โรคกระดูกพรุน


ไม่ร้ายแรง แต่อันตรายถึงชีวิตได้

วันนี้ก่อนไปทำงานขอแวะเข้ามาทักทายชาวGotoknowสักหน่อยนะคะ  มีเรื่องราวน่าสนใจมาฝาก  เพราะประสบกับตัวเองด้วย  อาจจะพอเป็นประโยชน์กับทุกๆท่านได้  เมื่ออาทิตย์ที่แล้วมีโครงการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่เข้ามาในท้องที่ที่ดิฉันทำงานอยู่  โดยมีบริการตรวจแมมโมแกรม(การตรวจเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม)และการตรวจมวลกระดูกเพื่อหาภาวะกระดูกพรุน  ทำให้ดิฉันได้ข้อมูลดีๆจากโรคกระดูกพรุนมาฝาก  ทั้งๆที่เมื่อก่อนไม่เคยสนใจเลย  เพราะคิดว่าอายุคงยังไม่ถึงเกณฑ์ที่กระดูกจะพรุนและพิจารณาแล้วตัวเองไม่น่าจะมีความเสี่ยง  แต่เมื่อตรวจแล้วก็ยังพบภาะวะกระดูกพรุนอยู่  มารู้จักเกี่ยวกับภาวะกระดูกพรุนกันนะคะ

โรคกระดูกพรุน(Osteoporosis) เป็นสภาพที่ปริมาณเนื้อกระดูกลดลง  รวมทั้งมีความผิดปกติในโครงสร้างของกระดูก ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง โดยที่ลักษณะภายนอกยังคงมีรูปร่างเหมือนเดิม  เมื่อได้รับแรงกระแทกเพียงเล็กน้อยจะทำให้กระดูกหักได้ง่าย  จุดที่พบบ่อยคือที่กระดูดสันหลัง  กระดูกสะโพกและกระดูกข้อมือ

สาเหตุของโรคอาจมาจาก  การรับประทานอาหารที่ไม่สมส่วนทังปริมาณและคุณภาพ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดแคลเซียม  ขาดฮอร์โมนเพศ  การได้รับยาบางชนิด เช่น กลุ่มยาคอร์ติโคสเตียร์รอยด์ ยาต่อมธัยรอยด์ขนาดสูง อะลูมินั่มในยาลดกรด  ตลอดจนนิสัยการชอบสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ชาและกาแฟด้วย

อันตรายของโรคกระดูกพรุน  ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนจะทำให้กระดูกโปร่งบาง  หลังโกงค่อม  กระดูกขาโค้งงอ  ปวดหลัง  ปวดกระดูก  หากเกิดอุบัติเหตุหรือหกล้มอาจเกิดกระดูกหักได้  อาจมีผลให้กระดูกสันหลังคดงอ  ทับเส้นประสาทจนถึงพิการ  ต้องนอนนานๆจนเกิดโรคแผลกดทับ และปัญหาการติดเชื้อซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตได้

บุคคลที่มีความเสียงต่อโรคกระดูกพรุน  ได้แก่

1. เป็นวัยสูงอายุทั้งชายและหญิง

2. อยู่ในวัยหมดประจำเดือนหรือถูกตัดรังไข่ทั้งสองข้าง

3. ครอบครัวมีประวัติโรคกระดูกพรุน  หรือหกล้มแล้วกระดูกหักในครอบครัว

4. รูปร่างเล็กและผอมบาง

5. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ

6. รับประทานอาหารประเภทโปรตีนและรสเค็มมากไป

7. ขาดการออกกำลังกายที่เพียงพอ

8. สูบบุหรี่หรือดื่มสุรา  หรือชา  กาแฟหลายแก้ว

9. ใช้ยาสเตียรอยด์  ยากันชัก หรือได้รับยาฮอร์โมนธัยรอยด์ขนาดสูงเป็นเวลานาน

10.มีโรคเรื้อรัง เช่น ข้ออักเสบ และโรคไต  ปวดเรื้อรัง

วิ๊ธีการป้องกันโรคกระดูดพรุน  สามารถทำได้โดย

1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นมสด  ปลากระป๋อง  กุ้งแห้ง  ถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์เช่น เต้าหู้แข็ง

2. ดื่มนมแคลเซียมสูง ไขมันตำวันละ 1-2 แก้ว

3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อกระตุ้นการสร้างกระดูกและลดการสลายตัวของเนื้อกระดูก

4. ไม่ควรรับประทานเนื้อสัตว์หรืออาหารเค็มจัดมากเกินไป

5. งบสูบบุหรี่  ดื่มชา  สุรา  กาแฟมากกว่า  2 แก้ว

6. หลีกเลี่ยงการใช้ยาบางชนิด เช่น  สเตียร์รอยด์ และยาลูกกลอน

ปัจจุบันแพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนได้โดยไม่ต้องรอให้กระดูกหักเสียก่อน  โดยการวัดความหนาแน่นของเนื้อกระดูก  การตรวจนี้ใช้แสงเอกเรย์ที่มีปริมาณน้อยส่องตามจุดที่ต้องการตรวจ  แล้วใช้คอมพิวเตอร์คำนวนหาความหนาแน่นของกระดูก  เปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน  ใช้เวลาเพียง  3-5 นาทีก็รู้ผล  ไม่ต้องเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษ ไม่เจ็บไม่ปวด  ยังไงลองพิจารณาดูพฤติกรรมของตนเองว่าน่าจะอยู่ในเกณฑ์เสี่ยงหรือไม่  หรือแม้จะไม่มีก็น่าจะลองตรวจดูเพื่อจะได้หาทางป้องกันและดูแลตัวเอง  ค่าใช้จ่ายไม่แพงหรอกค่ะ  อยู่ประมาณ  1,000-3,000 บาท  ดีกว่าปล่อยให้กระดูกหักก่อน  โรคดูจะไม่ร้ายแรงแต่อันตรายถึงชีวิตได้นะคะ 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก บริษัท เมดิเซีย อินสทรูเมนท์ เซอร์วิส จำกัด

คำสำคัญ (Tags): #มหาสารคาม22
หมายเลขบันทึก: 368400เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2010 07:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 12:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณน้องไก่นะ ที่นำเรื่องกระดูกพรุนมาให้เพื่อน ๆ สมาชิกได้อ่านกัน เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากในการรักษาสุขภาพ รักษากระดูกให้แข็งแรง พี่ก็พึ่งรู้ว่าโรคกระดูกพรุนมันน่ากลัวเหมือนกัน

ยังไม่ถึงวัยทอง...จะเป็นโรคนี้ได้ไหมคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท