ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (The way to the cessation of suffering)


พุทธธรรมสำหรับการพัฒนาชีวิตครู

4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (The way to the cessation of suffering)

ทางนำไปสู่ความดับทุกข์ บางทีเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ซึ่งว่าเป็นทางสายกลาง ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8 หรือ

เรียกตามภาษาวิชาการว่า “อัฏฐังคิกมรรค”

นอกจากทาง 8 สายนี้แล้วไม่มีหนทางใด ๆ ที่จะนำชีวิตสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้พระพุทธองค์ได้ทรงค้นพบแนวทางทาง

พ้นทุกข์ ซึ่งเกิดจากการเวียนว่ายตายเกิด แล้วทรงนำมาประกาศสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้ตรัสรู้ตามทาง 8 สายดังกล่าว

นี้ได้แก่ อริยมรรค 8 ประการ (The Noble Eighfold Path) คือ

1) สัมมาทิฏฐิ (Right Understanding) คือความเห็นชอบ รู้ชอบ หรือเข้าใจ

ชอบ ในหลักอริยสัจจ์ หลักไตรลักษณ์และหลักปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น

คำว่าเห็นชอบ ก็คือเห็นตามหลักการทฤษฎีที่พระพุทธองค์ได้ทรงวางไว้จะเห็นอย่างอื่นไปจากนี้ไม่ได้

2) สัมมาสังกัปปะ (Right Thought) คือความดำริ หรือระลึกอยู่ในใจเสมอใน 3 เรื่อง ได้แก่

1. เนกขัมมสังกัปปะ (ดำริในการที่ออกจากกามคุณ 5 อยา่ง คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส อันเป็น

เสมือนบ่วงคล้องสัตว์ไว้ในโลก)

2. อพยาปาทสังกัปปะ (ดำริในการไม่พยาบาทคนอื่น สัตว์อื่น กล่าวโดยสรุปก็คือ ไม่คิดทำร้าย

อาฆาตผูกโกรธและเอาเปรียบคนอื่น ๆ ไม่จะโดยวิธีการใด ๆ)

3. อวิหิงสา สังกัปปะ (ดำริโดยการไม่ทำให้คนอื่น สัตว์อื่นเดือดร้อนได้รับความลำบาก เช่น ไม่คิด

ประหัตประหารต่อสู้เอาชนะดว้ ยพละกำลังหรือด้วยวิธีทางปัญญา ผิด ๆ เป็นต้น)

3) สัมมาวาจา (Right Speech) คือเจรจาชอบ ได้แก่การพูดดีพูดถูก พูดน่ารัก และพูดแต่สิ่งที่มีประโยชน์

หมายถึง วจีสุจริต 4 อย่าง

1. คำพูดที่เป็นจริง (ภูตวาจา)

2. คำพูดที่ประสานความสามัคคี (สามัคคีวาจา)

3. คำพูดที่อ่อนหวาน (สัณหวาจา)

4. คำพูดที่มีสารประโยชน์ (สารัตถประโยชน์)

ในเรื่องของการพูดนี้ นับว่าเป็นพื้นฐานแห่งความเข้าใจ หากบุคคลสามารถใช้คำพูดได้ถูกต้องก็จะทำให้โลก

ประสบสันติสุขได้ เหตุที่สังคมปัจจุบันเกิดความวุ่นวายก็เพราะผู้พูดมิได้ยึดหลัก 4 ประการ

4) สัมมากัมมันตะ (Right Liveliho) คือการกระทำชอบได้แก่ กายสุจริต 3 อย่าง คือ

1. ไม่ฆ่าสัตว์ (หมายรวมถึง การเบียดเบียน ข่มเหง รังแก เอาเปรียบ และทำให้ได้รับทุกข์ทรมานโดย

ประการต่าง ๆ) ตรงกับศีลข้อที่ 1 ว่า ปาณาติปาตาเวรมณี (แปลว่า การงดเว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป)

2. ไม่ลักทรัพย์ (หมายถึงไม่คอรัปชั่น ยักยอก ฉ้อโกง ซ่อนเร้น แปลว่า การงดเว้นจากการถือเอา

สิ่งของที่ที่เจ้าของไม่ให้หรือไม่อนุญาตโดยอาการแห่งขโมย)

3. ไม่ประพฤติผิดในกาม (หมายถึงการละเมิดทางประเวณี ในบุตร ภรรยา นักพรต นักบวช ซึ่งไม่เป็น

การเหมาะสม) ตรงกับศีลข้อที่ 3 ว่า กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณี (แปลว่า การสำรวมในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส และ

สัมผัส แต่โดยการเข้าใจทั่วไปคือการล่วงละเมิดในการสังวาส)

5) สัมมาอาชีวะ (Right Livelihood) คือการประกอบอาชีพโดยชอบได้แก่ อาชีพที่ถูกต้องตามหลักศีลธรรม

ไม่ขัดแย้งกับหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งจะเป็นอาชีพประเภทใดก็ได้ ยกเว้นอาชีพดังต่อไปนี้

1. ค้าขายอาวุธ (สัตถวณิชชา)

2. ค้าขายเนื้อสัตว์ (มังสวณิชชา)

3. ค้ามนุษย์ (มนุสวณิชชา)

4. ค้าขายน้ำเมา (มัชชวณิชชา)

5. ค้าขายยาพิษ (วิสวณิชชา)

เหตุผลในการทรงบัญญัติห้ามการประกอบอาชีพทั้ง 5 อย่าง วิเคราะห์ได้ดังนี้

ห้ามค้าขายอาวุธก็เพื่อสกัดกั้นมิให้เกิดการประหัตประหารซึ่งกันและกันเพราะหากไม่มีอาวุธแล้วความรุนแรง

โหดร้ายทารุนในการเบียดเบียนกันแลฃะกันก็ลดลงซึ่ง

สอดคล้องกับศีลข้อที่ 1 ที่ห้ามไม่ให้ฆ่าสัตว์

ห้ามค้าขายมนุษย์ก็เพื่อให้เคารพในศักดิ์ศรีของมนุษย์ด้วยกันเพราะการค้าขายเป็นการข่มเหงและทารุนจิตใจ

มนุษย์ด้วยกันมนุษย์แต่ละคนควรมีเสรีภาพในการ

ดำรงชีวิตของตนตามครรลองคลองธรรมนับว่าพระพุทธองค์ได้ทรงประกาศเลิกทาสเป็นคนแรกเพียงแต่ข้อ

ประกาศนั้นมิได้เป็นอำนาจของรัฐแต่เป็นอำนาจทางศีลธรรมซึ่งมีผลในทางจิตใจ

ห้ามค้าขายเนื้อสัตว์ เหตุผลที่ทรงห้ามค้าขายเนื้อสัตว์ ก็เพราะไม่ส่งเสริมให้มีการฆ่าและการเบียดเบียนกัน

เพราะตราบใดที่ยังมีการซื้อขายเนื้อสัตว์อยู่ การประหัตประหารก็ย่อมมีอยู่ตลอดไป การค้าขายเนื้อสัตว์ก็คือการ

ส่งเสริมการฆ่านั่นเองการบริโภคเนื้อสัตวเ์ป็นการส่งการฆ่าสัตว์หรือไม่ เมื่อพิจารณาถึงเหตุผลแล้วก็เห็นว่ามีสว่ น

สนับสนุนอยู่บ้าง เพราะเนื้อสัตว์ส่วนใหญ่เกิดจากการสนองความต้องการของผู้บริโภคที่สัตว์ต้องตายวันละมาก ๆ

เพราะมีจำนวนผู้บริโภคสูง แต่อย่างไรก็ดีพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า “หากภิกษุไม่รู้ไม่เห็น ไม่ได้ยิน และไม่รังเกียจว่า

เขาฆ่าเพื่อตนฉันได้ไม่เป็นอาบัติ (คือฉันตามมีตามได้) แต่หากภิกษุได้เห็น ได้ยิน และเกิดความรังเกียจว่า เขาฆ่า

เพื่อตน เช่นนี้ ฉันลงไปเป็นอาบัติ”

ห้ามค้าขายน้ำเมา เหตุผลที่ทรงห้ามการค้าขายน้ำเมา ก็เพราะน้ำเมาเป็นเหตุแห่งความประมาท ดื่มน้ำเมาย่อม

ขาดสติและสัมปชัญญะ เมื่อคนไม่มีสติสัมปชัญญะ ย่อมทำความผิดได้ง่าย ยิ่งไปกว่านี้น้ำเมายังเป็นสาเหตุให้เกิด

ความเสียหายอื่นอีก รวมทั้งเสียสุขภาพอนามัยด้วย

อนึ่ง การเสพยาเสพติดให้โทษทุกชนิด ก็สงเคราะห์เข้าในน้ำเมานี้

ห้ามค้าขายยาพิษ ก็เพราะยาพิษเป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์และสัตว์ ถ้าร่างกายรับยาพิษเข้าไปมากก็เป็น

อันตรายถึงแก่ชีวิต ถ้ารับเข้าไปไม่ถึงตายก็จะเกิดความทุกข์ทรมาน

อนึ่ง ส่วนผสมอาหารบางชนิด เช่น ผงชูรส สีใส่อาหารและภาชนะที่เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคก็น่าจะสงเคราะห์เข้า

ในข้อนี้ด้วย

6) สัมมาวายามะ (Right Effort) ความพยาบาทชอบ คือความพยายามในที่ 4 สถาน เรียกสัมมัปปธาน 4 ได้แก่

1. สังวรปธาน เพียรละบาปอกุศลมิให้เกิดขึ้นทั้งทางกาย วาจา และทางใจ

2. ปหานปธาน เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้สิ้นไป

3. ภาวนาปธาน เพียรพยายามทำกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น

4. อนุรักขนาปธาน เพียรพยายามรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อมไป ให้ดำรงอยู่และให้เจริญยิ่ง ๆ

ขึ้นไป

ในการเพียรพยายามเพื่อละอกุศลคือความชั่วมิให้เกิดขึ้นและเพียรพยายามเพื่อให้กุศลคือความดีเกิดขึ้นในตนนั้น

จะต้องอาศัยเครื่องมือในการดำเนินการดังนี้คือ

1. ปาฏิโมกขสังวร สำรวมในพระปาฏิโมกข์ อันเป็นพระบัญญัติที่พระพุทธเจ้าได้ทรงวางไว้แล้ว

2. สติสังวร สำรวมด้วยสติ คือสำรวมอินทรีย์มีจักษุเป็นต้น ระวังรักษามิให้ความชั่วเข้าครอบงำเมื่อตา เห็นรูปเป็นต้น

3. ญาณสังวร สำรวมด้วยญาณ คือตัดกระแสกิเลสด้วยการใช้ปัญญาพิจารณามิให้กิเลสเข้ามาครอบงำจิต

4. ขันติสังวร สำรวมด้วยขันติ คิดอดทนต่อหนาวร้อน หิวกระหาย ถ้อยคำที่หยาบ และทุกขเวทนาต่าง

ๆ เป็นต้น

5. วิริยสังวร สำรวมด้วยความเพียร คือ พยายามขับไล่ และกำจัดอกุศลให้หมดไป

7) สัมมาสติ (Right Mindfullness) ความระลึกชอบคือ ระลึกในที่ 4 สถาน เรียกสติปัฏฐาน 4 ได้แก่

1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการตั้งสติพิจารณากายให้เห็นตามความเป็นจริงว่า กายก็เพียงสักแต่ว่า

กาย มิใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา เป็นสิ่งสมมติเกิดขึ้น จากการรวมตัวกันของธาตุ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ

การกำหนดพิจารณากายทำได้หลายวิธี เช่น กำหนดลมหายใจเข้าออก กำหนดอิริยาบถ คือการเคลื่อนไหว

ของกาย และพิจารณาถึงส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย ซึ่งเป็นสิ่งไม่สะอาด น่าเกลียด เป็นต้น

2. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการตั้งสติกำหนดพิจารณาถึงเวลาให้รู้เห็นตามความเป็นจริงว่า ไม่ใช่

สัตว์บุคคล ตัวตน เรา เขา รู้สุข รู้ทุกข์ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน

3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิตให้รู้เห็นตามความเป็นจริงว่า ไม่ใช่สัตว์

บุคคล ตัวตนเราเขา ได้แก่มีสติรู้ว่า จิตของตนมีสภาพอย่างไรถูกกิเลสคลอบงำหรือไม่ เป็นต้น

4. ธัมมานุปัสสนสติปัฏฐาน คือ ตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม ให้รู้เห็นตามความเป็นจริงว่าเป็นเพียง

ธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ได้แก่มีสติรู้ชัดธรรมทั้งหลาย เช่น นิวรณ์ 5 ขันธ์ 5 อายตนะ 12 และอริยสัจจ์ 4

8) สัมมาสมาธิ (Right Concentration) คือจิตตั้งมั่นโดยชอบ ไดแ้ ก่จิตที่ตั้งมั่นในญาณ 4 คือ

1. ปฐมญาณ คือ ญาณที่ 1 สภาพของจิตในชั้นนี้มีองค์ 5 อย่าง คือ วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข และเอกัคคตา

2. ทุติยญาณ คือ ญาณที่ 2 สภาพของจิตในชั้นนี้ละองค์ญาณคือ วิตก วิจารณ์ได้เหลือแต่ ปีติ สุข และเอกัคคตา

3. ตติยญาณ คือ ญาณที่ 3 สภาพของจิตในชั้นนี้ ละองค์ญาณคือ ปีติได้เหลือแต่ สุข และเอกัคคตา

4. จตุตญาณ คือ ญาณที่ 4 สภาพของจิตในชั้นนี้ ละองค์ญาณคือ สุข ได้เหลือแต่อุเบกขาและเอกัคคตา

สมาธิมีหลายประเภท แต่ไม่เรียกสัมมาสมาธิ เพราะมิใช่ทางแห่งความพ้นทุกข์ สัมมาสมาธิเท่านั้นที่จะเป็นบันใดให้

เกิดการตรัสรู้และตัดกิเลสได้

อริยสัจจ์ทั้ง 4 ประการนี้จัดเป็นปรมัตถสัจจะ เพราะเป็นความจริงที่มีอยู่จริง ๆ อันเป็นสัจจธรรมที่พระพุทธ

องค์ได้ตรัสรู้ ซึ่งเป็นศูนย์กลางแห่งหัวข้อธรรมทั้งหลาย

หมายเลขบันทึก: 372401เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2010 10:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท