ตามไปดูการสุ่มเก็บอาหารในตลาดนัดที่ท่ามะเขือ จ.กำแพงเพชร


ศูนย์อนามัยที่ 8 สุ่มตรวจอาหารสดและอาหารปรุงสุกในตลาดนัด

          จากตอนที่แล้ว  ศูนย์อนามัยที่ 8  ได้ลงสุ่มตรวจอาหารทั้งสดและอาหารปรุงสุกในตลาดนัด  เหลืออีกเพียงแห่งเดียวจะครบ 10  แห่ง  ตามเป้าหมาย(ที่กองสุขาภิบาลอาหารและน้ำ  กรมอนามัย  เขากำหนดมาให้ทำ)  ดังนั้นอีกแห่งเดียวจึงเลือกที่พื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร   เพราะไปนิเทศติดตามงานตลาดสดอยู่แล้ว   ขากลับก็เป็นทางผ่านพอดี  คือที่อำเภอคลองขลุง  มีตลาดนัดที่เขตเทศบาลตำบลท่ามะเขือ

          วันนี้มีเจ้าหน้าที่ร่วมปฏิบัติงาน 3 คน  รวมผู้เขียน  พอลงจากรถมาก็สัมผัสได้ถึงกระแสไอร้อนปะทะวูบที่ใบหน้า และไอแดดที่แผดเผาช่วงเวลา4-5 โมงเย็น    เห็นใจพ่อค้าแม่ค้าที่ต้องอดทนกับความร้อน   ว่าแล้วทีมงานส่วนหนึ่งรีบเดินไปหากลุ่มเป้าหมายทันที  

           ส่วนตัวผู้เขียนเองต้องไปสอบถามข้อมูลจากผู้จัดตลาดนัด  แล้วจึงตามด้วยการไปเก็บอาหารสด  แผงแรกที่เก็บเจอแบบนี้ค่ะ

                   

      สัตว์ต่าง ๆ  เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบอาหารป่าแซบ ๆ เห็นมีทั้งแย้  นก หมูป่า  และยังมีกระจงวางอยู่อีกตัว  ก็ไม่ได้ซักถามอะไร  ได้แต่ขอตัวอย่างเนื้อสัตว์ชิ้นเล็ก ๆ มาแค่ 2 ชนิด  เพื่อตรวจหาสารบอแรกซ์  ที่จริงสารบอแรกซ์นี้มักตรวจในพวกลูกชื้น  หมูยอ หมูบด  เพราะมันทำให้กรุบกรอบ  ทำให้ลูกชิ้นเด้ง    แต่เราตรวจในเนื้อสัตว์เพราะทราบมาว่าผู้ขายอาจจะเอาสารนี้มาทาที่ชิ้นเนื้อแล้วมันจะทำให้เนื้อสัตว์ไม่เน่าง่าย ๆ ไม่เขียวคล้ำ  

                     

  แต่ผลการตรวจจากตลาดนัด 10 แห่ง ก็ไม่พบสารบอแรกซ์ในเนื้อสัตว์ค่ะ   ก็โล่งอกไประดับหนึ่ง   แต่เมื่อสอบถามผู้ขายถึงที่มาของเนื้อหมู  พบว่ามีการซื้อหมูเป็นไปชำแหละเองที่บ้าน  พบหลายราย  ถ้าเป็นลักษณะนี้ไม่ได้มีการตรวจสารเร่งเนื้อแดง  จึงบอกไม่ได้ว่าการซื้อเนื้อหมูตามตลาดนัดจะปลอดภัย   จึงขอแนะนำผู้ซื้อว่าถ้าจะซื้อเนื้อหมูควรซื้อจากตลาดที่ได้รับการรับรองมาตรฐานตลาดสด น่าซื้อ  ของกรมอนามัยนะคะ  หรือไม่ก็ซื้อจากที่เขามีการรับรองค่ะ

                  

จากแผงที่เห็นนี้  สุขลักษณะค่อนข้างดี ผู้เขียนก็ขอเก็บตัวอย่างน้ำหน่อไม้ดองเพื่อตรวจหาสารกันรา  และสารฟอกขาว  และน้ำจากผักกาดดองเพื่อตรวจหาสารกันราค่ะ  จากผลการตรวจปรากฏว่าไม่พบสารต้องห้ามเหล่านี้

          จากอาหารสด  ตามไปดูการเก็บอาหารปรุงสุกนะคะ 

คุณนพรัตน์  และคุณบำเพ็ญ  เป็นผู้เก็บค่ะ  มีพขร.ช่วยถือของ  ตัวผู้เขียนเก็บอาหารสดไปด้วย  ถ่ายรูปให้เค้าไปด้วยค่ะ 

                         

                       

                       

                       

 อาหารปรุงสุกหรืออาหารพร้อมบริโภค  เป็นอาหารที่พร้อมจะกินหรือเข้าปากเลย  โดยไม่ได้ผ่านความร้อนอีก  ดังนั้นต้องมีความสะอาดปราศจากเชื้อแบคทีเรีย   สะอาดทั้งตัว ทั้งมือผู้ขาย  สะอาดทั้งตัวอาหาร  ต้องใส่ในภาชนะที่ไม่เป็นพิษ  การขนส่งอาหารหรือวางขายต้องมีการปกปิด  การหยิบจับอาหารควรใช้อุปกรณ์หยิบ

         จะเห็นว่านอกจากจะเก็บอาหารมาตรวจแล้ว  ยังมีการใช้น้ำยาป้ายมือเพื่อตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรีย   ที่จริงแบคทีเรียชนิดนี้เขาบอกว่ามันอยู่ในอุจจาระ  มันไม่ได้ทำให้เจ็บป่วยรุนแรงอะไร  แต่เค้าใช้เป็นดัชนีชี้วัดถึงความสะอาด  กว่าจะตรวจรู้ผลก็ต้องรอ 17-24 ชั่วโมงจึงจะอ่านผลค่ะ   

          ผลจากการตรวจมือนี้  ทุกตลาดจะมีผลการตรวจมือเป็นPositive จำนวนมาก  นั่นคือ  มือผู้ขายของในตลาดนัดไม่ค่อยสะอาด   เนื่องมาจากตลาดนัดไม่ได้มาตรฐานในเรื่องโครงสร้าง  ส่วนใหญ่เป็นพื้นดิน  ไม่มีน้ำใช้ ไม่มีส้วม  ผู้ขายต้องจัดหาน้ำมาเองดังนั้นการล้างมือให้สะอาด  จึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสนใจและปรับปรุงต่อไป

          อ่านเรื่องราวตลาดนัดบ้านๆ แล้วอย่าเพิ่งทานอะไรไม่ลงนะคะ  ผู้บริโภคมีสิทธิ์เลือก

                       

    นี่ก็จากตลาดนัดท่ามะเขือค่ะ  วุ้นแฟนซี  สอบถามแล้วบอกว่าใช้สีผสมอาหาร   แล้วตลาดนัดแถวบ้านท่านเป็นอย่างไรกันบ้าง..........

คำสำคัญ (Tags): #ตลาดนัด
หมายเลขบันทึก: 367660เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2010 11:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

เป็น คน ชอบ เดิน ตลาด ครับ สะท้อน อะไร ชีวิต คนแถวนั้นครับ

ขอบคุณอาจารย์JJ ค่ะ

ที่แวะมาเดินตลาดนัด

เห็นด้วยกับอาจารย์ค่ะ ว่าตลาดนัด สะท้อนชีวิตคนแถวๆนั้น

โดยเฉพาะเกี่ยวกับอาหารพื้นบ้าน ประจำท้องถิ่นนั้น

  • สวัสดีครับอ.nana
  • รู้สึกมีความมั่นใจในการซื้ออาหารเพื่อบริโภคมากขึ้น
  • ที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ออกไปสุ่มตรวจอย่างต่อเนื่อง
  • ต้องขอชื่นชมมีประโยช์มากครับ
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีค่ะ
  • บุษราได้นำภาพน่ารัก ๆ เลยเก็บมาฝากกันค่ะ

             

เห็นสีวุ้นแล้วน่ากลัวมาก ที่จริงทำสีอ่อนหวานๆน่าซื้อน่าทานกว่าตั้งมาก  ที่ตลาด การตรวจสอบ เน้นเรื่องน้ำมันทอดอาหารหรือเปล่าค่ะ แต่ละตลาดที่ขายอาหารทอดน่ากลัวมาก ดำแล้วดำอีก  ก็ไม่เห็นแก้ปัญหากัน ขายดิบขายดี ซื้อกับบ่อยๆ ไขมันทรานส์ก็สะสม พอได้จังหวะ ร่างกายก็ป่วยเป็นมะเร็งเสียแล้ว  สิ่งนี้ สำคัญมากๆต่อสุขภาพของประชาชน กลายเป็นประเทศเราเฉยเมยเรื่อง ไขมันทรานส์ ประเทศที่เขาเห็นความสำคัญห่วงสุขภาพประชาชน  ออกกฏหมายห้ามหลายประเทศแล้ว ห้ามขายผลิตภัณฑ์ที่มี "ทรานส์ "  ไม่มีกฏหมายแต่ก็น่าจะบอกกล่าวโทษของไขมันทราส์ให้ทั่วถึง ทั้งประเทศ ว่าอยู่ในสินค้าอะไรบ้าง ประชาชนจะได้ไม่ซื้อหรือซื้อให้น้อยลง มีการหลีกเลี่ยงได้บ้าง  ใช่ไหมค่ะ

                          

คุณเขียวมรกตคะ

ไปตลาดนัดก็ได้แต่สุ่ม ดูสถานการณ์ ยังไม่มีนโยบายสั่งการจริงจัง

พอไปเห็นจริง ๆ มีหลายสิ่งควรเปลี่ยนแปลง

แต่ยังทำไม่ได้ สาธารณสุขได้แต่แนะนำ ไม่มีอำนาจ

ขอบคุณภาพน่ารักจากน้องบุษราค่ะ

คิดถึงเสมอค่ะ

พี่กานดาคะ เห็นด้วยกับพี่กานดาทุกประการค่ะ

เรื่องการตรวจน้ำมันทอดซ้ำ เป็นหน้าที่ของงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดค่ะ

ของทอดตามตลาดนัด ไม่น่าซื้อ น้ำมันดำปี๋ ไม่มีการควบคุมอย่างที่พี่กานดาว่า

ไขมันทรานซ์ น่ากลัวจริง ๆ พยายามลดเหมือนกันค่ะ

ก็เลยทำให้โคเลสเตอรอลยังไม่ลดสักที

มาชมการตรวจคุณภาพตลาดสดเพื่อให้ความอุ่นใจต่อการบริโภค...จิตสำนึกของผู้ขายอาหารเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งนะคะ...ขอบคุณค่ะ..

สวัสดีค่ะ

เยี่ยมไปเลยค่ะ.... ปัจจุบันมีสิ่งบนเปื้อนในอาหารมากมาย ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก ไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรีย เชื้อรา  สารฟอกขาว สารตะกั่ว บอแร๊กซ์  รวมทัั้งสุขอนามัยของผู้จำหน่ายอาหาร (อาหารปรุงสุก)...

กลางเดือน กค. นี้ ครูใจดีก็จะจัดเข้าค่ายโครงงานวิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาพค่ะ  กิจกรรมก็จะเน้นเรื่องสุขภาพ การตรวจสอบอาหาร สารปนเปื้อน เหมือนที่กรมอนามัยดำเนินการอยู่ เป็นโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สสส. ค่ะ 

ได้มาอ่านบันทึกนี้ มีประโยชน์มากเลย  ครูใจดีจะได้นำข้อมูลนี้ไปใช้ประโยชน์ในการอบรมนักเรียนค่ะ....

ขอบคุณมากเลยค่ะ

ระลึกถึงเสมอค่ะ

 

** พึ่งแว๊บเข้ามาเยี่ยมได้  ตอนนี้กำลังอบรมโปรแกรมห้องสมุดให้กับนักเรียนชุมนุมห้องสมุดค่ะ... เด้กๆ  กำลังme Work Sheet  ฐานข้อมูลหนังสือ ก่อนที่จะคีย์ข้อมูลหนังสือลงในโปรแกรม PLS3 ค่ะ***

*** ขอตัวก่อนนะคะ

 

 

จากข้อมูลของ ดร.วนิดา สิบสายพรหม นั้นสายพันธุ์ไส้เดือนที่นิยมเลี้ยงมีประมาณ 15 ชนิดครับ แล้วจะนำมาเรียนให้พี่ทราบน่ะครับ

ขอบคุณพี่มากครับที่ให้ความสนใจครับ

บี๋คิดว่าตลาดนัดแต่ละท้องที่คงไม่แตกต่างกันมากนักค่ะ เพราะดูจากรูปแล้วก็ไม่ต่างกับหลายๆ ตลาดนัดที่สงขลาหรือทางใต้เลยค่ะ :-)

ของดีก็มีอยู่บ้างในตลาด ดังนั้นต้องขึ้นอยู่ที่วิจารณญาณของผู้บริโภคแล้วหล่ะค่ะว่าจะเลือกแบบใด

ไม่น่าเชื่อนะคะ ว่าอาหารที่เราเห็นเขาวางขายจะมีอะไรที่ไม่ดีแอบแฟงเยอะจัง น่ากลัวค่ะ

อยากให้ตรวจสารอาหารในโรงเรียนจังเลยครับ ตอนนี้ฝึก อย.น้อยอยู่ครับ

  • ส่งดอกไม้แทนคำขอบคุณที่เข้าไปทักทายครับ
  • ฝันดีครับคุณนานา

ไม่เคยไปตลาดนี้ครับพี่ณา เห้นสีผสมอาหารแล้วน่าเป็นห่วงนะครับ สีสดมากๆๆ

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาบอกพี่ nana ว่า บุษราทานข้าวเย็นเรียบร้อยแล้วค่ะ ทานไม่มาก 2 จานเอง ฮ่าๆๆๆๆ
  • แล้วพี่ nana ละค่ะ ทานข้าวหรือยัง  สบายดีนะค่ะพี่
  • ระลึกถึงกันเสมอค่ะ

 บุษราแวะมาหาพี่ nana ด้วยเครื่องลำนี้ ยังมึนหัวไม่หาย ฮ่าๆๆๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท