เรื่องเล่าของนักทรัพฯ # โครงการปฏิรูปศักยภาพมนุษย์อย่างบูรณาการ ตอนที่ 1


concept ของหลักสูตรนี้ระบุว่า “กรอบความคิดใหม่ของการบูรณาการศักยภาพมนุษย์อย่างเป็นองค์รวม อย่างเป็นหนึ่งเดียว อย่างสมดุล พอเพียง บนพื้นฐานของหลักการที่ถูกต้อง”

ในฐานะผู้ปฏิบัติงานด้านการฝึกอบรมพัฒนา พวกเราจำเป็นต้องได้รับการเติมความรู้ใหม่ ๆ เพื่อนำมาพัฒนางานขององค์กรอยู่เสมอ ดังนั้นทุก ๆ ปี สถาบันฯ จะจัดให้มีการอบรมพัฒนาโดยวิทยากรจากภาคเอกชนที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับ ซึ่งการใช้วิทยากรจากภาคเอกชนนี้มีข้อดีอีกประการที่นอกเหนือจากการได้รับความรู้ คือเราได้แอบเรียนรู้เทคนิคใหม่ ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะแตกต่างจากวิทยากรของภาครัฐ เพราะภาคเอกชนมีค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมค่อนข้างสูง ดังนั้นการจะขายหลักสูตรฝึกอบรมให้แก่องค์กรซักแห่ง จำเป็นต้องมีจุดขายที่โดดเด่น เหนือคู่แข่งซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก

          ปีนี้ก็เช่นกัน... พวกเรา 20 คน ประกอบด้วยผู้ปฏิบัติงานใน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มนักทรัพฯ กลุ่มครู และกลุ่มน้อง ๆ ที่เป็นเจ้าหน้าที่ส่วนอำนวยการ แบ่งออกเป็น 3 Generation คือมีวัยวุฒิที่เปรียบเทียบได้กับ size  เล็ก กลาง และใหญ่ ได้รับการพิจารณาคัดเลือกจากผู้อำนวยการสถาบันฯให้เข้ารับการพัฒนาในโครงการชื่อ “การปฏิรูปศักยภาพมนุษย์อย่างบูรณาการ” (Integral Human Potential Transformation) โดย concept ของหลักสูตรนี้ระบุว่า “กรอบความคิดใหม่ของการบูรณาการศักยภาพมนุษย์อย่างเป็นองค์รวม อย่างเป็นหนึ่งเดียว อย่างสมดุล พอเพียง บนพื้นฐานของหลักการที่ถูกต้อง” วิทยากรของหลักสูตรนี้คือ อาจารย์จันทรชัย ถวิลพิพัฒน์กุล จากบริษัท Intrans อาจารย์เป็นทั้งเจ้าของบริษัท เจ้าของหลักสูตร และวิทยากร เรียกว่าเบ็ดเสร็จในตัวบุคคลเพียงคนเดียว และต้องยอมรับว่านอกจากอาจารย์จะเป็นวิทยากรที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ แล้ว อาจารย์ยังเป็นวิทยากรที่มี “ความตั้งใจ” ที่สูงมากจริง ๆ
          ขอเล่าถึงหลักสูตรนี้ย่อ ๆ เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็น “ที่ไปที่มา” ของประสบการณ์ครั้งนี้ก่อนนะคะ         หลักสูตร Integral Human Potential Transformation นี้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 ทั้ง 20 คน จะต้องตอบแบบสอบถามกึ่ง ๆ เป็นแบบประเมินตนเอง ซึ่งต้องขอบอกว่าแบบสอบถามนี้มีเยอะมากทั้งแบบเลือกตอบและแบบเติมคำ ตอบกันจนงงไปหมด สรุปได้ว่าเป็นการประเมินความพึงพอใจหรือศักยภาพของตนเอง ครอบครัว และองค์กร จากนั้นอาจารย์จันทรชัย จะนำผลการประเมินตนเองของทั้ง 20 คน ไปวิเคราะห์เพื่อดูความต้องการ (needs) ของพวกเราว่า ในภาพรวมแล้ว ต้องการพัฒนาศักยภาพในด้านไหนมากที่สุด  จากนั้นจึงกำหนดวัตถุประสงค์และเนื้อหาหลักสูตรขึ้นมาแล้วนำกลับมาให้พวกเราดูอีกครั้งว่าตรงกับความต้องการของพวกเราหรือไม่

          ผลจากการสรุป (แบบสอบถาม) ของอาจารย์ นำมาซึ่งความรู้สึกของคน 20 คนที่แตกต่างกันใน 3 แบบ คือ

          แบบที่ 1  ฉันพอใจตัวเองในแบบที่ฉันเป็น ฉันมีศักยภาพมากเพียงพอที่จะรับผิดชอบงานของฉันได้ และฉันก็มีความสุขกับชีวิตของฉัน (ทำไมต้องให้มาพัฒนาศักยภาพอะไรนั่นอีก? คิดหรือว่าหลักสูตรของคุณจะเปลี่ยนแปลงฉันได้?)

          แบบที่ 2 ฉันเป็นคนที่มีศักยภาพในการทำงาน มีความสุขและพึงพอใจในตนเอง แต่ฉันก็พร้อมจะเรียนรู้ว่าหลักสูตรนี้เป็นอย่างไร ฉันจะเปิดใจและยอมรับฟังสิ่งที่วิทยากรถ่ายทอดอย่างเต็มใจ

          แบบที่ 3 ฉันยังไม่เก่งพอ ฉันอยากพัฒนาตัวเอง อยากเป็นคนที่เชื่อมั่นในตนเอง  ฉันอยากเข้าร่วมในโครงการนี้ และหวังว่าจะทำให้ฉันค้นพบวิธีการในการพัฒนาศักยภาพของตนเองให้สูงขึ้น

            ความแตกต่างนี้ ทำให้การฝึกอบรมในระยะที่ 2 และ 3 ซึ่งใช้เวลาช่วงละ 4 วัน เป็นแบบ โหด มัน ฮา จริง ๆ

          เอาไว้จะเล่าให้ฟังในตอนหน้านะคะ

หมายเลขบันทึก: 368409เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2010 08:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอสนับสนุนค่ะ จากการที่เข้ารับการอบรม แบบที่พี่ปัทเล่ามา โหดสำหรับวิทยากรคับ

มันสำหรับพี่ๆที่มีประสบการณ์ ฮาสำหรับน้องๆ ที่ได้เรียนรู้และแอบซึมซับ (ดูด) ประสบการณ์

ความคิดดีของพี่ๆมาด้วย ขอบคุณคร้าบที่มีเรื่องดีมาเล่าสู่กันอ่าน อยากอ่านตอนต่อไปอีกนะคะ

เด็กชงกาแฟ

อยากจะบอกว่าที่ไปอบรมมา แล้วจำได้ขึ้นใจจริง ๆ คือเรื่องไก่กับไข่ค่ะ

ถ้าหากได้ยินใครพูดถึงไก่กับไข่ จะต้องนึกถึงหลักสูตรนี้ขึ้นมาทันที (^^")

"ไก่กับไข่ อะไรเกิดก่อนกัน??" อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท