ไตรสิกขา (The Three Fold Training)


พุทธธรรมสำหรับการพัฒนาชีวิตครู

4. ไตรสิกขา (The Three Fold Training)

ความหมายของศัพท์

คำว่า ไตรสิกขา ประกอบด้วย ไตร แปลว่า 3 และ สิกขา แปลว่า ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักในการศึกษา หรือ

การศึกษา 3 อย่าง

ความหมายของคำว่า การศึกษาในที่ทั่วไปหมายถึง การเรียนรู้ การหาประสบการณ์แห่งชีวิตและการพัฒนา

ตนเองในด้านต่าง ๆ คือ ทางกาย ทางสมอง ทางอารมณ์และสังคมแต่ความหมายของคำว่าการศึกษาในไตรสิกขานี้

ลึกลงไปอีกคือ หมายถึง การศึกษาเพื่อขจัดกิเลสให้ออกจากตน พยายามกำจัดอวิชชา ตัณหา และอุปาทานให้

ออกไป เพื่อผลแห่งการตรัสรู้

กล่าวโดยสรุป สิกขา 3 หรือ ไตรสิกขา คือ การฝึกหัดอบรม กาย วาจา ใจ และปัญญาให้ยิ่งขึ้นไป จนบรรลุ

จุดมุ่งหมายสูงสุดคือพระนิพพาน หัวข้อแห่งสิกขา 3 ได้แก่

1. อธิสีลสิกขา

สิกขาคือศีลอันยิ่งหรือข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง ได้แก่

ข้อปฏิบัติหรือศีลที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้เพื่อสาวกหรือศาสนิกชนได้ยึดถือปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ตาม

สมควรแก่เอกัตภาพของแต่ละอย่าง โดยจัดประเภทตามความพยายามมากน้อยและหยาบละเอียดดังนี้

1. ศีล 5 เป็นศีลสำหรับชาวบ้านผู้อยู่ครองเรือนทั่ว ๆ ไป ที่เรียกว่าคฤหัสถ์ ศีล 5 นี้บางทีเรียกว่า “นิจศีล”

คือศีลที่รักษาไว้เป็นประจำ

2. ศีล 8 เป็นศีลสำหรับคฤหัสถ์หรือฆราวาสผู้ตั้งใจปฏิบัติให้สูงขึ้นจากศีล 5 โดยปกติจะถือปฏิบัติกันเป็น

ครั้งคราวในวันขึ้น- แรม 8 ค่ำ และขึ้นแรม 14 –15 ค่ำ เดือนละ 4 ครั้งผู้ปฏิบัติพำนักอยู่ที่วัดหรือที่บ้านก็ได้ เรียกอีก

อย่างหนึ่งว่า “ศีลอุโบสถ”

สำหรับผู้ปฏิบัติรักษาศีล 8 เป็นประจำ มักจะแต่งกายนุ่งขาวห่มขาว และโกนผม ถ้าผู้ชายเรียก ตาปะขาว หรือพ่อ

ขาว ส่วนผู้หญิงเรียกนางชีหรือแม่ขาวก็เรียก

3. ศีล 10 เป็นศีลสำหรับสามเณรและสามเณรี คือผู้บวชอายุไม่ถึง 20 ปี หรืออายุถึงแล้วแต่ยังไม่ได้ขอบวช

เป็นพระหรือเป็นภิกษุณี (ปัจจุบันไม่มีสามเณรี )

4. ศีล 227 เป็นศีลสำหรับพระภิกษุ ถือเป็นข้อปฏิบัติที่ละเอียดลงไป อันที่จริงแล้วศีล 227 นี้ก็คือ ศีล 5 ศีล

8 และศีล 10 นี้เอง เพียงแต่เป็นข้อปฏิบัติที่แยกย่อยละเอียดลงไปอีก ผู้ถือปฏิบัติต้องสำรวมระวังมิให้เกิดการละเมิด

หากเกิดการละเมิดเรียกว่า ต้องอาบัติ คือต้องโทษ ซึ่งถือเป็นโทษทางใจผู้ละเมิดย่อมรู้เองเห็นเอง และอาบัตินั้นได้

ทรงบัญญัติไว้เป็นกลุ่ม ๆ ตามความหนักเบา

5. ศีล 311 เป็นศีลสำหรับภิกษุณี แม้ในปัจจุบันภิกษุณีจะมิได้มีแล้วก็ตาม แต่พระบัญญัติที่เป็นสิกขาบทก็

ยังคงมีอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม แม้จะมีศีลหรือสิกขาบทที่วางกำหนดไว้สำหรับภิกษุณี แต่เมื่อไม่มีภิกษุณีก็ย่อมถือว่า

หมดสิ้นไปโดยปริยาย

2. อธิจิตตสิกขา หรือ สมาธิสิกขา

สิกขาคือจิตอันยิ่งได้แก่ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกหัดอบรมจิตเพื่อให้เกิดคุณคือสัมมาสมาธิอย่างสูงคือการกำหนด

จิตให้แน่วแน่มั่นคงอันเป็นหลักแห่งการควบคุมจิต

มิให้ฟุ้งซ่านและควบคุมตนมิให้ตกไปในทางแห่งความเสื่อมเสียนั่นคือการกำหนดของตนให้อยู่จุดใดจุดหนึ่ง

โดยเฉพาะ เช่น ลมหายใจ เรียกว่า อานาปานสติสมาธิ หรือกำหนดจิตในขณะที่ย่างเท้าเรียกว่าเดินจงกรมหรือกายค

ตาสติ

สมาธิแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่

1. ขณิกสมาธิ จิตตั้งมั่นชั่วขณะ คือภาวะที่จิตมั่นคงได้ชั่วขณะ

2. อุปจารสมาธิ จิตตั้งมั่นจวนจะแน่วแน่ คือภาวะจิตที่สงบสูงขึ้นบางทีเรียกว่า สมาธิเฉียด

3. อัปปนาสมาธิ จิตที่ตั้งมั่นแน่วแน่ คือภาวะที่จิตสงบอย่างมั่นคง กล่าวคือ เมื่อจิตสงบถึงขั้นอัปปนา

สมาธินี้แล้วก็จะเข้าสู่ฌานตั้งแต่รูปฌานต่อไปถึงอรูปฌาน เมื่อจิตเกิดเป็นสมาธิก็จะได้รับอานิสงส์ดังนี้

1. ทิฏฐธัมมิกสุข คือความสุขทันตาเห็นในปัจจุบัน

2. เกิดอภิญญาขึ้น เช่น หูทิพย์ตาทิพย์ เป็นต้น

3. สติสัมปชัญญะสมบูรณ์

4. สิ้นอาสวะ คือตัดกิเลสได้

3. อธิปัญญาสิกขา

สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง ได้แก่ ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญาเพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูง

คำว่า ปัญญา ตามรูปศัพท์แปลว่า ความรู้ทั่วหรือความรู้แจ้งสภาพต่าง ๆ ตามความ เป็นจริง ปัญญาสิกขาก็

คือการกระทำให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น ปัญญาจำแนกตามแหล่งเกิดมี 3 อย่างคือ

1. สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการฟัง ได้แก่ ความรู้เกิดจากการศึกษาเล่าเรียน การได้ยินได้ฟังและ

ประสบการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นความรู้ระดับประสาทสัมผัส

2. จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการคิด ได้แก่ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการไตร่ตรองพิจารณา วิเคราะห์วิจัย

และเปรียบเทียบ ซึ่งเป็นความรู้ที่ละเอียดกว่าความรู้ระดับประสาทสัมผัส

3. ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการอบรมจิต ได้แก่ ความรู้ที่เกิดจากการ ภาวนาหรือการฝึกจิตให้เกิด

ความสงบแล้วใช้จิตที่สงบแล้วนั้นพิจารณาปัญหาต่าง ๆ ก็จะเกิดการหยั่งรู้ภายในจิต ความรู้ที่เป็นภาวนามยปัญญานี้

จัดว่าเป็นความรู้อันสูงสุด อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขานี้เรียกย่อ ๆ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา

ทั้งศีล สมาธิ และปัญญาต่างก็อาศัยซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ศีลเป็นเบื้องต้นให้เกิด สมาธิ และสมาธิเป็นฐานให้

เกิดปัญญา และในขณะเดียวกันสมาธิก็ช่วยควบคุมพฤติกรรมทางกาย วาจา ใจ ไปด้วย เช่นเดียวกับปัญญาก็ช่วย

ควบคุมศีลและสมาธิไปในตัวด้วยเหมือนกัน

คำสำคัญ (Tags): #ไตรสิกขา
หมายเลขบันทึก: 372402เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2010 11:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 14:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท