละอายต่อความชั่ว เป็นบุคคลที่ควรคบเพราะเป็นคน

ที่มีศีลธรรมจริงใจ และบริสุทธิ์ใจต่อบุคคลทั้งปวง

4. โอตตัปปะ ความกลัวบาป คือกลัวความชั่ว ไม่ยอมให้ความชั่วเกิดขึ้น ถือว่าความชั่วเป็นสิ่งที่พึงหลีก

เว้นให้ไกลความชั่วคือทุจริต ความประพฤติผิดทางกาย วาจา ใจ

5. พาหุสัจจะ ความคงแก่เรียน คือ ผู้สนใจในการหาความรู้ให้แก่ตน ให้มีความเฉลียวฉลาดรู้เท่าทัน

เหตุการณ์วิชาการอันละเอียดลึกซึ้ง

6. จาคะ เสียสละสิ่งของ ๆ ตน แบ่งปันให้แก่ผู้สมควรให้ไม่ตระหนี่เหนียวแน่นรู้จักสงเคราะห์อนุเคราะห์

คนอื่น ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือสังคม ถือว่าเป็นการขจัดความตระหนี่ซึ่งเป็นกิเลสฝังแน่นอยู่ในสันดาน

7. ปัญญา ความฉลาดรอบรู้ รู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และสิ่งที่มิใช่ประโยชน์ รู้จักประโยชน์ตนและประโยชน์

ท่าน รู้จักของจริงของเทียม รู้จักทางแห่งความพ้นทุกข์คือมรรค 8 ประการ หรือรู้ในอริยสัจจ์ 4 คือ รู้ทุกข์ รู้เหตุแห่ง

ทุกข์ รู้ความดับทุกข์ และรู้วิธีการดับทุกข์

ทรัพย์ทั้ง 7 ประการนี้ จะอยู่กับตัวตลอดเวลา ไม่มีใครจะช่วงชิงหรือลักขโมยไปได้ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า

เป็นทรัพย์อันล้ำค่าหรืออริยทรัพย์

 

 

อปริหานิยธรรม

หลักการความมั่นคงของสังคม เรียกว่า อปริหานิยธรรม แปลว่า ธรรมที่ทำให้สังคมไม่เสื่อม มี 7 ประการคือ

1.ประชุมกันสม่ำเสมอ

2. เข้าประชุมและเลิกประชุมพร้อมกัน และให้ความร่วมมือกันในการทำกิจกรรม

3. เคารพกฎระเบียบ ไม่ยกเลิกเพิกถอนโดยพลการ

4. เคารพประธานหรือผู้อาวุโสในที่ประชุม

5.ให้เกียรติผู้อ่อนแอ เช่น เด็กและผู้หญิง

6.ให้ความเคารพในสถานที่ ปูชนียสถานและปูชนียวัตถุ

7.ปกป้องรักษาพระสงฆ์ในศาสนาไว้

สังคมใดยึดถือหลักการ 7 ประการนี้ไว้ได้สังคมนั้นไม่เสื่อมและมีพลังอำนาจสูง

 

 

 

โลกธรรม 8 ประการ

สิ่งประจำโลก เรียกว่า โลกธรรม มี 8 อย่างคือ

1. ลาภ คือ การได้

2. อลาภ คือ การเสีย

3. ยศ คือ มียศ

4. อยศ คือ เสื่อมยศ

5. สรรเสริญ คือ การยกย่อง

6. นินทา คือ การว่าร้าย

7. สุข คือ ความสบาย

8. ทุกข์ คือ ความลำบาก

สิ่ง 8 ประการนี้ เป็นของมีอยู่ประจำในโลกคือในบุคคลทั่วไป ผู้ใดมีลาภผู้นั้นก็เสื่อมลาภได้ ผู้ใดมียศก็ต้องมี

คราวเสื่อมยศ เป็นต้น เพราะสิ่งเหล่านี้มิใช่ของจริง เป็นเพียงสิ่งสมมติชั่วคราว ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ หากผู้ใดเข้าติด

ยึดผู้นั้นก็ยังไม่เข้าถึงสัจจธรรม

 

มล  9

สิ่งที่ทำให้คนเสียคน เรียกว่า ปุริสมละ มละ แปลว่า มลทิน คือสิ่งแปดเปื้อนคนเมื่อสิ่งเหล่านี้แปดเปื่อนผู้ใดผู้

นั้นก็จะเป็นคนเสียคนคือคนไม่ดี ไม่พึงคบหาสมาคมด้วย สิ่งที่ทำให้คนเสียหายดังกล่าวมี 9 ประการด้วยกันคือ

1. ความโกรธ (โกธะ)

2. ลบหลู่ผู้มีคุณ (มักขะ)

3. ริษยาผู้อื่น ( อิสสา )

4. ตระหนี่ (มัจฉริยะ )

5. เจ้าเล่ย์ (มายา)

6. โอ้อวด (สาเฐยยะ)

7. โกหก (มุสา)

8. คิดชั่ว (ปาปิจฉตา)

9. เห็นผิดเป็นชอบ (มิจฉาทิฏฐิ)

สิ่ง 9 อย่างนี้ ทำให้คนเสียหายได้ ทุกคนพึงสำรวมอย่าให้เกิดมีในตน แม้ว่าโดยข้อเท็จจริงสามัญชนทั่วไปจะหลีก

เว้นไม่ได้ก็ควรพยายามมีให้น้อยที่สุด เพราะถ้ามีมากเสียหายมากมีน้อยเสียหายตามส่วน

 

 

บุญกิริยาวัตถุ 10

การทำบุญ 10 อย่าง เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ แปลว่า หลักการทำความดี 10 อย่างคือ

1. การให้ ( ทาน )

2. การประพฤติดี (ศีล)

3. การอบรมจิต (ภาวนา )

4. ความถ่อมตน (อปจายนะ)

5. การช่วยเหลือการงาน (เวยยาวัจจะ)

6. การให้ส่วนบุญ (ปัตติทาน)

7. การอนุโมทนาส่วนบุญ (ปัตตานุโมทนา)

8. การฟังธรรม (ธัมมัสสวนะ)

9. การแสดงธรรม ( ธัมมเทศนา)

10.การทำความเข้าใจให้ถูกต้อง (ทิฎฐุชุกรรม)

สิ่งดี 10 อย่างนี้ จะช่วยให้ผู้ทำเกิดความดีขึ้นใหม่ มีความสุขใจและมีความหวังในชีวิตยิ่ง ๆ ขึ้น

 

 

นาถกรณธรรม

ที่พึงของตน 10 อย่าง เรียกว่า นาถกรณธรรม ได้แก่

1. ความประพฤติดี (ศีล)

2. ความมีการศึกษาดี (พาหุสัจจะ)

3. ความมีมิตรดี (กลฺยาณมิตตตา)

4. ความเป็นคนสอนง่าย (โสวจัสสตา)

5. การช่วยงานสังคม (กิงฺ กรณีเยสุ ทักขตา)

6. ความขยัน ( ทักขตา)

7. ความรักความถูกต้อง (ธัมมกามตาม)

8. ความสันโดษ (สันตุฏฐี)

9. ความมีสติ (สติ )

10.ความรู้รอบ (ปัญญา )

ผู้มีคุณสมบัติ 10 ประการนี้ย่อมเอาตัวได้ คืออยู่ได้และอยู่ดีในการดำรงชีวิต

 

ทศพิธราชธรรม 10

ธรรมะของนักปกครอง 10 ประการ ซึ่งเรียกว่า ทศพิธราชธรรม หรือเรียก สั้น ๆ ว่า ราชธรรม ได้แก่

1. การให้ คือ ความเป็นคนมีใจบุญกุศลมอบให้วัตถุสิ่งของ ให้อภัย และให้คำแนะนำสั่งสอนในทางที่ถูกที่

ควร (ทานํ)

2. ประพฤติดี คือ การวางตัวเหมาะสม เสมอต้นเสมอปลายเป็นปกติวิสัย(สีลํ)

3. การเสียสละ คือ การอุทิศกำลังกาย กำลังใจ และกำลังทรัพย์ เพื่อสาธารณะประโยชน์ (ปริจฺจาค)

4. ความตรงไปตรงมา คือ ความจริงใจ ปราศจากเลศนัยที่จะทำให้เกิดไขว้เขวแก่ผู้อื่น (อาชฺวํ)

5. ความอ่อนน้อมถ่อมตน คือ ความไม่แสดงอาการแข็งกระด้าง และใช้อวดทำนองยกตนข่มท่าน กล่าวคือ

ความมีอัธยาศัยไมตรี (มทฺทวํ)

6. ความสามารถขจัดความชั่วร้าย คือ การขจัดกิเลสที่มีอยู่ในจิตใจออกไป ไม่เป็นไปตามอำนาจฝ่ายต่ำ (ตปํ)

7. ความไม่ฉุนเฉียวดุร้าย คือ ไม่โกรธ ไม่ผูกโกรธ และไม่แสดงอาการเกี้ยวกราดต่อคนอื่น ( อกฺโกธํ )

8. ความไม่เบียดเบียน คือ ความไม่กดขี่ข่มเหงผู้อื่น ไม่ว่าในทางตรงและทางอ้อม (อวิหิงสา)

9. ความอดทน คือ ความเป็นคนมั่นคง ต่อสู้ไม่ย่อท้อต่อความลำบากตรากตรำและ ความกระทบกระเทือน

ทางจิตใจ (ขนฺติ)

10. ความประพฤติไม่ผิดธรรม คือ ความเป็นผู้ปฏิบัติตามครรลองคลองธรรม การกระทำใด ๆ จัดถือธรรม

คือความถูกต้องเป็นหลัก (อวิโรธนํ)

ธรรม 10 ประการนี้ เป็นคุณสมบัติของพระเจ้าแผ่นดิน นักปกครอง นักบริหาร ข้าราชการ และผู้นำชุมชนทุก

ประเภท

 

กุศลกรรมบถ 10

แนวทางแห่งการทำความดี 10 อย่าง เรียก กุศลกรรมบถ 10 ได้แก่

1. ไม่ฆ่าสัตว์ (ปาณาติปาตา เวรมณี)

2. ไม่ลักทรัพย์ (อทินนาทานา เวรมณี)

3. ไม่ประพฤติผิดในกาม (กามเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี)

4. ไม่พูดเท็จ (มุสาวาทา เวรมณี)

5. ไม่พูดคำหยาบ (ปิสุณาย วาจาย เวรมณี)

6. ไม่พูดส่อเสียด (ผรุสาย วาจาย เวรมณี)

7. ไม่พูดเพ้อเจ้อ (สมฺผปฺปลาปา เวรมณี)

8. ไม่โลภอยากได้ของคนอื่น (อนภิชฌา)

9. ไม่พยาบาทปองร้ายคนอื่น (อพยาปาทะ)

10.เห็นชอบตามทำนองคลองธรรม (สัมมาทิฏฐิ)

ธรรมะทั้ง 10 ประการนี้ จะช่วยให้ผู้ยึดถือปฏิบัติเป็นคนดีเป็นที่เคารพรักใคร่และนับถือของคนอื่นและเป็นวิถีที่จะ

นำไปสู่ความพ้นทุกข์ในวัฏฏสงสารในโอกาสต่อ ๆไป

หมายเลขบันทึก: 372403เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2010 11:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 16:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท