อริยสัจจ์ 4 (The Four Noble Truths)


พุทธธรรมสำหรับการพัฒนาชีวิตครู

3. อริยสัจจ์ 4 (The Four Noble Truths)

ความหมายของศัพท์

คำว่า อริยสัจจ์ ประกอบด้วย อริย + สัจจะ อริย แปลว่า ประเสริฐ สัจจะ แปลว่า ความจริง เมื่อรวมความเข้ากัน

แล้วมีความหมายว่า ความจริงอันประเสริฐ ได้แก่ ความจริงอันเป็นของพระอริยะเจ้า หรือ ความจริงที่

พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ผู้ศึกษาพึงทราบความเบื้องต้นก่อนว่า ความจริงหรือสัจจะนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ

1) สมมติสัจจะ ความจริงโดยการสมมติ

2) ปรมัตถสัจจะ ความจริงที่แท้จริง

อะไรคือความจริงโดยการสมมติ หากเราจะพิจารณาถึงสิ่งที่ชาวโลกที่เรียกขานกัน ไม่ว่าเป็นวัตถุ บุคคล

สถานที่และสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา สิ่งดังกล่าวเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งสมมติกัน ใช้เรียกกันเพื่อสื่อความหมายให้

ตรงกัน จะได้ไม่เกิดความสับสนขึ้น และสิ่งดังกล่าวเหล่านี้เมื่อมองให้ลึกลงไปจะไม่มีอะไรเป็นความจริง ล้วนแต่

เป็นสิ่งสมมติตั้งขึ้นชั่วครู่ชั่วคราว ก็จะแตกสลายสูญหายไปตามกาลเวลาและมิได้มีสาระแก่นแท้จริงเลย จึงเรียกว่า

สมมติสัจจะ คือเป็นความจริงโดยการกำหนดสมมติ ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า “สมมติสัจจะ”

อะไรคือความจริงที่แท้จริง ได้แก่ ความจริงที่เป็นปรมัตถสัจจะ หรือความจริงสูงสุดเป็นความจริงที่แท้จริง ซึ่ง

มิได้เกิดจากการสมมติใด ๆ กล่าวคือไม่ว่าใครจะรู้เห็นหรือไม่ มันก็มีของมัน และก็เป็นอยู่อย่างนั้น เมื่อมีผู้รู้ความ

จริงนั้นเข้าก็นำมาประกาศบอกเล่าแก่บุคคล

อื่น ๆ ต่อ ๆ กันไป

อริยสัจจ์ 4 จัดเป็นปรมัตถสัจจะ เพราะเป็นความจริงที่แท้จริงและก็มีอยู่จริง ๆ ไม่มีกฎเกณฑ์ใด ๆ จะลบล้างได้

และเป็นความจริงที่ประจักษ์แก่ทุกคนไม่มีการยกเว้น

 

หัวข้อแห่งอริยสัจจ์ 4

อริยสัจจ์ คือ ความจริงอันประเสริฐซึ่งเป็นของพระอริยเจ้านี้มี 4 ประการด้วยกันคือ

1.ทุกขสัจจ์ (Suffurring)

ความจริงคือความทุกข์ ได้แก่ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ซึ่งเรียกว่า ทุกขเวทนา กล่าวโดยประเภทมี

10 ประเภทคือ

1) นิพัทธทุกข์ คือทุกข์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ได้แก่ ความไม่สบายกายความไม่สบายใจอันเกิดจาก

สภาพแวดล้อมต่าง ๆ เช่น อากาศหนาว อากาศร้อน และสิ่งรบกวนอื่น ๆ เช่น ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ การนั่ง ๆ

นอนนาน ๆ และยืนนาน ๆ โดยไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถ ล้วนทำให้เกิดทุกข์ทั้งสิ้น

2) พยาธิทุกข์ คือ ทุกข์ที่เกิดจากความป่วยไข้ ความไม่ปกติทางร่างกายอันเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง

3) สภาวทุกข์ คือทุกข์อันเกิดจากสภาพการณ์ต่าง ๆ เช่น การเกิด การแก่ การเจ็บ และการตาย ซึ่งเป็นสิ่งที่

หลีกเลี่ยงไม่ได้ชีวิตทุกชีวิตต้องเผชิญหน้ากับปัญหาเหล่านี้

4) สันตาปทุกข์ คือ ทุกข์ที่เกิดจากความเร่าร้อนภายใน คือกิเลสตัณหาและราคะเผาไหม้จิตใจครุกกรุ่นอยู่

ภายใน ต้องดิ้นรนขวนขวาย เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนต้องการและผละออกไป ซึ่งสิ่งที่ตนไม่ปรารถนาตามอำนาจ

ของกิเลส

5) ปกิณณกทุกข์ คือ ทุกข์เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จรมา เชน่ ความโศกเศร้าเสียใจอันเกิดจากความคิดถึงและเสียดาย

ในสิ่งของที่หวงแหน

6)อาชีวทุกข์คือทุกข์เกิดจากการทำมาหากินต้องต่อสู้อดทนขยันและเสี่ยงต่อภยันตรายต่างๆต้องตื้นเช้านอน

ดึกเพื่อหาอาหารและทรัพย์สินมาเลี้ยงตนเองและ

ครอบครัว

7) วิบากทุกข์ คือ ทุกข์ที่เกิดจากผลแห่งกรรมชั่ว ที่ตนได้ประกอบมา เช่น ถูกลงโทษทัณฑ์ หรือ เสียสิทธิ์

เสียชื่อเสียง และเสียสุขภาพจิต เป็นต้น

8) สหคตทุกข์ คือทุกข์ไปตามหรือทุกข์ติดตามได้แก่ทุกขลาภ (ทุกข์เกิดจากการได้มา) เช่น ได้รับตำแหน่ง

หน้าที่เกียรติยศ ทรัพย์สิน เงินทอง และอื่น ๆ ต้องใช้ความระมัดระวังเพื่อรักษามันไว้ให้อยู่กับตนนานเท่านาน และ

หมั่นประคับประคองเอาใจใส่อยู่เสมอ จึงเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ยากลำบากตามมา

9) วิวาทมูลทุกข์ คือ ทุกข์เกิดจากการถกเถียงโต้แย้ง และเป็นศัตรูกัน เกิดการจองเวรล้างผลาญ ทุกข์ประเภท

นี้เกิดขึ้นเสมอในสังคมใหญ่ ๆ แม้บางคนจะถือสันติสงบ กาย วาจา แต่อีกฝ่ายก็จะหาเรื่องใส่ร้ายป้ายสีและซุบซิบ

นินทาตามกิเลสของมนุษย์

10) ทุกขขันธ์ คือทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมีขันธ์ 5 คือ ชีวิต ต้องประคับประครองประคบประหงมเอาใจใส่ต่อ

ขันธ์ นั่นก็คือทุกข์จากการบริหารขันธ์ 5 นั่นเอง เช่น ต้องล้างหน้า แปรงฟัน ทาแป้ง แต่งตัว เมื่อมีความเจ็บป่วยก็

ต้องพยาบาลรักษาให้หายเป็นต้น

อนึ่ง ทุกข์ในอริยสัจจ์กับทุกข์ในขันธ์ 5 มีความหมายกว้างแคบกว่ากัน ทุกข์ในขันธ์ 5 หมายถึง สภาวะที่ทนอยู่ไม่ได้

จำจะต้องเปลี่ยนแปลงไป ส่วนทุกข์ในอริยสัจจ์ หมายถึง ทุกขเวทนา คือ ความเจ็บปวด ซึ่งเกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิต

เท่านั้น

 

2. ทุกขสมุทัยสัจจ์ (The cause of suffuring)

ได้แก่ ความจริงคือเหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหาความทะยานอยากมี 3 อย่าง คือ

1) กามตัณหา (อยากได้) ภวตัณหา (อยากเห็นหรืออยากให้เป็น, อยากให้อยู่) และวิภวตัณหา (อยากไม่เป็น,

อยากให้ผ่านพ้นไป)

2) กามตัณหา คือ ความอยากในรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งสัมผัส อันน่าปรารถนา น่าชอบใจ ต้องดิ้นรน

ขวนขวายเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ

3) ภวตัณหาคือความอยากเป็นอย่างนั้นอยากเป็นอย่างนี้ที่ตนยังไม่เป็นและเมื่อได้เป็นแล้วก็อยากให้สิ่งที่น่า

ใคร่น่าพอใจอยู่ในสภาพเดิมโดยไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น

4)วิภวตัณหาคือความอยากไม่เป็นหรืออยากไม่ให้เป็นอย่างที่มันเป็นอยู่อยากให้มันผ่านพ้นไปกล่าวโดยสรุป

ก็คือเกิดความเบื่อหน่ายในสภาพที่เป็นอยู่อยากให้มีการ

เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตัณหานี้เองเป็นตัวก่อให้เกิดทุกข์ ยิ่งมีตัณหาความทะยานอยากมากเท่าไร ความทุกข์ก็ยิ่งเพิ่ม

ปริมาณขึ้นเป็นเงาตามตัว

 

3. ทุกขนิโรธสัจจ์ (The cessation of suffuring)

ความจริง คือความดับทุกข์ ได้แก่ ดับตัณหาทั้ง 3 ดังกล่าว เมื่อตัณหาดับแล้วสภาพจิตก็จะเกิดความสะอาด

(บริสุทธิ์) สว่าง (ปัญญา) และสงบ (สันติ) ขึ้นและเกิดความหลุดพ้นปลอดโปร่งและมีอิสระ นั่นก็คือจิตเข้าถึง

นิพพาน คือสภาพที่จิตพ้นทุกข์อันเกิดจากอำนาจกิเลสการเดินทางแห่งชีวิตได้รรลุถึงเป้าหมายอันสูงสุดแล้ว

มีศัพท์ที่มีความหมายอย่างเดียวกับคำว่านิโรธนี้เป็นจำนวนมาก เช่น

วิราคะ (สิ้นความกำหนัด)

วิมุตติ (หลุดพ้น)

วิโมกข์ (หลุดพ้น)

พุทธ (ตรัสรู้,รู้แจ้ง)

อรหันต์ (สิ้นกิเลส,ห่างไกลกิเลส)

นิพพาน (กิเลสสิ้น)

อนัตตา (ไม่มีตัวตน) ฯลฯ__

คำสำคัญ (Tags): #อริยสัจ 4
หมายเลขบันทึก: 372399เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2010 10:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท