PanDA
นางสาว อัจฉรา แอนนา ชาวชั่ง

การนำเสนอกระบวนการผลิตชุดการสอนแบบศูนย์การเรียนรู้ เรื่องจำนวนนับ และสมการ ของนักเรียนชั้น ป.4 (3)


ทดลองใช้จริง

 การทดลองใช้แบบ 1 : 1 จำนวน 3 คน

    1. การนำผลจากทดลองใช้ไปปรับปรุง/แก้ไขสื่อนวัตกรรมการศึกษา

       ทดสอบกับเด็ก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนป่าจี้วังแดงวิทยา

  การใช้สื่อชุดการสอนของเด็ก

     เด็กคนที่ 1    ด.ช. นราธิป   ธิใจ

    เด็กจะอ่านบัตรต่างๆได้ช้า  เวลาเก็บบัตรต่างๆก็เก็บได้อย่างถูกต้องและเด็กยังใช้ชุดการสอนไม่ค่อยเป็น เพราะเด็กยังไม่ค่อยเข้าใจคำสั่งอาจจะอ่านจากบัตรคำสั่งแล้วยังไม่เข้าใจ    

     เด็กคนที่ 2     ด.ช. ธณาดล   ดวงใจ

     เด็กใช้ชุดการสอนยังไม่ระวังมากนัก แต่เด็กสามารถเก็บชุดการสอนได้ถูกต้อง และเด็กอ่านบัตรต่างๆได้ช้า

     เด็กคนที่ 3     ด.ญ. เนตรนภา   แสงใส

     เด็กใช้ชุดการสอนแบบระมัดระวัง และคอยเก็บบัตรต่างๆเข้าศูนย์ต่างๆได้เรียบร้อยและถูกต้อง

    ปัญหาที่เกิดขึ้น 

     เด็กคนที่ 1     ด.ช. นราธิป   ธิใจ

      เด็กอ่านบัตรต่างๆได้ช้า เด็กใช้ชุดการสอนไม่ค่อยเป็น

     เด็กคนที่ 2    ด.ช. ธณาดล   ดวงใจ

      เด็กยังงงกับแบบฝึกหัดบางข้อ เพราะเด็กอ่านจากเนื้อหาแล้วยังไม่ค่อยเข้าใจ

     เด็กคนที่ 3    ด.ญ. เนตรนภา   แสงใส

      เด็กอ่านเนื้อหาข้อมูลจากบัตรต่างๆได้ช้า เวลาเปลี่ยนศูนย์เด็กจะงงนิดหน่อยเพราะลืมว่าตอนนี้ตนเองอยู่ศูนย์ไหน

     ความคิดเห็นของเด็ก

       เด็กคนที่ 1   ด.ช. นราธิป   ธิใจ

       ชุดการสอนนี้สวยงาม แบบฝึกหัดบางข้อยังไม่เข้าใจ

      เด็กคนที่ 2    ด.ช. ธณาดล   ดวงใจ

       ข้อสอบก่อนเรียนยาก แต่พอมาทำแบบฝึกหัดจากศูนย์ต่างๆแล้วมาทำแบบทดสอบหลังเรียน ทำให้ง่ายขึ้น ชุดการสอนสวยงาม

      เด็กคนที่ 3    ด.ญ. เนตรนภา   แสงใส

       ตอนแรกข้อสอบก่อนเรียนยากมาก แต่พอทำข้อสอบหลังเรียนทำไมง่าย ชุดการสอนสวยงาม แต่ตัวหนังสือตัวเล็กไปหน่อย

     ปรับปรุงแก้ไข 

        เด็กคนที่ 1   ด.ช. นราธิป   ธิใจ

        จะออกแบบแบบฝึกหัดให้มีความเข้าใจง่ายกว่านี้

       เด็กคนที่ 2    ด.ช. ธณาดล   ดวงใจ

       ออกแบบแบบฝึกหัดให้มีความเข้าใจมากขึ้นกว่านี้ และเนื้อหาจะทำให้มีความเข้าใจมากขึ้น ครอบคลุมและชัดเจน

       เด็กคนที่ 3    ด.ญ. เนตรนภา   แสงใส

       ออกแบบชุดการสอนให้มีลักษณะอ่านง่าย ใช้ตัวหนังสือที่ใหญ่กว่านี้จะทำให้เด็กอ่านบัตรต่างๆได้เร็ว

 2. ค่าเกณฑ์ประสิทธิภาพของสื่อนวัตกรรมการศึกษา (E1/E2)

      ตารางการหาค่าเกณฑ์ประสิทธิภาพของสื่อนวัตกรรม  (E1 / E 2)

นักเรียน 

คะแนนแบบฝึกหัดระหว่างเรียน 

 

คะแนนเต็ม (31)

 

 

 

 

คะแนนแบบทดสอบหลังเรียน 

(10)

ศูนย์ที่ 1

(5)

ศูนย์ที่ 2

(3)

ศูนย์ที่ 3

(7)

ศูนย์ที่ 4

( 3)

ศูนย์ที่ 5

(13)

 

รวม 

(31)

คนที่ 1

5

2

5

2

 

13

 

27

 

10

คนที่ 2

5

3

5

 

3

13

29

10

คนที่ 3

5

3

7

 

3

13

31

9

ค่า E1 / E2

 

93.55

96.67

 

     การคำนวณหาประสิทธิภาพ 

      การคำนวณหาประสิทธิภาพ คือ การหาค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) ซึ่งมีการคำนวณ ดังนี้

      ตัวอย่างการคำนวณ  E1 / E2  ของเด็กคนที่ 1

   ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1)

         E1 = 27 + 29 + 31  x 100

                     31 x 3

 

         E1 =   8700

                    93

                                                                 E 1 = 93.55 %

   ดังนั้น เมื่อเด็กได้เรียนจากชุดการสอนแล้ว คำนวณผลเฉลี่ยคะแนนที่เด็กทุกคน สามารถทำแบบฝึกปฎิบัติได้ผลเฉลี่ย 93.55 %  และทำแบบทดสอบหลังเรียนได้ผลเฉลี่ย 96.67 %

หมายเลขบันทึก: 371407เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2010 09:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มีนาคม 2012 04:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท