กรรมและกฎแห่งกรรม (Karma and The law of karma)


พุทธธรรมสำหรับการพัฒนาชีวิตครู

2. กรรมและกฎแห่งกรรม (Karma and The law of karma)

1. ลักษณะของกรรม

กรรมคืออะไร โดยทั่วไปคนทั้งหลายเข้าใจความของคำว่า “กรรม” ว่าเป็นเรื่องเคราะห์รา้ย เช่น เกิดความ

ตกทุกข์ได้ยาก หรือประสบภัยพิบัติต่าง ๆ ในชีวิต คนที่ได้รับความทุกข์ทรมานเรียกว่า คนมีกรรม

ความหมายของกรรมตามนัยพุทธปรัชญานี้คือ การกระทำหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าพฤติกรรม ได้แก่ การกระทำต่าง

ๆ ของตน ไม่ว่าการกระทำนั้นจะเป็นการกระทำดีหรือชั่วย่อมได้ชื่อว่า “กรรม” ทั้งนั้น แต่การกระทำที่จะจัดเป็น

กรรมโดยสมบูรณ์จะต้องประกอบไปด้วยองค์ 3 คือ

1. มีกิเลสเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการกระทำ

2. มีเจตนาหรือความจงใจที่จะกระทำ

3. มีการกระทำหรือการเคลื่อนไหวเกิดขึ้น

ดังนั้นการกระทำใด ๆ จะเรียกว่าเป็นกรรมจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการเหล่านี้หากขาดข้อใด

ข้อหนึ่งก็หาเป็นกรรมไม่ เช่น พระอรหันต์ทั้งหลาย แม้จะได้บำเพ็ญประโยชน์หรือมีการกระทำบางสิ่งบางอย่าง

เกิดขึ้น ก็ไม่จัดว่าเป็นการกระทำกรรมเพราะท่านเหล่านั้นไม่มีกิเลสคือ โลภ โทสะ และโมหะ ครอบงำ กระตุ้นหรือ

ผลักดันให้เกิดการกระทำ แต่ท่านลงไปตามหน้าที่โดยไม่ได้หวังความดีความชอบหรือผลตอบแทนใด ๆ

การกระทำที่มีเจตนา คือมีความตั้งใจโดยสืบเนื่องเกี่ยวโยงมาจากข้อที่ 1 คือกิเลสเป็นตัวชักนำก่อให้เกิดเจตนา

ขึ้นเช่นนี้จัดว่าเป็นกรรมพระพุทธองค์ตรัสว่า “เจตนาหํ ภิกขเว กมฺมํ วทามิ” “ก่อนภิกษุทั้งหลายเรากล่าวว่าเจตนา

เป็นกรรม”

แม้จะมีกิเลสและมีเจตนา แต่หากยังไม่มีการเคลื่อนไหว ทางกาย ทางวาจา และทางใจ การกระทำนั้นก็ไม่ถือว่า

เป็นกรรมโดยสมบูรณ์ เมื่อองค์ประกอบทั้ง 3 ประการเกิดขึ้นพร้อมกัน เมื่อใดความเป็นกรรมที่สมบูรณ์ก็เกิดขึ้น

ทันที

2. กฎแห่งกรรม

การกระทำใด ๆ ก็ตามที่จัดว่าเป็น “กรรม” จะต้องถูกบันทึกไว้ในจิตของผู้กระทำนักปราชญ์อาจารย์

ทั้งหลายในอดีตมักจะสั่งสอนลูกศิษย์เสมอว่าไม่ว่ากระทำดีหรือกระทำชั่วอย่างน้อยจะต้องมีคนเห็นหนึ่งคนคือตัว

ผู้กระทำนั้นเอง ในเรื่องกฎแห่งกรรมนี้มีพุทธภาษิตรับรองไว้ว่า

ยทิสํ วปเต พีชํ ตาทิสํ ลภเต ผลํ

กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ

แปลความหมายเป็นภาษาไทยว่า “บุคคลหว่านพืชเช่นใดย่อมได้ผลเช่นนั้น บุคคลทำดีย่อมได้รับผลดี

ทำชั่วย่อมได้รับผลชั่ว”

นับว่าเป็นข้ออุปมาอุปมัยที่เห็นได้ชัดเจน กล่าวอธิบายอย่างง่าย ๆ ก็คือ ถ้าเราหว่านพันธ์ผักกาดลงไปในดิน

พืชที่เกิดขึ้นมาก็ต้องเป็นผักกาด มิใช่ผักคะน้าหือผักกวางตุ้ง เช่นเดียวกันถ้าทำกรรมดีผลที่ได้รับคือความดีหรือหาก

ทำความชั่วก็ได้รับความชั่วคือ ความเดือดร้อนใจจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้เพราะมันเป็นกฎธรรมชาติ

คนส่วนมากมักเข้าใจความหมายผิดๆ เช่นว่าบางคนทำความดี ทำไมไม่ได้เงินทอง ร่ำรวยยศถาบรรดาศักดิ์

ตรงกันข้ามบางคนทำไม่ดีคอรัปชั่นคดโกง ทำไมจึงได้ตำแหน่งหน้าที่ความดี ความชอบเป็นเศรษฐี อธิบดี รัฐมนตรี

เป็นต้น นับว่าเป็นความเข้าใจที่ไม่ตรงตามหลักกรรมของพระพุทธศาสนา เพราะเขาเหล่านั้นพยามลากโยง

เอากาลกระทำความดีเช่นเมตตากรุณาซื่อสัตย์สุจริตมาตีค่าเงินเงินเป็นเกียรติอันที่จริงความดีนั้นเขาได้รับทันทีอยู่

แล้วตั้งแต่เวลาที่เขาได้ทำลงไปเช่นกับที่เราเขียนหนังสือพอจรดปลายปากกาลงไป เขียนไปเขียนไปตัวหนังสือและ

ข้อความก็เกิดขึ้นถ้าหากไม่เกิดการขีดเขียนก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นในกระดาษ

แต่อย่างไรก็ดีถ้าหากจะพูดกันในแง่ลึกๆละเอียดลงไปใช่ว่ากรรมดีกรรมชั่วจะไม่เกิดเลยไม่ดังที่เห็นๆกันอยู่

โดยทั่วไปคนที่ทำดีก็มีผลต่อตำแหน่งหน้าที่เกียรติยศชื่อเสียงทางสังคมได้เช่น เดียวกันส่วนคนชั่วก็ได้รับผลร้าย

เช่น ถูกลงโทษทัณฑ์ ติดคุก เสียเงินทองและชื่อเสียงได้เช่นเดียวกันตลอดชีวิตของผู้เขียนเองก็ได้เฝ้าสังเกต

พฤติกรรมของบุคคลต่าง ๆ ก็ เป็นข้อสรุปได้ ว่าผลแห่งกรรมนั้นมีอำนาจมากนอกจากจะให้ผลในปัจจุบันชาติแล้ว

ยังมีผลต่อภพชาติต่อๆไปดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า

กมฺมํ สตฺเต วิภชฺชติ ยทิทํ หีนปฺปณีตตาย“กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีต”

หมายความว่าการกระทำเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าคนจะเกิดดีมีสุขหรือตกทุกข์ได้ยากก็เพราะอำนาจของกรรม

กรรมเป็นผู้กำหนด

มักมีผู้ตั้งปัญหาถามเสมอว่า เขาทำดีทำบุญให้ทาน ซื่อสัตย์สุจริต ขยัน หมั่นเพียร แต่ทำไมต้องตกทุกข์ได้ยาก

ตกระกรำลำบาก อธิบายเปรียบเทียบเหมือนกับการปลูกต้นไม้ ต้นไม้บางชนิดกว่าจะได้ดอกได้ผลก็ต้องอาศัยเวลา

และข้อที่น่าสังเกตก็คือมีตัวแปลมากมายที่อาจก่อให้เกิดผลช้าหรือไม่ได้ผล ตัวอย่าง เช่น ในการทำความดีจะต้องมี

เหตุผลอันสมควรขึ้นอยู่กับเวลา สถานที่ บุคคล และความเหมาะสมอย่างอื่น ๆ อีก

3. เครื่องมือในการกระทำกรรม

ในการทำกรรมใด ๆ ก็ตาม กรรมเกิดขึ้นได้ใน 3 ทางเท่านั้นคือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ การกระทำทางกาย

เรียกว่า “กายกรรม” การกระทำทางวาจาเรียกว่า “วจีกรรม” และการคิดเรียกว่า “มโนกรรม” ดังนั้น กาย วาจา ใจ จึง

เรียกว่า เครื่องมือในการกระทำกรรมทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่วคือ

1) กายกรรม แบ่งออกได้เป็นกายสุจริต และกายทุจริต

2) วจีกรรม แบ่งออกเป็นวจีสุจริต และวจีทุจริต

3) มโนกรรม แบ่งออกเป็น มโนสุจริต และมโนทุจริต

กล่าวโดยสรุปได้แก่ กุศลกรรมบถ 10 และอกุศลกรรมบถ 10 ประการนั่นเอง

ข้อที่น่าสังเกตประการหนึ่งก็คือ กรรมดีคนดีทำได้ง่าย ส่วนกรรมชั่วคนชั่วทำได้ง่าย ตรงกันข้าม กรรมชั่วคนดีทำได้

ยาก กรรมดีคนชั่วทำได้ยาก เพราะเป็นการฟืนความรู้สึกและความเคยชิน

4. ประเภทของกรรม

กรรมมี 12 ประเภท โดยแบ่งตามกาลเวลาที่ให้ผลตามหน้าที่และตามลำดับความหนักเบาในบรรดากรรมทั้ง

12 อย่างนี้ เมื่อกล่าวตามประเภทก็จะได้เพียง 3 ประเภทใหญ่ ๆ เท่านั้น คือ

. กรรมให้ผลตามกาลเวลา ได้แก่

1. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพนี้หรือกรรมให้ผลในปัจจุบันไม่ต้องไปถึงชาติหน้านับว่าเป็น

กรรมที่มีผลร้ายแรงมากให้ผลทันตาเห็นผู้ทำย่อมเสวยผลกรรมในชาตินี้แต่ถ้าหากผู้ทำตายไปก่อน กรรมนี้ย่อมไม่

ให้ผลและกลายเป็นอโหสิกรรมไป

2. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมที่จะให้ผลในภพหน้า เมื่อผู้ทำกรรมเกิดในภพชาติใหม่ก็จะให้ผลทันที แต่ถ้า

ให้ผลแล้วก็เป็นอโหสิกรรมไปคือจะไม่ให้ผลต่อ ๆ ไปอีก

3. อปราปรเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพสืบ ๆ ไป กรรมนี้จัดเป็นกรรมเบามีผลไม่ร้ายแรงแต่ยังมีวิบากคอย

ให้ผลอยู่เมื่อได้โอกาสเมื่อใดก็ให้ผลเมื่อนั้น จนกว่าจะเลิกให้ผล

4. อโหสิกรรม กรรมให้ผลสำเร็จแล้วและก็เป็นอันสุดสิ้นกันไปเมื่อกรรม 3 อย่างนั้นให้ผลก็ถือว่าแล้วกันไป

. กรรมให้ผลตามหน้าที่ ได้แก่

1) ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิดคือทำสัตว์ให้เคลื่อนจากภพหนึ่งแล้วมาปฏิสนธิในภพอื่น ซึ่งเป็นไปตาม

อำนาจของกรรมดีกรรมชั่วที่จะให้ไปเกิดในสุคติหรือทุกขคติ เปรียบเหมือนมารดายังบุตรให้เกิด กล่าวคือถ้าไม่มี

กรรมประเภทนี้สัตว์ก็ไม่ต้องเกิด

2) อุปัตถัมภกรรม กรรมค้ำจุนหรือกรรมสนับสนุนเมื่อชนกกรรมให้เกิดแล้วกรรมนี้ก็สนับสนุนทั้งให้ดีและ

ให้เลว คือถ้าเกิดในที่ดีหรือในตระกูลสูง ความดีอย่างอื่น ๆ เช่น โภชนาการ การได้รับการศึกษา และสุขภาพอนามัย

ที่ดีก็จะตามมา

3) อุปปีฬกรรม กรรมคอยบีบคั้นคือกรรมที่คอยเข้าขัดขวางไม่ให้ดีและไม่เลวจนเกินไป กล่าวคือกรรมดีช่วย

ให้เกิดดี กรรมนี้ก็จะคอยขัดขวางให้ทรุดลง ถ้าชนกกรรมเป็นอกุศลแต่งปฏิสนธิข้างเลว กรรมนี้ก็จะคอยกีดกันให้

ทุเลาขึ้น

4)อุปฆาตกรรมกรรมตัดรอนสามารถตัดรอนชนกกรรมอุปถัมภกรรมและอุปปีฬกรรมให้เด็ดขาดแล้วเข้าให้ผล

เปรียบเหมือนผลไม้ยังไม่ถึงคราวที่จะหล่นแต่เพราะถูกไม้ค้อน ก้อนดิน หรือ ถูกปลิด ก็จะต้องหล่นออกจากขั้วลง

มา

. กรรมให้ผลตามความหนักเบา ได้แก่

1) ครุกรรม กรรมหนักเป็นทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล ฝ่ายกุศลได้แก่ สมาบัติ 8 ฝ่ายอกุศลได้แก่ อนันตริยกรรม 5

กรรมนี้ย่อมให้ผลก่อนกรรมอื่น ๆ เพราะเป็นกรรมรุนแรง

2) พหุลกรรม กรรมอาจิณคือกรรมที่ทำบ่อย ๆ แม้จะเป็นกรรมเล็กน้อย แต่เมื่อสะสมไว้มาก ๆ ก็ย่อมมีพลัง

เมื่อครุกรรมไม่มีกรรมนี้ย่อมให้ผล

3) อาสันนกรรม กรรมเมื่อจวนเจียน คือกรรมให้ผลในเวลาใกล้จะตายกรรมนี้จะอ่อนกำลังก็ย่อมให้ผล

ได้เปรียบเหมือนโคที่แออัดอยู่ในคอก โคตัวอยู่ใกล้ประตูคอก แม้จะแก่มีกำลังน้อยก็ย่อมออกก่อนได้ ฉันใดฉันนั้น

ดังนั้น เมื่อเวลาคนใกล้จะตายหรือสิ้นใจใหม่ ๆ จึงนิมนต์พระมาสวดจนเป็นประเพณี

4) กตัตตากรรม กรรมสักแต่ว่าทำ ได้แก่ กรรมที่เกิดจากความไม่จงใจหรือเป็นการกระทำด้วยเจตนาเป็นอย่าง

อื่น เช่น นายแพทย์ฉีดยาให้คนไข้หาย แต่คนไข้ตายหรือบางครั้งพ่อแม่แก้ปัญหาเด็กร้องไห้บอกว่าจะให้ผีมาเอาไป

แต่ด้วยใจจริงแล้วพ่อแม่ทั้งหลายหามีเจตนาอย่างนั้นไม่

กรรมทั้ง 3 หมวดนี้ เมื่อรวมกันแล้วก็จะเป็นกรรม 12

5. สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

พุทธศาสนาไม่ยอมรับอำนาจลึกลับ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มองไม่เห็นว่าเป็นผู้ดลบันดาลให้มนุษย์มีสุขและมี

ทุกข์ แต่ยอมรับในเรื่องกฎแห่งกรรม กล่าวคือมนุษย์จะได้สุขได้ทุกข์เกิดจากการกระทำของเขาเอง พุทธศาสนา

สอนให้ยึดตนเองเป็นหลักแทนที่จะวิ่งหาอำนาจนอกตัว ดังพุทธภาษิตว่า “อตฺตหิ อตฺตโน นาโถ” ซึ่งแปลว่า ตนเป็น

ที่พึ่งของตน การกระทำใด ๆ ก็ตาม เป็นผลชีวิตในอนาคตของคน ๆ นั้น นับว่าเป็นเหตุผลที่ยอมรับกัน คนจะดีจะ

ชั่วขึ้นอยู่กับกรรม เพราะคนเราเป็นไปตามอำนาจของกรรมดังบทสวดที่ว่า

กมฺมสฺสโกมฺหิ กมฺมทายาโท กมฺมโยนิ กมฺมพนฺธุ

กมฺมํปฏิสรโณ ยํ กมฺมํ กริสฺสามิ กลฺยาณํ วา

ปาปกํ วา ตสฺส ทายาโท ภวิสฺสามิ

แปลว่า เรามีกรรมเป็นของตนเอง จะต้องได้รับผลของกรรมที่ตนได้กระทำไว้ กรรม จะเป็นผู้นำให้เกิด กรรม

จะเป็นเพื่อนพ้อง และกรรมจะเป็นที่พึ่งอาศัยของเราผู้กระทำ หากเราได้กระทำ กรรมอันใดไว้ ไม่ว่าจะเป็นกรรมดี

หรือชั่ว จะต้องได้รับผลแห่งกรรมนั้นอย่างแน่นอน

6. สาเหตุให้เกิดการกระทำกรรม

ตามปกติสามัญชนทั่วไปย่อมทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอาจจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว ถ้าทำกรรมดีกรรมดีก็

จะนำไปสู่สุคติ มีความสุขกายสบายใจ ถ้าทำกรรมชั่วกรรมชั่วก็จะนำไปสู่ทุคติคือมีความลำบากเดือดร้อนใจ

ต่อไปนี้เป็นข้อความที่แสดงให้รู้ว่ากรรมที่กระทำลงไปแล้ว จะให้ผลเมื่อไรและบาปกรรมอาจจะล้างได้

หรือไม่ ดังข้อความในพระสูตรนี้ว่า

“ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย โลภ โทสะ โมหะ อกุศลมูล 3 อย่างเหล่านี้ เป็นเหตุแห่งการเกิดขึ้นของกรรมทั้งหลาย ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย กรรมที่กระทำด้วยโลภ เกิดจากโลภมีโลภเป็นเหตุเป็นปัจจัย กรรมที่กระทำด้วยโทสะ เกิดจากโทสะ

มีโทสะเป็นเหตุเป็นปัจจัย

กรรมที่กระทำด้วยโมหะ เกิดจากโมหะ มีโมหะเป็นเหตุเป็นปัจจัย อัตภาพของบุคคลนั้นเกิดในที่ใดกรรม

ย่อมให้ผลในที่นั้น เมื่อกรรมที่ให้ผล เขาย่อมเสวยวิบากของกรรมในที่นั้น ซึ่งอาจจะเป็นในชาติที่เกิดนั้น หรือใน

ชาติถัดไปหรือในชาติต่อ ๆ ไปอีก

การกระทำที่ปราศจากโลภะ โทสะ โมหะ ไม่ถือว่าเป็นการกระทำกรรมถือเป็นเพียงกิริยาอาการเท่านั้น

ตัวอย่าง เช่น ท่านพระจักขุบาลตาบอดมองไม่เห็นเดินจงกรมเหยียบแมลงเม่าตายเป็นจำนวนมาก ภิกษุทั้งหลายเห็น

เหตุการณ์เช่นนั้นจึงนำความไปกราบทูลพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าได้ตรัสกะ ภิกษุทั้งหลายว่า ท่านจักขุบาลมิได้

กระทำกรรมเพราะไม่มีเจตนาที่จะเหยียบสัตว์ให้ตาย

ในจูฬกัมมวิภังคสูตร พระพุทธองค์ทรงตอบคำถามของสุภมาณพ เกี่ยวกับผลร้ายผลดีต่าง ๆ 7 คู่ ว่า

เนื่องมาจากกรรมคือการกระทำของสัตว์คือ

1. มีอายุน้อยเพราะฆ่าสัตว์ มีอายุยืนเพราะไม่ฆ่าสัตว์

2. มีโรคมากเพราะเบียดเบียนสัตว์ มีโรคน้อยเพราะไม่เบียดเบียนสัตว์

3. มีผิวพรรณทรามเพราะขี้โกรธ มีผิวพรรณดีเพราะไม่ขี้โกรธ

4. มีศักดาน้อยเพราะไม่ให้ทาน มีโภคทรัพย์มากเพราะให้ทาน

5. เกิดในตระกูลต่ำ เพราะกระด้างถือตัวไม่อ่อนน้อมและเกิดในตระกูลสูงเพราะไม่ถือตัว

6. มีปัญญาทรามเพราะไม่เข้าไปหาสมณพราหมณ์ เพื่อไต่ถามเรื่องกุศล อกุศล เป็นต้น

7.มีปัญญาดีเพราะเข้าไปหาสมณพราหมณ์ ไต่ถามเรื่องกุศล อกุศล เป็นต้น

หากพิจารณาโดยผิวเผินจะเห็นว่าอาจไม่เป็นความจริง เพราะบางคนประกอบอาชีพฆ่าสัตว์มีอายุยืนยาวก็มีมาก

คน แต่อำนาจของกรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและสลับซับซ้อน กรรมทำในชาติก่อนอาจส่งผลให้ในชาตินี้หรือ

ชาติต่อ ๆ ไป ดังได้กล่าวมาแล้ว

7. การให้ผลของกรรม

การให้ผลของกรรมนั้นอาจพิจารณาได้ 3 ระดับ คือ

1. ระดับคุณภาพของจิต

2. ระดับบุคลิกภาพและอุปนิสัย

3. ระดับภาพนอกหรือผลทางสังคม

1. ระดับคุณภาพของจิต

คนที่สั่งสมคุณงามความดีไว้คุณภาพของจิตจะมีความโน้มเอียงไปในทางที่ดีงามเสมอ มีความซื่อสัตย์สุจริตเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีน้ำใจไมตรีต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์ส่วนผู้ที่สั่งสมความชั่วไว้คุณภาพของจิตจะแข็งกระด้างมี

ความอิจฉาริษยาชอบนินทาว่าร้ายคนอื่นลักษณะของจิตมีสภาพมัวหมองต่ำทรามและไม่เป็นที่ชื่นชมยินดีของคน

อื่น

2. ระดับบุคลิกภาพและอุปนิสัย

เมื่อคุณภาพของจิตสูง พฤติกรรมที่แสดงออกมาจะมีลักษณะนิ่มนวล มีเสน่ห์น่า คบหาสมาคมไม่เป็นคนก้าวร้าว มีความสุขุมเยือกเย็น คนที่ได้เข้าใกล้คบหาจะรู้สึกสบายอกสบายใจ ไม่ระแวงสงสัยกราบไว้ด้วยความสนิทใจ

3. ระดับภายนอกหรือผลทางสังคม

คนที่มีคุณภาพจิตดีและบุคลิกภาพดีย่อมจะเป็นแรงผลักดันให้ได้ ลาภ ยศ สรรเสริญ เป็นที่ยอมของสังคม

ได้ตำแหน่งหน้าที่และเจริญก้าวหน้าในอาชีพของตน ตรงกันข้าม คนที่คุณภาพจิตตํ่าก็จะได้รับความทุกข์ เสื่อมลาภ

เสื่อมยศ และการนินทาว่าร้ายต่าง ๆ จริงอยู่บางรายแม้ว่า เขาจะมีลาภ ยศ สุข สรรเสริญ เพราะกรรมตามยังไม่ทัน

แต่ภายในจิตใจของเขานั้นก็ไม่แช่มชื่นเบิกบานมีแต่ความทุกข์ ทรมาน ทำนองน่าชื่นอกตรม

หมายเลขบันทึก: 372398เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2010 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 07:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท