ช่วงวันที่ ๒๕ – ๒๗ สิงหาคม ๒๕๔๘ สคส. ร่วมกับ สพบ. หรือ สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา จัดตลาดนัดความรู้ "ครูเพื่อศิษย์ : ประสบการณ์ความสำเร็จเพื่อเด็กไทยวัยใส (ฝ่าวิกฤติวัยรุ่น) ที่โรงแรมรอยัล ซิตี้ ปิ่นเกล้า กรุงเทพฯ โดยมีกลุ่มครู/อาจารย์กว่า ๖๐ คนเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภายใต้หัวปลาที่ว่า ประสบการณ์ความสำเร็จเพื่อเด็กไทยวัยใส (ฝ่าวิกฤติวัยรุ่น)
โดยตลาดนัดครั้งนี้ ได้ใช้เครื่องมือด้านการจัดการความรู้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้คือ การเล่าเรื่อง, การสกัดขุมความรู้, การทำตารางแห่งอิสรภาพ, การใช้ประโยชน์จากชุดเครื่องมือธารปัญญาและบันไดแลกเปลี่ยนเรียนรู้, Peer Assist, AAR และ มีการแนะนำการใช้ Blog ให้กับผู้เข้าร่วมด้วย และจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สามารถสรุป "แก่นความรู้" ของครู/อาจารย์เพื่อศิษย์วัยใส (ฝ่าวิกฤติวัยรุ่น) ได้ ๕ แก่นความรู้ คือ ๑. การมีธรรมนูญโรงเรียน ๒. การใช้กิจกรรม (เชิงพฤติกรรม) ๓. การใช้กิจกรรม (เชิงกระบวนการ) ๔. การมีระบบดูแล ๕. การใช้เครือข่าย
ซึ่งผลของการจัดตลาดนัดครั้งนี้ นับว่าประสบความสำเร็จพอสมควร มีเรื่องเล่าหรือความรู้ที่เป็นประสบการณ์ความสำเร็จของครูอาจารย์ในการแก้ไขปัญหาให้กับเด็กนักเรียนวัยรุ่นของตนได้ที่น่าสนใจหลายเรื่องทีเดียว ซึ่งคาดว่า ครู/อาจารย์ที่เข้าร่วมได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ความสำเร็จร่วมกัน และสามารถนำไปปรับใช้กับโรงเรียนหรือบริบทของตนเองได้ดีเช่นกัน
โดยปัจจัยหลักที่ทำให้ประสบความสำเร็จ คือ การที่ สพบ. สามารถเฟ้นหาและคัดกรองโรงเรียนหรือครู ซึ่งเป็น “คุณกิจ” ตัวจริง ที่มีเรื่องเล่าและประสบการณ์ที่ตรงกับหัวปลาได้เป็นอย่างดี และ สพบ. มีการเตรียมงานที่พร้อมสมบูรณ์ ส่วนผู้เข้าร่วมมีความสนใจในกระบวนการจัดการความรู้อย่างมาก โดยได้เสนอแนะให้แต่ละโรงเรียนนำกลับไปปรับใช้ในโรงเรียนของตนเองและขยายเป็นเครือข่ายชุมชนครูเพื่อศิษย์ พร้อมทั้งนำเสนอขุมความรู้ต่างๆ ขึ้น Blog หรือใช้เครื่องมือ IT อื่นๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและสร้างเป็นชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) ต่อไป
สำหรับข้อสังเกตที่ได้เรียนรู้จากการเป็นวิทยากรนำกระบวนการจัดการความรู้ของผู้เขียน คือ ได้เรียนรู้ถึงการทำหน้าที่วิทยากรเพื่อนำกระบวนการจัดการความรู้ หรือนำกระบวนการจัดตลาดนัดความรู้เช่นนี้ว่า จะต้องมีการเตรียมตัว เตรียมงาน เตรียมความพร้อมเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการกำหนด “หัวปลา” ให้ชัดเจน ต้องเป็นหัวปลาที่ไม่กว้างจนเกินไป และเป็นหัวปลาร่วมที่ผู้เข้าร่วมสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือ Share ประสบการณ์ร่วมกันได้ ส่วนการเตรียม “คุณกิจ” ก็จะมีความสำคัญมาก หากสามารถคัดกรอง “คุณกิจ” ที่มีเรื่องเล่าหรือประสบการณ์ที่ตรงกับหัวปลาได้ จะทำให้การแลกเปลี่ยนรู้ไประโยชน์และเกิดบรรยากาศที่ดีได้ สำหรับ “คุณอำนวย” และ “คุณลิขิต” ก็ต้องมีการเตรียมบทบาทและทำความเข้าใจเป็นอย่างดี เรื่องสถานที่และวัสดุอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ มีความจำเป็นเช่นกัน เพราะจะเป็นตัวช่วยทำให้กระบวนการตลาดนัดความรู้ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ที่สำคัญตัววิทยาการจะต้องมีการเตรียมตัวเป็นอย่างดี ต้องศึกษา”หัวปลา” , กลุ่มผู้เข้าร่วม, เนื้อหาที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ซึ่งต้องรู้ในส่วนเนื้อหาบ้าง ไม่ใช่รู้แต่เพียงกระบวนการเท่านั้น รวมทั้งต้องทำหน้าที่อธิบายถึงขั้นตอนหรือกระบวนการ, ลักษณะและความสำคัญของเครื่องมือแต่ละชนิด และต้องมีการสรุปประเด็นให้ชัดเจนในแต่ละช่วงของกระบวนการที่ดี เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเกิดความเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงๆ และต้องมีทักษะหรือ “ลูกเล่น” ในการโน้มน้าวชักจูงใจให้ผู้เข้าร่วมรู้สึกผ่อนคลาย ไม่เกร็งและไม่ตึงเครียดจนเกินไป ที่สำคัญต้องมี “สติ” และวิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี เพราะเมื่ออยู่ในช่วงตลาดนัดความรู้จริงๆ จะมีปัญหาและอุปสรรคหรือคำถามต่างๆ จากผู้เข้าร่วมมากมาย ซึ่งเราจะต้องหาคำตอบและหาวิธีการตอบคำถามนั้นๆ ให้ดีและเหมาะสมที่สุดในสถานการณ์นั้น
ส่วนสิ่งที่ผู้เขียนในฐานะที่เป็นวิทยากรนำกระบวนการอยากเห็นหรือต้องการให้เกิดผลที่ต่อเนื่องจากตลาดนัด คือ ต้องการเห็นครูอาจารย์แต่ละคนหรือโรงเรียนแต่ละแห่งที่เข้าร่วมตลาดนัดความรู้ในครั้งนี้ จะสามารถนำกระบวนการหรือวิธีการจัดการความรู้นี้ ไปปรับใช้ในโรงเรียนหรือบริบทของตนเองและขยายผลในวงกว้างต่อไปได้ โดยเฉพาะหากสามารถเชื่อมโยงระหว่างพ่อแม่, ผู้ปกครอง, ครูอาจารย์, ผู้บริหารโรงเรียน, นักกิจกรรม,นักพัฒนา, องค์กรพัฒนาเอกชน, นักวิชาการ, นักวิจัย ฯลฯ ได้จะยิ่งดีมาก และหากครูหรืออาจารย์ได้ลดบทบาทลง โดยทำหน้าที่เป็น “คุณอำนวย” และยกบทบาทสำคัญนี้ให้แก่เด็กนักเรียน คือ ให้เด็กวัยรุ่นเหล่านั้น คิดและดำเนินการแก้ไขปัญหาในลักษณะ “เพื่อนช่วยเพื่อน” หรือ “พี่ช่วยน้อง” ให้เด็กนักเรียนที่ผ่านมรสุมชีวิตวิกฤติวัยรุ่นมาแล้ว ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้, เล่าประสบการณ์ให้กับเด็กนักเรียนรุ่นน้องได้รับฟัง ถ้าทำได้เช่นนี้ สังคมไทยจะได้ความรู้เชิงปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาหรือการป้องกันวิกฤติเด็กวัยรุ่นที่ตรงเป้าและได้ผลดีทีเดียว ซึ่งที่สำคัญ ต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ โดยต้องมีการทบทวน และนำความรู้ที่ได้รับเหล่านั้น ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของตนเอง แล้วบันทึกเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันต่อไปเรื่อยๆ ไม่มีวันจบ จึงจะเรียกได้ว่า เป็นการจัดการความรู้ที่แท้จริง
ทั้งหมดนี้ เรียกได้ว่า เป็นประสบการณ์ที่ดียิ่งของการทำหน้าที่วิทยากรหลักด้านการจัดการความรู้ครั้งแรกในชีวิตของผู้เขียน ซึ่งจะต้องมีการเรียนรู้ เพื่อปรับปรุงพัฒนาเทคนิควิธีการในการเป็นวิทยากรนำกระบวนการจัดการความรู้ต่อไปอย่างไม่รู้จบเช่นกัน
โดยตลาดนัดครั้งนี้ ได้ใช้เครื่องมือด้านการจัดการความรู้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้คือ การเล่าเรื่อง, การสกัดขุมความรู้, การทำตารางแห่งอิสรภาพ, การใช้ประโยชน์จากชุดเครื่องมือธารปัญญาและบันไดแลกเปลี่ยนเรียนรู้, Peer Assist, AAR และ มีการแนะนำการใช้ Blog ให้กับผู้เข้าร่วมด้วย และจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สามารถสรุป "แก่นความรู้" ของครู/อาจารย์เพื่อศิษย์วัยใส (ฝ่าวิกฤติวัยรุ่น) ได้ ๕ แก่นความรู้ คือ ๑. การมีธรรมนูญโรงเรียน ๒. การใช้กิจกรรม (เชิงพฤติกรรม) ๓. การใช้กิจกรรม (เชิงกระบวนการ) ๔. การมีระบบดูแล ๕. การใช้เครือข่าย
ซึ่งผลของการจัดตลาดนัดครั้งนี้ นับว่าประสบความสำเร็จพอสมควร มีเรื่องเล่าหรือความรู้ที่เป็นประสบการณ์ความสำเร็จของครูอาจารย์ในการแก้ไขปัญหาให้กับเด็กนักเรียนวัยรุ่นของตนได้ที่น่าสนใจหลายเรื่องทีเดียว ซึ่งคาดว่า ครู/อาจารย์ที่เข้าร่วมได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ความสำเร็จร่วมกัน และสามารถนำไปปรับใช้กับโรงเรียนหรือบริบทของตนเองได้ดีเช่นกัน
โดยปัจจัยหลักที่ทำให้ประสบความสำเร็จ คือ การที่ สพบ. สามารถเฟ้นหาและคัดกรองโรงเรียนหรือครู ซึ่งเป็น “คุณกิจ” ตัวจริง ที่มีเรื่องเล่าและประสบการณ์ที่ตรงกับหัวปลาได้เป็นอย่างดี และ สพบ. มีการเตรียมงานที่พร้อมสมบูรณ์ ส่วนผู้เข้าร่วมมีความสนใจในกระบวนการจัดการความรู้อย่างมาก โดยได้เสนอแนะให้แต่ละโรงเรียนนำกลับไปปรับใช้ในโรงเรียนของตนเองและขยายเป็นเครือข่ายชุมชนครูเพื่อศิษย์ พร้อมทั้งนำเสนอขุมความรู้ต่างๆ ขึ้น Blog หรือใช้เครื่องมือ IT อื่นๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและสร้างเป็นชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) ต่อไป
สำหรับข้อสังเกตที่ได้เรียนรู้จากการเป็นวิทยากรนำกระบวนการจัดการความรู้ของผู้เขียน คือ ได้เรียนรู้ถึงการทำหน้าที่วิทยากรเพื่อนำกระบวนการจัดการความรู้ หรือนำกระบวนการจัดตลาดนัดความรู้เช่นนี้ว่า จะต้องมีการเตรียมตัว เตรียมงาน เตรียมความพร้อมเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการกำหนด “หัวปลา” ให้ชัดเจน ต้องเป็นหัวปลาที่ไม่กว้างจนเกินไป และเป็นหัวปลาร่วมที่ผู้เข้าร่วมสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือ Share ประสบการณ์ร่วมกันได้ ส่วนการเตรียม “คุณกิจ” ก็จะมีความสำคัญมาก หากสามารถคัดกรอง “คุณกิจ” ที่มีเรื่องเล่าหรือประสบการณ์ที่ตรงกับหัวปลาได้ จะทำให้การแลกเปลี่ยนรู้ไประโยชน์และเกิดบรรยากาศที่ดีได้ สำหรับ “คุณอำนวย” และ “คุณลิขิต” ก็ต้องมีการเตรียมบทบาทและทำความเข้าใจเป็นอย่างดี เรื่องสถานที่และวัสดุอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ มีความจำเป็นเช่นกัน เพราะจะเป็นตัวช่วยทำให้กระบวนการตลาดนัดความรู้ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ที่สำคัญตัววิทยาการจะต้องมีการเตรียมตัวเป็นอย่างดี ต้องศึกษา”หัวปลา” , กลุ่มผู้เข้าร่วม, เนื้อหาที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ซึ่งต้องรู้ในส่วนเนื้อหาบ้าง ไม่ใช่รู้แต่เพียงกระบวนการเท่านั้น รวมทั้งต้องทำหน้าที่อธิบายถึงขั้นตอนหรือกระบวนการ, ลักษณะและความสำคัญของเครื่องมือแต่ละชนิด และต้องมีการสรุปประเด็นให้ชัดเจนในแต่ละช่วงของกระบวนการที่ดี เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเกิดความเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงๆ และต้องมีทักษะหรือ “ลูกเล่น” ในการโน้มน้าวชักจูงใจให้ผู้เข้าร่วมรู้สึกผ่อนคลาย ไม่เกร็งและไม่ตึงเครียดจนเกินไป ที่สำคัญต้องมี “สติ” และวิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี เพราะเมื่ออยู่ในช่วงตลาดนัดความรู้จริงๆ จะมีปัญหาและอุปสรรคหรือคำถามต่างๆ จากผู้เข้าร่วมมากมาย ซึ่งเราจะต้องหาคำตอบและหาวิธีการตอบคำถามนั้นๆ ให้ดีและเหมาะสมที่สุดในสถานการณ์นั้น
ส่วนสิ่งที่ผู้เขียนในฐานะที่เป็นวิทยากรนำกระบวนการอยากเห็นหรือต้องการให้เกิดผลที่ต่อเนื่องจากตลาดนัด คือ ต้องการเห็นครูอาจารย์แต่ละคนหรือโรงเรียนแต่ละแห่งที่เข้าร่วมตลาดนัดความรู้ในครั้งนี้ จะสามารถนำกระบวนการหรือวิธีการจัดการความรู้นี้ ไปปรับใช้ในโรงเรียนหรือบริบทของตนเองและขยายผลในวงกว้างต่อไปได้ โดยเฉพาะหากสามารถเชื่อมโยงระหว่างพ่อแม่, ผู้ปกครอง, ครูอาจารย์, ผู้บริหารโรงเรียน, นักกิจกรรม,นักพัฒนา, องค์กรพัฒนาเอกชน, นักวิชาการ, นักวิจัย ฯลฯ ได้จะยิ่งดีมาก และหากครูหรืออาจารย์ได้ลดบทบาทลง โดยทำหน้าที่เป็น “คุณอำนวย” และยกบทบาทสำคัญนี้ให้แก่เด็กนักเรียน คือ ให้เด็กวัยรุ่นเหล่านั้น คิดและดำเนินการแก้ไขปัญหาในลักษณะ “เพื่อนช่วยเพื่อน” หรือ “พี่ช่วยน้อง” ให้เด็กนักเรียนที่ผ่านมรสุมชีวิตวิกฤติวัยรุ่นมาแล้ว ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้, เล่าประสบการณ์ให้กับเด็กนักเรียนรุ่นน้องได้รับฟัง ถ้าทำได้เช่นนี้ สังคมไทยจะได้ความรู้เชิงปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาหรือการป้องกันวิกฤติเด็กวัยรุ่นที่ตรงเป้าและได้ผลดีทีเดียว ซึ่งที่สำคัญ ต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ โดยต้องมีการทบทวน และนำความรู้ที่ได้รับเหล่านั้น ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของตนเอง แล้วบันทึกเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันต่อไปเรื่อยๆ ไม่มีวันจบ จึงจะเรียกได้ว่า เป็นการจัดการความรู้ที่แท้จริง
ทั้งหมดนี้ เรียกได้ว่า เป็นประสบการณ์ที่ดียิ่งของการทำหน้าที่วิทยากรหลักด้านการจัดการความรู้ครั้งแรกในชีวิตของผู้เขียน ซึ่งจะต้องมีการเรียนรู้ เพื่อปรับปรุงพัฒนาเทคนิควิธีการในการเป็นวิทยากรนำกระบวนการจัดการความรู้ต่อไปอย่างไม่รู้จบเช่นกัน
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย อ้อ ใน play & play