ปฏิจจสมุปบาท (dependent origination)


พุทธธรรมสำหรับการพัฒนาชีวิตครู

1. ปฏิจจสมุปบาท (dependent origination)

ความหมายของปฏิจจสมุปบาท 

การศึกษาพระพุทธศาสนา ผู้ศึกษาไม่พยายามทำความเข้าใจในหลักปฏิจจสมุปบาท แล้วก็หาได้ชื่อว่าได้

ศึกษาพระพุทธศาสนาไม่ พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศศักดาแห่งความเป็นผู้ตรัสรู้ก็ด้วยการรู้แจ้งซึ่งปฏิจจสมุปบาท

นี้เอง พื้นดินก็เป็นที่ตั้งรองรับบรรดามนุษย์ พืช สัตว์ และสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ฉันใด ปฏิจจสมุปบาท ก็เป็นที่ตั้ง

รองรับอริยสัจจ์ 4 และหมวดธรรมทั้งหลายฉันนั้น สมดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า “ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาทผู้นั้นย่อม

เห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นย่อมเห็นปฏิจจสมุปบาท

ก่อนที่ผู้ศึกษาจะได้ทราบความหมายอันลึกซึ้งและน่าอัศจรรย์ในภูมิปัญญาของผู้นำมาบอกเล่าโปรดทราบ

ความหมายตามรูปศัพท์ก่อน เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น

คำว่า ปฏิจจสมุปบาท แยกศัพท์ออกเป็น ปฏิจจ = อาศัย + สมุปบาท = เกิดขึ้นพร้อมกันหรือถ้าจะแยกให้

ละเอียดก็จะได้ = ปฏิ = เฉพาะ + อติ = ยิ่ง สํ = พร้อม +อุป = เข้าไป + บาท = เกิด เมื่อแปลโดยความหมายก็จะได้

ความว่า การเกิดขึ้นเพราะอาศัยกันหรือมาปรับสำนวนภาษาใหม่ว่า “ธรรมที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้น” หรือการ

เกิดขึ้นที่มีลักษณะเป็นวัฏฏจักรกล่าวคือไม่มีสิ่งที่เกิดขึ้นโดยมิต้องอาศัยสิ่งอื่น

หากจะพิจารณาถึงความเป็นของสิ่งทั้งหลายทั้งปวงในจักรวาลหรือเอกภพนี้ไม่มีสิ่งใดเลยที่ไม่อาศัยกันและกัน

ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมอาศัยซึ่งกันและกันเป็นไปตามสภาพของตน

ผู้รู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทย่อมจะเข้าใจชีวิตตามความเป็นจริง ย่อมรู้สาเหตุแห่งการเกิดและการดับไปของชีวิต

ของสัตว์ทั้งปวง และย่อมเข้าใจเหตุผลแห่งการดำเนินไปของวัฏฏจักรแห่งชีวิตและสามารถดับอวิชชาตัณหา

อุปาทาน ซึ่งเป็นตัวการให้เกิดทุกข์ในวัฏฏสงสารได้

หัวข้อแห่งปฏิจจสมุปบาท 

ปฏิจจสมุปบาทมีองค์ธรรมที่ประกอบกันขึ้น 12 หัวข้อ ใน 12 หัวข้อนี้เป็นได้ทั้งสายเกิดและสายดับ

. สายเกิด คือ การเกิดขึ้นที่อาศัยสิ่งอื่นเกิด กล่าวคือเมื่อสิ่งหนึ่งเกิดอีกสิ่งหนึ่ง ก็เกิดขึ้นตามมา เรียกว่า สมุทัยวาร

. สายดับ คือ การดับเพราะสิ่งอื่นดับคือเมื่อสิ่งหนึ่งดับสิ่งหนึ่งก็ดับตามไป ด้วย เปรียบเหมือนสายพานเครื่องจักร

ขาดหรือเครื่องดับ ส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องก็พลอยหยุดหมุนไปด้วย เรียกว่า นิโรธวาร

ปฏิจจสมุปบาท เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปัจจยาการ 12 หรือ อิทัปปัจจยตา (ความมีสิ่งนี้สิ่งนี้จึงมี)

. สายเกิด

1-2) อวิชชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร

3) สงฺขาราปจฺจยา วิญญาณํ เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ

4) วิญญาณปจฺจยา นามรูปํ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป

5) นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตน

6) สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส เพราะสฬายตนเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ

7) ผสสปจฺจยา เวทนา เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา

8) เวทนาปจฺจยา ตณฺหา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา

9) ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน

10) อุปาทานปจฺจยา ภโว เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ

11) ภวปจฺจยา ชาติ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ

12) ชาติปจฺจยา ชรามรณํ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรามรณะ

โสกปริเทวทุกขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์โทมนัส และความคับแค้นใจจึงเกิดขึ้น

เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้จึงมีด้วยประการฉะนี้

ข้อสังเกต การที่นับข้อ 1 และ 2 พร้อมกัน เพราะมี 2 องค์ธรรมด้วยกัน คือ อวิชชาและสังขารซึ่งเกิดขึ้นเพราะ

อาศัยอิงกันและกัน และเป็นสาเหตุให้สิ่งอื่นเกิดขึ้นตามมา

คำว่า ปัจจัย หมายถึงสิ่งที่เป็นเครื่องอาศัยให้ชีวิตดำเนินไปได้ เช่น ปัจจัย 4 (อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และ

ยารักษาโรค) เป็นเครื่องอาศัยแห่งชีวิต กล่าวคือช่วยให้ชีวิตดำเนินไปได้

การแสดงไปตามลำดับจากต้นไปหาปลาย โดยเริ่มต้นที่อวิชชาก่อนแล้วเรียงลำดับไปจนถึงชรามรณะ เรียกว่า

อนุโลมเทศนา ส่วนการแสดงจากชรามรณะ ย้อนกลับไปหาอวิชชา เรียกว่า ปฏิโลมเทศนา

พระพุทธองค์เมื่อตรัสรู้ใหม่ ๆ ได้ประทับอยู่ภายใต้ต้นมหาโพธิ์นั้น ได้ทรงพิจาราณาปฏิจจสมุปบาทที่

พระองค์ได้ทรงกำหนดรู้แล้วนั้นตามลำดับ (อนุโลม) และถอยหลัง (ปฏิโลม) ทั้งเกิดและข้างดับ (สายเกิดและสาย

ดับ) ตลอดยาม 3 แห่งราตรี

. สายดับ

1-2) อวิชชายเตฺวว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรธา เพราะอวิชชาดับไม่เหลือสังขารจึงดับ

3) สงขารนิโรธา วิญญาณนิโรโธ เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ

4) วิญญาณนิโรธา นามรูปนิโรโธ เพราะวิญญาณดับนามรูปจึงดับ

5) นามรูปนิโรธา สฬายตนนิโรโธ เพราะนามรูปดับสฬายตนจึงดับ

6) สฬายตนนิโรธา ผสฺสนิโรโธ เพราะสฬายตนดับผัสสะจึงดับ

7) ผสฺสนิโรธา เวทนานิโรโธ เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ

8) เวทนานิโรธา ตณฺหานิโรโธ เพราะเวทนาดับตัณหาจึงดับ

9) ตณฺหานิโรธา อุปาทานนิโรโธ เพราะตัณหาดับอุปาทานจึงดับ

10) อุปาทานนิโรธา ภวนิโรโธ เพราะอุปาทานดับภพจึงดับ

11) ภวนิโรธา ชาตินิโรโธ เพราะภพดับชาติจึงดับ

12) ชาติ นิโรธา ชรามรณนิโรโธ เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ

โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา นิรุชฺฌนฺติ

เอวเมตสสส เกวลสสส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส นิโรโธ โหติ

ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส ความคับแค้นใจย่อมดับ กองทุกข์ทั้งมวลจึงดับด้วยประการฉะนี้

ความหมายของแต่ละหัวข้อธรรมในปฏิจจสมุปาบาท มีดังนี้

1. อวิชชา (Ignorance) คือ ความไม่รู้ ได้แก่ ไม่รู้ในอวิชชา 8 คือ

1) ความไม่รู้แจ้งในเรื่องความทุกข์

2) ความไม่รู้แจ้งในเรื่องเหตุให้เกิดทุกข์

3) ความไม่รู้แจ้งในเรื่องความดับทุกข์

4) ความไม่รู้แจ้งในเรื่องหนทางให้ถึงความดับทุกข์

5) ความไม่รู้แจ้งในเรื่องอดีตของชีวิต

6) ความไม่รู้แจ้งในเรื่องอนาคตของชีวิต

7) ความไม่รู้แจ้งในเรื่องปัจจุบันของชีวิต

8) ความไม่รู้แจ้งในเรื่องปฏิจจสมุปบาท

ความไม่รู้แจ้งดังกล่าวนี้ทั้งหมดหมายถึง ความไม่รู้แจ้งในเรื่องของชีวิต มิได้

หมายถึงความไม่รู้แจ้งในเรื่องอื่น ๆ เช่น วิชาการแขนงต่าง ๆ ที่ชาวโลกนิยมศึกษาเล่าเรียนกัน

2. สังขาร (Karma Formation) คือ สภาพปรุงแต่งได้แก่ สังขาร 3 และอภิสังขาร 3 คือ

1) สังขาร 3 คือ

1. กายสังขาร คือ สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย ได้แก่ กายสัญเจตนา คือ ความจงใจทางกาย

2. วจีสังขาร คือ สภาพปรุงแต่งการกระทำทางวาจา ได้แก่ วจีสัญเจตนา คือ ความจงใจทางวาจา

3. จิตตสังขาร หรือมโนสังขาร คือสภาพปรุงแต่งให้เกิดการกระทำทางใจ ได้แก่ มโนสัญเจตนา คือจงใจ

ทางใจ

2) อภิสังขาร 3 (เจตนาที่เป็นตัวการในการทำกรรม)

1. ปุญญาภิสังขาร คือ สภาพปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี

2. อปุญญาภิสังขาร คือ สภาพปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว ได้แก่ อกุศลเจตนาทั้งหลาย

3. อาเนญชาภิสังขาร คือ สภาพปรุงแต่งภพอันมั่นคงไม่หวั่นไหว ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นอรูปปาวจร

ซึ่งหมายถึง สภาพจิตที่มั่นคงแน่วแน่ด้วยสมาธิแห่ง จตุตถฌาน สังขารในปฏิจจสมุปบาทนี้มีลักษณะเป็นนามธรรม

จัดเป็น จิตหรือเจตนา ซึ่งต่างไปจากสังขารที่กล่าวถึงทั่ว ๆ ไป

คำว่า สภาพปรุงแต่ง หมายถึง การปรุงจิตหรือความคิดให้กิดขึ้นหรือคิดอย่างนั้นอย่างนี้ตามเหตุปัจจัย

3) วิญญาณ (Conciousness) คือ ความรู้แจ้งอารมณ์ซึ่งได้แก่ วิญญาณ 6 คือ

1. จักขุวิญญาณ ความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา

2. โสตวิญญาณ ความรู้แจ้งอารมณ์ทางหู

3. ฆานวิญญาณ ความรู้แจ้งอารมณ์ทางจมูก

4. ชิวหาวิญญาณ ความรู้แจ้งอารมณ์ทางลิ้น

5. กายวิญญาณ ความรู้แจ้งอารมณ์ทางกาย

6. มโนวิญญาณ ความรู้แจ้งอารมณ์ทางใจ

ความรู้แจ้งทั้ง 6 อย่างนี้เกิดขึ้นจากอายตนภายในคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจกระทบกับอายตนภายนอกคือ รูป เสียง

กลิ่น รส สัมผัส และธัมมารมณ์ ถ้าขาดเสียอย่างใดอย่างหนึ่ง วิญญาณหรือความรู้แจ้งอารมณ์ก็จะไม่เกิดขึ้น เช่น มี

ตา แต่ไม่มีรูปมากระทบหรือมีรูปแต่ไม่มีตา หรือตาบอด จักขุวิญญาณก็จะไม่เกิด

อนึ่ง วิญญาณบางชนิด ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ และฆานวิญญาณ นอกจากจะเกิดเพราะการ

กระทบกันแล้วยังต้องอาศัยสื่ออีก ตา จะเห็นรูปต้องอาศัยแสงสว่างเป็นสื่อ หู จะได้ยินเสียงต้องอาศัยอากาศเป็นสื่อ

จมูก จะได้กลิ่นต้องอาศัยอากาศหรือลมเป็นสื่อเช่นเดียวกัน

4) นามรูป (Mind and Matter)

1. นาม ได้แก่ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ และมนสิการ จัดเป็นจิต เรียกว่า นามขันธ์

2. รูป ได้แก่ รูปขันธ์ ซึ่งประกอบด้วย มหาภูตรูป 4 อย่าง คือ ดิน น้ำ ลมไฟ และอุปาทายรูป 24 อย่าง

5) สฬายตน (Six sense - bases) ได้แก่ อายตนภายใน 6 อย่างคือ

1. จักขุ ตา

2. โสตะ หู

3. ฆานะ จมูก

4. ชิวหา ลิ้น

5. กายะ กาย

6. มโน ใจ

คำว่า สฬายตน มาจากคำสมาส 2 คำ คือ ฉ+ อายตนะ แปลว่า หก อายตนะ แปลว่า ที่ต่อ หมายถึง ที่

เชื่อมต่อให้เกิดความรู้หรือแดนต่อภายใน 6 แห่ง (เมื่อ 2 คำ ต่อกันเข้า ฉ เปลี่ยนเป็น สฬ ตามกฎในภาษาบาลี)

หน้าที่ของอายตนภายในทั้ง 6 อย่างก็คือ รับความรู้จากโลกภายนอก แล้วรายงานต่อไปยังใจซึ่งเป็นศูนย์กลาง และ

ขณะเดียวกันใจก็สามารถรับรู้โดยตรงได้โดยไม่ต้องผ่านอายตนะ (ประตู) อื่น ๆ ได้ด้วย

6) ผัสสะ (Contact) คือ ความกระทบหรือประจวบกันระหว่างอายตนภายใน (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ) อายต

นภายนอก (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธัมมารมณ์) และวิญญาณ เมื่อ 3 ประการมาพบกันก็จะเกิดผัสสะ 6 ขึ้นคือ

1. จักขุสัมผัสสะ ความกระทบทางตา

2. โสตสัมผัสสะ ความกระทบทางหู

3. ฆานสัมผัสสะ ความกระทบทางจมูก

4. ชิวหาสัมผัสสะ ความกระทบทางลิ้น

5. กายสัมผัสสะ ความกระทบทางกาย

6. มโนสัมผัสสะ ความกระทบทางใจ

7) เวทนา (Feeling) คือความเสวยอารมณ์ได้แก่ เวทนา 6 อย่าง

1. จักขุสัมผัสสชา เวทนา เวทนาเกิดจากการสัมผัสทางตา

2. โสตสัมผัสสชา เวทนา เวทนาเกิดจากการสัมผัสทางหู

3. ฆานสัมผัสสชา เวทนา เวทนาเกิดจากการสัมผัสทางจมูก

4. ชิวหาสัมผัสสชา เวทนา เวทนาเกิดจากการสัมผัสทางลิ้น

5. กายสัมผัสสชา เวทนา เวทนาเกิดจากการสัมผัสทางกาย

6. มโนสัมผัสสชา เวทนา เวทนาเกิดจากการสัมผัสทางใจ

จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย และมโน เป็นฐานให้เกิดเวทนา กล่าวคือ เมื่อเวทนาที่เกิดจากการสัมผัสทางตาเป็นต้น

เกิดขึ้น สุขเวทนา (รู้สึกชอบ) ทุกขเวทนา (รู้สึกชัง) และอทุกขมสุขเวทนา หรือ อุเบกขา (รู้สึกเฉย) ก็จะตามมา

ฉะนั้น เวทนาทั้งหมดนี้เมื่อรวมกันแล้วก็จะเวทนา 18

8) ตัณหา (Craving) คือ ความทะยานอยาก ได้แก่ ตัณหา 6 คือ

1. รูปตัณหา ความอยากในรูป

2. สัททตัณหา ความอยากในเสียง

3. คันธตัณหา ความอยากในกลิ่น

4. รสตัณหา ความอยากในรส

5. โผฏฐัพพตัณหา ความอยากในสิ่งสัมผัส

6. ธัมมาตัณหา ความอยากในธัมมารมณ์

นอกจากตัณหา 6 อย่างนี้แล้ว ยังมีตัณหาอีก 3 อย่าง ซึ่งถือว่าเป็นตัณหาหลักคือ

1. กามตัณหา ความอยากในกามคือสิ่งที่สนองความต้องการประสาททั้ง 5

2. ภวตัณหา ความอยากในภพคือความเป็นอยู่ในภพหนึ่ง ภพใด หรือต้องการที่ จะอยู่สภาพใดสภาพ

หนึ่งตลอดไป

3. วิภวตัณหา ความอยากพ้นไปจากภพใดภพหนึ่งหรือจากสภาพใดสภาพหนึ่งที่ตนไม่พอใจหรืออยาก

ให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ตนไม่ชอบดับสูญไป

9) อุปาทาน (Clinging) คือความยึดมั่น ได้แก่ 4 คือ

1. กามุปาทาน ความยึดมั่นในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าใคร่น่าพอใจ

2. ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นในลัทธิหรือคำสอนต่าง ๆ ว่าของตนเท่านั้นถูกต้องหรือคำสอนของศาสดา

ของตนเท่านั้นที่ถูกต้อง

3. สีลพัตตุปาทาน ความยึดมั่นในศีลและพรตอันเป็นหลักแห่งความประพฤติและข้อปฏิบัติที่นับถือสืบ

ต่อกันมาโดยปฏิบัติและยึดถืออย่างงมงาย และถือ เป็นเรื่องขลังว่าศักดิ์สิทธิ์โดยมิได้นึกถึงเหตุผล

4. อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นในวาทว่าตนหรือความมีตัวตน (อัตตา) เช่น ถือเรา ถือเขาดังคำของท่าน

พุทธทาสภิกขุใช้คำว่า ตัวกู -- ของกู โดยมิได้เข้า ใจตามหลักอนัตตา

10) ภพ (Becomiag) คือภาวะแห่งชีวิต ได้แก่ ภพ 3 คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ

1) กามภพ คือภพของสัตว์ผู้เสวยกามคุณ

1. อบาย 4

2. มนุษยโลก

3. กามาวจรสวรรค์ทั้ง 6

2) รูปภพ คือภพของสัตว์ผู้เข้าถึงรูปฌาน ได้แก่ พรหมทั้ง 16 ชั้น

3) อรูปภพ คือภพของสัตว์ผู้เข้าถึงอรูปฌาน ได้แก่ อรูปพรหม 4

11) ชาติ (Birth) คือความเกิด ได้แก่ ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลายคือการได้ซึ่งอายตนกล่าวโดยสรุปก็คือการ

เกิดขึ้นแห่งชีวิตที่เป็นรูปธรรม และนามธรรมอย่างครบถ้วน

12) ชรามรณะ (Decay and Death) คือความแก่และความตาย ได้แก่

1. ชรา ความเชื่อมแห่งอายุหรือความหง่อมแห่งอินทรีย์

2. มรณะ ความสลายไปแห่งขันธ์หรือความขาดแห่งอินทรีย์

คำอธิบายความสัมพันธ์ของปฏิจจสมุปบาทในแต่ข้อดังต่อไปนี้

1. อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร

เพราะความไม่รู้ในอวิชชา 8 จึงทำให้เกิดความเข้าใจผิด เช่น เข้าใจว่าวิธีดับทุกข์คือการอ้อนวอนบวงสรวง

เทพเจ้าหรือการใช้ชีวิตหมกหมุ่นในกาม โดยสำคัญผิดไปว่า เมื่อสามารถสนองตัณหาได้ก็จะเกิดความสุขขึ้น ความ

นึกคิดดังกล่าวคือสังขารที่เกิดขึ้นเช่นนั้น เพราะมีความไม่รู้ (อวิชชา) เป็นปัจจัย

2. สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ

สังขารคือความนึกคิดที่มีเจตนาความจงใจให้เกิดการกระทำทางกาย วาจา ใจที่เป็นบุญบ้าง บาปบ้าง ความคิด

คือเจตนาดังกล่าว ก็จะนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจและความรู้ความเข้าดังกล่าวนี้เกิดจากวิถีวิญญาณ เมื่อตายไป

ปฏิสนธิวิญญาณซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากวิถีจิตหรือวิถีวิญญาณ จะปฏิสนธิในภพในชาติใหม่ตามอำนาจของกรรม

3. วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป

ปฏิสนธิวิญญาณซึ่งเป็นไปตามอำนาจของกรรมได้ถือปฏิสนธิและเข้าร่วมกระบวนการเกิดและก่อรูปเป็นชีวิต

ที่พร้อมจะปรุงแต่งให้เกิดการกระทำต่อไปอีกจึงเกิดมีขันธ์ต่าง ๆ ขึ้นตามภพภูมิที่ไปปฏิสนธิ เช่น มนุษย์ ดิรัจฉาน

เทวดา เป็นต้น

4. นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตน

เมื่อขันธ์ทั้ง 5 คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ปรากฏขึ้นเรียกนามรูปและ

นามรูปนี้เอง เป็นฐานให้เกิดสฬายตนคืออายตนภายใน 6 อย่าง ( ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ) เพื่อสนองความต้องการที่

จะติดต่อกับโลกภายนอก

5. สฬายตนเป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ

อายตนภายใน ทั้ง 6 ได้ทำหน้าที่ปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก(อายตนภายนอก) คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส

ธัมมารมณ์ โดยมีวิญญาณเข้าร่วม

6. ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา

เมื่อมีการกระทบกันที่เรียกว่าผัสสะเกิดขึ้น ทำให้เกิดผลตามมาคือความรู้สึก(เวทนา)รู้สึกพอใจบ้าง ไม่พอใจ

บ้าง เฉย ๆ บ้างตามคุณภาพของอารมณ์ที่มากระทบเข้า

7. เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา

ความพอใจ (สุขเวทนา ) ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธัมมารมณ์ ความไม่พอใจ (ทุกขเวทนา) และความรู้สึก

เฉย ๆ ต่ออารมณ์ (อทุกขมสุขเวทนา ) จะส่งผลให้เกิดกามตัณหา (ความอยากได้) ภวตัณหา (อยากให้เป็นอย่างที่คิด)

หรือวิภวตัณหา (อยากให้มันพ้น ๆ ไปเสีย)

8. ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน

เมื่อเกิดความพอใจก็อยากได้มาเป็นของตน เกิดการยึดมั่นถือมั่นไม่ยอมปล่อยวาง ทำให้เกิดกามุปาทาน (ยึด

มั่นในอารมณ์ ) ทิฏฐุปาทาน (ยึดมั่นในความเห็น ) สีลพัตตุปาทาน (ยึดมั่นในข้อปฏิบัติและพฤติกรรม) และอัตตวา

ทุปาทาน (ยึดมั่นในตัวตน)

9. อุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิดภพ

จากการยึดมั่นถือมั่นในลักษณะต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วทำให้เกิดการกระทำ(กรรมภพ) ตามความยึดมั่นนั้นและ

การกระทำดังกล่าวก็จะสอดคล้องกับตัณหาและอุปาทานนั้น ๆ ซึ่งจะนำไปสู่ภพใหม่ (อุปปัตติภพ)

10. ภพเป็นปัจจัยให้เกิดชาติ

จากอุปปัตติภพก็จะเกิดการปฏิสนธิวิญญาณตามพลังอำนาจของกรรมนั้น ๆกระบวนการแห่งชีวิตเริ่มไปจาม

วงจรต่อไปอีกจนถึงช่วงต่อไป

11. ชาติเป็นปัจจัยให้เกิดมรณะ

เมื่อกระบวนการแห่งชีวิตได้หมุนเวียนไปตามวงจรจากชาติก็ไปสู่ชรามรณะคือ ความแตกดับแห่งชีวิตการ

อธิบายปฏิจจสมุปบาทนี้ อธิบายได้ทั้ง 2 นัย คืออธิบายแบบข้ามภพข้ามชาติ คือการตายจากชีวิตคนในชาตินี้แล้วไป

เกิดเป็นคนในชาติใหม่อีกแล้วก็นับกันใหม่เรื่อยไป (ชาติอดีต ชาติปัจจุบัน ชาติอนาคต ) และอีกนัยหนึ่งอธิบายแบบ

ชีวิตในชาติเดียวโดยการเกิดดับมีทุกขณะจิตและที่ว่าชาติคือการเกิดขึ้นแห่งกิเลสที่ยึดมั่นว่าตัวตนหรือตัวกูของกู

หรือวัฏฏสงสารที่เป็นสันทิฐิโก กล่าวคือสามารถเห็นได้ในปัจจุบันไม่ว่าจะอธิบายในลักษณะใดทั้งใน 1 และนัยที่ 2

ย่อมถือว่าถูกต้องทั้งนั้น เพราะปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมสากลและเป็นธรรมที่ตั้งอยู่บนเหตุผล

ข้อควรทราบเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท

บรรดาองค์ธรรม 12 แห่งปฏิจจสมุปบาทนี้ เมื่อนำไปจัดเป็นกาล กลุ่ม สนธิ และวัฏฏะ ก็จะได้ดังนี้

1. กาล 3 คือ

1. อดีตกาล ได้แก่ อวิชชา สังขาร

2. ปัจจุบันกาล ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตน ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ

3. อนาคตกาล ได้แก่ ชาติ ชรา มรณะ (+ โสกะ ปริเทว ทุกข์ โทมนัส อุปายาส)

2. กลุ่ม 4 คือ

1. อดีตเหตุ ได้แก่ อวิชชา สังขาร

2. ปัจจุบันผล ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตน ผัสสะ เวทนา

3. ปัจจุบันเหตุ ได้แก่ ตัณหา อุปาทาน ภพ

4. อนาคตผล ได้แก่ ชาติ ชรามรณะ (+ โสกะ ฯลฯ)

3. สนธิ 3 คือ

1. ระหว่างอดีตเหตุและปัจจุบันผล

2. ระหว่างปัจจุบันผลกับปัจจุบันเหตุ

3. ระหว่างปัจจุบันเหตุกับอนาคตผล

4. วัฏฏะ 3 คือ

1. กิเลส ได้แก่ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน

2. กรรม ได้แก่ สังขาร ภพ

3. วิบาก ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตน ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรามรณะ

ผลจากการศึกษาปฏิจจสมุปบาท

เนื่องจากปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมอันละเอียดลึกซึ้งกล่าวถึงความเป็นไปแห่งธรรมชาติหรือจักรวาลและชีวิต

หากมองจากสามัญสำนึกธรรมดาจะเห็นได้ว่า บรรดาสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ในจักรวาลนี้ไม่มีสิ่งใดเลยที่จะอยู่อย่างเลื่อน

ลอยโดยไม่อาศัยกันและกัน เช่น ปากกาอยู่ในมือของเรา ตัวเรานั่งอยู่บนเก้าอี้ เก้าอี้ตั้งอยู่ในอาคาร อาคารตั้งอยู่บน

แผ่นดิน แผ่นดินติดอยู่ในโลก โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ เป็นต้น

หากพิจารณาในแง่ของสังคมก็จะเห็นได้ว่า ชีวิตของเราได้ผูกพันเกี่ยวเนื่องและอาศัยอยู่กับบุคคล สัตว์ สิ่งของ

และธรรมชาติต่าง ๆ กล่าวเฉพาะในด้านบุคคลเราได้อาศัยกันและกันเป็นอญู่ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม แม้แต่บุคคลที่

เราไม่เคยรู้จักแต่เราก็อาศัยเขาเหล่านั้นในหลายรูปแบบ เป็นต้นว่า เสื้อผ้า อาหาร ข่าวสาร ยารักษาโรค ยานพาหนะ

ฯลฯ หรือแม้แต่คนที่ตายไปแล้วยังทิ้งมรดกมากมายไว้ให้พวกเราอนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา ได้รู้ได้เห็น

เพียงเท่านี้ก็นับว่าเป็นการเพียงพอที่จะช่วยให้เรามีโลกทัศน์กว้างไกลและมีทัศน์คติต่อบุคคลและสังคมและ

สำนึกในคุณค่าต่างๆที่เราได้รับและพยายามรักษาคุณค่านั้นไว้ให้สมกับที่เราได้รับยกย่องว่าเป็นมนุษย์ (ผู้มีจิตใจ

สูง)

ในด้านสัจจธรรม การศึกษาปฏิจจสมุปบาทช่วยให้เราเข้าใจความเป็นไปของชีวิต มองเห็นความไม่มีอะไรที่

เป็นตัวอย่างแท้จริง สิ่งต่าง ๆ ที่เราเห็นเป็นแต่เพียงความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันไม่มีสิ่งใดที่เรียกว่ามีอยู่อย่างแท้จริง

แต่ขณะเดียวกันเรามักจะถูกปิดบังจนทำให้เกิดอหังการและมมังการอันเป็นเหตุให้เกิดภพชาติต่อไปไม่สิ้นสุด

 

คำสำคัญ (Tags): #ปฏิจจสมุปบาท
หมายเลขบันทึก: 372397เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2010 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ เข้ามาร่วมเรียนรู้ค่ะ

ชีวิต เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

 

 

ใช่แล้ว ครับ มีเกิด แก่ เจ็บ และตาย เป็น สัจธรรม ของชีวิต หากเรารู้ว่า ตอนนี้เรากำลังอยู่ในสถานะใด เราก็หลุดพ้่นจาก ทุกข์เวทนาต่าง ๆ ได้ นี่คือหลักความจริงของธรรมชาติและมนุษย์ในโลก คับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท